เมื่อโลกก้าวไกลสู่ยุคใหม่ที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนในสังคมโลกวันนี้ และการใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลเข้ามายกระดับเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มภาพลักษณ์ เพื่อสร้าง Thailand Diamond Halal โดยแนวทางศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งเป็นอีกพลังหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนหลักความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำ ที่ทำให้ ‘ฮาลาลไทย’ ก้าวสู่ยุคใหม่ ทันสมัย ดังนั้นในปีนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ) นำเสนอรูปแบบการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ‘ International Halal Science and Technology Conference 2018 (IHSATEC) ’ ซึ่งพัฒนามาจากการจัดการประชุม HASIB (Halal Science Industry and Business นั่นเอง
เพื่อประกาศความเป็นหนึ่งด้านการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลนานาชาติ และพร้อมพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 ร่วมกับงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ THAILAND HALAL ASSEMBLY 2018 (THA) ระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) บางนา
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลในครั้งนี้เนื้อหาจะเข้มข้น ด้วยการนำเสนอผลการค้นคว้า การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ซึ่งใช้วิทยาศาสตร์เป็นส่วนสนับสนุนหลักความเชื่อ ความศรัทธาจึงเกิดขึ้น โดยนำเสนอผ่านรูปแบบการจัดการประชุมนานาชาติ IHSATEC ในปีนี้
การประชุมวิชาการนานาชาติ ‘ International Halal Science and Technology Conference 2018 ’ นับว่าเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 27 ท่านจากประเทศต่าง ๆ อาทิ บรูไน ปากีสถาน ไทย ตุรกี นิวซีแลนด์ มาเลเซีย สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา อียิปต์ และอินโดนีเซีย พร้อมผู้สนใจเข้าร่วมงานมากมาย
ภายในงาน เริ่มต้นด้วยการปาฐกถาพิเศษ โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศวฮ. กล่าวเปิดการประชุมในหัวข้อพิเศษ Tansri Dr. Surin Pitsuwan Memorial Lecture; Precision Halalization in The Bioeconomy Era : บูรณาการฮาลาลแม่นยำยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ด้วยกิจการฮาลาลประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่ยุคสมัยแห่งการฮาลาล แม่นยำ เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพในฐานะที่ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านการเกษตร เพราะการเพาะปลูกแม่นยำที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้าไปเช่นนี้ได้สร้างยุคใหม่ ให้กับการเพาะปลูกทางการเกษตรอย่างมีคุณค่า
“การบูรณาการฮาลาลแม่นยำ เป็นความพยายามของประเทศไทยในการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อการรับรองฮาลาล ไม่ว่าจะการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยนำระบบ H-Number ที่พัฒนาขึ้นใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกวัตถุดิบฮาลาลได้อย่างถูกต้อง และเลือกใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะที่จำเป็น ในระบบการมาตรฐานฮาลาลมีการพัฒนาระบบ HAL-Q Plus เพื่อให้การดำเนินงานการมาตรฐานฮาลาลเป็นไปอย่างจำเพาะโดยใช้เวลาสั้น
...นอกจากระบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลและระบบการมาตรฐานฮาลาลที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ปัจจุบันเรามีห้องแล็บที่สุดยอด และมีอุปกรณ์ทันสมัยที่สุด ซึ่งสามารถครอบคลุมการดำเนินงานฮาลาลในทุก ๆ ด้านด้วยการใช้มาตรฐานฮาลาลที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานบูรณาการฮาลาลแม่นยำ
...ตราฮาลาลคือแบรนด์ ถือเป็นมาตรฐานที่สำคัญ ด้วย บูรณาการฮาลาลแม่นยำ (Precision Halalization) ซึ่งแตกต่างมาตรฐาน ISO เพราะการทำในมาตรฐานฮาลาลใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า ของ ISO ใช้ต้นทุนสูงมาก และจะต้องพัฒนา แบรนด์ฮาลาลให้เทียบเท่ากับแบรนด์หลุยส์ วิตตอง จึงต้องสร้างสรรค์และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่แบรนด์ Diamond Halal ”
นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการบรรยาย 5 เรื่องราวที่น่าสนใจ ได้แก่
นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการบรรยาย 5 เรื่องราวที่น่าสนใจ ได้แก่
1.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและโภชนาการ โดย เกษิณี เกตุเลขา นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าท้าทาย เพราะในปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับส่วนนี้มาก คือในเรื่องของส่วนผสม และหลักการพื้นฐานของการพิจารณาเครื่องสำอางฮาลาล
“สำหรับทางด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด ความปลอดภัยในที่นี้ไม่เพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์สุดท้ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัตถุดิบตั้งต้น ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฉลาก วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต เป็นต้น ในการผลิตเครื่องสำอางฮาลาลจะต้องมีความปลอดภัยจากความเสี่ยงของโรคและการติดเชื้อโรคต่างๆ และสิ่งที่สำคัญสุดคือ การทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้รับการผลิตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (GMP)
