จากข้อมูลของ ETDA ระบุในปี 2561 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงกว่า 10 ชั่วโมง/วัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ถึง 3 ชั่วโมง 47 นาที และใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ที่ 93.64%
แน่นอนว่าในโลกอินเทอร์เน็ตที่เสมือนคลังข้อมูลมหาศาล สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วฉับไว เป็นโลกใบใหม่ไร้พรมแดนที่เชื่อมโยงผู้คนทุกเพศทุกวัยจากหลากหลายเชื้อชาติให้มาเจอกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยล้วนมาจากผู้คนร้อยพ่อพันแม่ หนึ่งในคนเหล่านั้นคือ “มิจฉาชีพ” ที่จ้องหาผลประโยชน์และใช้สื่อโซเชียลเป็นสะพานเชื่อมล่อลวงเงินจากกระเป๋าหรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ให้กลายเป็น “เหยื่อ” โดยไม่รู้ตัว ไซแมนเทคผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องข้อมูล เคยเปิดเผยรายงานภัยคุกคามความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตประจำปี 2559 ระบุประเทศไทยติดอันดับที่ 11 ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีการหลอกลวงทางโซเชียลมีเดียวันละเกือบ 82 ครั้ง
ดังนั้นเพื่อสร้างเกราะป้องกันให้กับสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุค Cashless society TrueMoney หนึ่งในผู้นำกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ขอเผย 5 กลโกง โอนเงินออนไลน์ ประกอบด้วย 1. หลอกให้โอนเงินช่วยเหลือ 2. หลอกว่าได้รางวัล 3. หลอกให้ซื้อของราคาถูก 4. หลอกให้โอนเงินไปบริจาคต่อ และ 5. หลอกให้เปิดบัญชี เพื่อย้ำเตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกท่านให้ตระหนักถึงความปลอดภัยและภัยร้ายที่แฝงอยู่ใกล้ตัวเราทุกวัน พร้อมเสนอแนะแนวทางการตรวจสอบเบื้องต้น
1. หลอกให้โอนเงินช่วยเหลือทางโซเชียลมีเดีย มิจฉาชีพจำพวกนี้จะใช้วิธีปลอมตัวเป็นญาติพี่น้องหรือคนรู้จักของเราเพื่อขอยืมเงินโดยอาจมีการนำรูปภาพหรือสร้างบัญชีขึ้นโดยเฉพาะ หรือทำการแฮ็กบัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อสวมรอยแอบอ้าง โดยที่ญาติหรือคนรู้จักเราอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าโดนสวมรอยอยู่ ทางที่ดีเราควรโทรเช็คเพื่อยืนยันตัวตนให้ชัดเจนก่อน และควรเข้าไปตรวจสอบหน้า feed เพื่อพิจารณาลักษณะการโพสต์ และหากยิ่งเป็นเพื่อนที่ไม่ได้ติดต่อกันมาเนิ่นนานแล้วอยู่ ๆ ทักมา ให้พึงระวังไว้ให้ดี
2. หลอกว่าได้รางวัลใหญ่ ให้โอนเงินไปให้ก่อนเป็นค่าธรรมเนียมหรือยืนยันรับสิทธิ์ มิจฉาชีพจำพวกนี้มักใช้รางวัลจากแคมเปญการตลาดของแบรนด์ต่าง ๆ ทางหน้าสื่อมาล่อลวงเรา แต่ทางที่ดีที่สุดคือการพิจารณาตัวเองให้ดีก่อนว่า เราเคยส่ง SMS ไปลุ้นของรางวัลพวกนี้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่จริงและไม่เคยส่งไปแทบจะ 100% ให้คิดว่าเป็นการล่อลวงแน่นอน ยิ่งเจอข้อความแชทมาแกมบังคับให้โอนเงิน โดยเอาของรางวัลหรือเงินก้อนใหญ่กว่ามาล่อ แนะนำให้ท่านรีบแคปเจอร์หน้าจอและเเจ้งความดำเนินคดีไว้ดีที่สุด หรือแจ้งไปยังแบรนด์นั้น ๆ