...ทั้งคุณภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เครื่องสำอางฮาลาลชิ้นหนึ่งจะสามารถพิจารณาว่าฮาลาล ก็ต่อเมื่อเครื่องสำอางดังกล่าวผลิตได้คุณภาพตรงตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดทางด้านคุณภาพของเครื่องสำอางประเภทนั้น ๆ”
2. เศรษฐกิจฐานชีวภาพและการตลาดดิจิตัลฮาลาล กล่าวโดย ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองผู้อำนวยการ ศวฮ “เศรษฐกิจดิจิทัลฮาลาลจะทำให้มีการใส่ใจเกี่ยวกับฮาลาลมากขึ้น และจะมีการจดใบรับรองกันมากขึ้น เพื่อให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ทั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น นั่นก็จะต้องมีระบบไอทีมาช่วยให้ระบบตรวจสอบฮาลาล ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ถูกลง และรวดเร็ว ดังนั้นจะเป็นการช่วยผู้บริโภคอยากรู้อะไรไม่ต้องโทร.ไปถาม แต่ปัจจุบันนี้ใช้แค่สามาร์ทโฟนก็ได้คำตอบแล้ว ทั้งยังช่วยให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองที่ดีขึ้นด้วย หรือการขอรับรองฮาลาล ก็ใช้แอพพลิเคชั่น เป็นตัวช่วยในทุกขั้นตอน เรียกว่า ขอฮาลาลออนไลน์ก็ได้ Certification Body ผู้ประกอบการจะได้ E-Certification ไปเลย ทำให้การรับรองมากยิ่งขึ้น เมื่อโลกเปลี่ยน เปิดประตูฮาลาลสู่โลกกว้างในยุคดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่น่าจับตามอง”
3. นวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุสัมผัสอาหารกับมุมมองด้านฮาลาล ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นักวิจัย บรรยายว่า สำหรับนวัตกรรมในเรื่องของวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากอาหารแล้วยังต้องดูในเรื่องของการบริการด้วย คือจะเป็นอาหาร ส่วนที่ไม่เป็นอาหาร และการบริการ ส่วนนี้เป็นแพ็คเกจจิ้ง ต้องตรวจสอบที่มาว่าเป็นฮาลาลหรือไม่ โดยจะมีอุปกรณ์ตัวสอบ smart polymer หรือ smart material ใช้ตรวจสอบแหล่งที่มา มาจากส่วนประกอบของสัตว์ แม้กระทั่งต้องคำนึงถึงวิธีการเลี้ยงด้วย หรือสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนา ซึ่งฮาลาลส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ คือมาจากพืช หากแหล่งที่มาถูกต้องก็สามารถใช้ได้ ดังนั้นส่วนประกอบที่สำคัญในการตรวจสอบ จะเน้นไปที่ของกินได้ หรือไม่ได้ เช่น พวกเครื่องสำอาง ยา เป็นต้น
4.เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อผลิตภัณฑ์และบริการด้านฮาลาล กล่าวโดย มาลิก บูอิด ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ธนาคารกาตาร์เซ็นเตอร์ ประเทศกาตาร์ “ในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีทำให้เรื่องฮาลาลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงจริยธรรมหรือกฎหลักต่างๆ ตามศาสนาอิสลาม มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับหลักศาสนามากที่สุด เช่น เรื่อง blockchian เป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ ทั้งการใช้ Artificial Intellectual (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเรื่องของสมองที่ไม่สามารถโคลนนิ่งได้ และเรื่องของความรู้สึกความตระหนักรู้ก็ไม่สามารถทำได้เลย แต่ถึงอย่างไรก็สามารถสร้าง AI ให้สอดคล้องในทางปฎิบัติกับศาสนาและหลักฮาลาลได้ เช่น ในหน่วยงานราชการ ด้านการศึกษา สาธารณสุข เรื่องของอาหาร หรืออุตสาหกรรมอาหาร การคมนาคม ใช้ให้เกิดประโยชน์ในส่วนนี้เหล่านี้ได้ ซึ่งจะทำอย่างไรให้พวกเราชาวมุสลิมจัดการในส่วนข้อมูล data หรือ การจัดการในอย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังนั้นจะต้องนำมาประยุกต์และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนา และ หลักฮาลาลให้ได้ แม้เวลาจะเปลี่ยนไปแต่คำสอนยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่มาตรฐานจะมากขึ้นจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้”
5. เทคโนโลยีโอมิกส์สู่การบูรณาการฮาลาล แม่นยำ ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร อาหาร และโภชนาการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งในเชิงคุณภาพของวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษาอาหาร สมบัติทางโภชนาการและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารอาหาร รวมทั้งระดับการปนเปื้อนของสารพิษและความปลอดภัยของอาหาร โดยทำให้เกิดบูรณาการฮาลาล แม่นยำ
5. เทคโนโลยีโอมิกส์สู่การบูรณาการฮาลาล แม่นยำ ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร อาหาร และโภชนาการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งในเชิงคุณภาพของวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษาอาหาร สมบัติทางโภชนาการและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารอาหาร รวมทั้งระดับการปนเปื้อนของสารพิษและความปลอดภัยของอาหาร โดยทำให้เกิดบูรณาการฮาลาล แม่นยำ
นับเป็นความก้าวหน้าของการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ฮาลาล สู่ความเป็นหนึ่ง ประเทศไทย ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล แล้วพบกันใหม่ปีหน้า ฉลอง 70 ปี การรับรองฮาลาล ประเทศไทย
COMMENTS