3. หลอกให้ซื้อของราคาถูก สำหรับขาช็อปออนไลน์ และชื่นชอบของ Sale ต้องระวังการหลอกลวงลักษณะนี้ให้ดี ต้องเตือนตัวเองไว้ตลอดว่าของถูกและได้ฟรีไม่มีในโลก ขนาดแอปฯ หรือเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ที่เราใช้ฟรีกันทุกวันนี้ยังมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราไปเลย ดังนั้นเรื่องโอนเงินเพื่อให้ได้ของราคาที่ถูกกว่านั้นลืมไปได้เลย ยิ่งเดี๋ยวนี้เราสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ และจ่ายเงินปลายทางได้แล้ว ยิ่งไม่จำเป็นที่ต้องโอนเงินอะไรให้ก่อนทั้งนั้น
4. หลอกให้โอนเงินไปบริจาคต่อ สำหรับท่านที่มีจิตกุศลชื่นชอบการทำบุญมักตกเป็นเหยื่อได้โดยง่ายต่อมิจฉาชีพในลักษณะนี้ ฉะนั้นก่อนโอนเงินทำบุญในเรื่องอะไรก็ตาม ลองตรวจสอบถึงที่มาที่ไปสักนิด เช่น โครงการที่มิจฉาชีพกล่าวอ้างเป็นตัวแทนรับบริจาคนั้นมีจริงรึเปล่า และลองเช็คข่าวสารการรับบริจาคเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านช่องทาง Official ของโครงการหรือมูลนิธินั้น ๆ ก่อนตัดสินใจโอนเงินทำบุญ
5. หลอกให้เปิดบัญชีเพื่อรับส่วนแบ่ง กรณีนี้ที่เห็นได้ชัดเลย คือ ข้อความโฆษณาชวนเชื่อตามหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ชวนคุณไปทำงานออนไลน์เสริมรายได้แบบสบาย ๆ ซึ่งรูปแบบการล่อลวงมักจะมีการขอให้คุณเปิดบัญชีไว้เพื่อใช้สมัครทำงาน โดยจะมีเงินเข้ามาและคุณต้องโอนเงินนั้นต่อไปอีกบัญชี เสมือนคุณโดนหลอกและตกเป็นเครื่องมือให้กับขบวนการฟอกเงิน โดยเจียดรายได้บางส่วนให้จริง กรณีนี้เหยื่อที่โดนหลอกจะเข้าไปอยู่ในขบวนการทันที และมีความผิดตามกฎหมาย
สำหรับทรูมันนี่ เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้วยระบบ Payment Security ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมจะมีระบบแจ้งเตือน OTP หรือกำหนดให้ผู้ใช้ยืนยันโดยการใส่ Password และมีการแจ้งเตือนผ่านอีเมลและ SMS ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี มีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Protection) ทั้งบัญชีธนาคาร ข้อมูลเครดิต บัตรเดบิตจะไม่มีการเปิดเผย มีทีมผู้เชี่ยวชาญ (Accountability) ที่คอยดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างทันท่วงที และมี Call Center คอยให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน TrueMoney Care หมายเลข 1240 หรือแชทผ่าน Chat Service ในเว็บไซต์หรือแอปฯ TrueMoney Wallet
1. หลอกให้โอนเงินช่วยเหลือทางโซเชียลมีเดีย มิจฉาชีพจำพวกนี้จะใช้วิธีปลอมตัวเป็นญาติพี่น้องหรือคนรู้จักของเราเพื่อขอยืมเงินโดยอาจมีการนำรูปภาพหรือสร้างบัญชีขึ้นโดยเฉพาะ หรือทำการแฮ็กบัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อสวมรอยแอบอ้าง โดยที่ญาติหรือคนรู้จักเราอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าโดนสวมรอยอยู่ ทางที่ดีเราควรโทรเช็คเพื่อยืนยันตัวตนให้ชัดเจนก่อน และควรเข้าไปตรวจสอบหน้า feed เพื่อพิจารณาลักษณะการโพสต์ และหากยิ่งเป็นเพื่อนที่ไม่ได้ติดต่อกันมาเนิ่นนานแล้วอยู่ ๆ ทักมา ให้พึงระวังไว้ให้ดี
2. หลอกว่าได้รางวัลใหญ่ ให้โอนเงินไปให้ก่อนเป็นค่าธรรมเนียมหรือยืนยันรับสิทธิ์ มิจฉาชีพจำพวกนี้มักใช้รางวัลจากแคมเปญการตลาดของแบรนด์ต่าง ๆ ทางหน้าสื่อมาล่อลวงเรา แต่ทางที่ดีที่สุดคือการพิจารณาตัวเองให้ดีก่อนว่า เราเคยส่ง SMS ไปลุ้นของรางวัลพวกนี้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่จริงและไม่เคยส่งไปแทบจะ 100% ให้คิดว่าเป็นการล่อลวงแน่นอน ยิ่งเจอข้อความแชทมาแกมบังคับให้โอนเงิน โดยเอาของรางวัลหรือเงินก้อนใหญ่กว่ามาล่อ แนะนำให้ท่านรีบแคปเจอร์หน้าจอและเเจ้งความดำเนินคดีไว้ดีที่สุด หรือแจ้งไปยังแบรนด์นั้น ๆ
3. หลอกให้ซื้อของราคาถูก สำหรับขาช็อปออนไลน์ และชื่นชอบของ Sale ต้องระวังการหลอกลวงลักษณะนี้ให้ดี ต้องเตือนตัวเองไว้ตลอดว่าของถูกและได้ฟรีไม่มีในโลก ขนาดแอปฯ หรือเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ที่เราใช้ฟรีกันทุกวันนี้ยังมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราไปเลย ดังนั้นเรื่องโอนเงินเพื่อให้ได้ของราคาที่ถูกกว่านั้นลืมไปได้เลย ยิ่งเดี๋ยวนี้เราสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ และจ่ายเงินปลายทางได้แล้ว ยิ่งไม่จำเป็นที่ต้องโอนเงินอะไรให้ก่อนทั้งนั้น
4. หลอกให้โอนเงินไปบริจาคต่อ สำหรับท่านที่มีจิตกุศลชื่นชอบการทำบุญมักตกเป็นเหยื่อได้โดยง่ายต่อมิจฉาชีพในลักษณะนี้ ฉะนั้นก่อนโอนเงินทำบุญในเรื่องอะไรก็ตาม ลองตรวจสอบถึงที่มาที่ไปสักนิด เช่น โครงการที่มิจฉาชีพกล่าวอ้างเป็นตัวแทนรับบริจาคนั้นมีจริงรึเปล่า และลองเช็คข่าวสารการรับบริจาคเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านช่องทาง Official ของโครงการหรือมูลนิธินั้น ๆ ก่อนตัดสินใจโอนเงินทำบุญ
5. หลอกให้เปิดบัญชีเพื่อรับส่วนแบ่ง กรณีนี้ที่เห็นได้ชัดเลย คือ ข้อความโฆษณาชวนเชื่อตามหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ชวนคุณไปทำงานออนไลน์เสริมรายได้แบบสบาย ๆ ซึ่งรูปแบบการล่อลวงมักจะมีการขอให้คุณเปิดบัญชีไว้เพื่อใช้สมัครทำงาน โดยจะมีเงินเข้ามาและคุณต้องโอนเงินนั้นต่อไปอีกบัญชี เสมือนคุณโดนหลอกและตกเป็นเครื่องมือให้กับขบวนการฟอกเงิน โดยเจียดรายได้บางส่วนให้จริง กรณีนี้เหยื่อที่โดนหลอกจะเข้าไปอยู่ในขบวนการทันที และมีความผิดตามกฎหมาย
สำหรับทรูมันนี่ เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้วยระบบ Payment Security ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมจะมีระบบแจ้งเตือน OTP หรือกำหนดให้ผู้ใช้ยืนยันโดยการใส่ Password และมีการแจ้งเตือนผ่านอีเมลและ SMS ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี มีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Protection) ทั้งบัญชีธนาคาร ข้อมูลเครดิต บัตรเดบิตจะไม่มีการเปิดเผย มีทีมผู้เชี่ยวชาญ (Accountability) ที่คอยดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างทันท่วงที และมี Call Center คอยให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน TrueMoney Care หมายเลข 1240 หรือแชทผ่าน Chat Service ในเว็บไซต์หรือแอปฯ TrueMoney Wallet
COMMENTS