หัวเว่ยนำเทคโนโลยี 5G ล้ำสมัยที่สุดในโลกสู่ประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อนไทย คว้าโอกาสใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล งาน Huawei Mobile Thailand Congress 2019 จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 5 เมษายน ศกนี้
หัวเว่ยนำเสนอเทคโนโลยี 5G และ AI ที่ล้ำสมัยที่สุดในโลกในงาน Mobile Thailand Congress 2019 (Huawei MTC 2019) โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Building a Fully Connected, Intelligent Thailand” พร้อมนำเสนอ 3 ธีมหลักได้แก่ “ 5G is ON (5G เริ่มต้นขึ้นแล้ว)”, “Innovation Inspiring New Growth (นวัตกรรมสรรค์สร้างการเติบโตใหม่)” และ “AI Enabling Intelligent Operations (AI ช่วยให้การดำเนินธุรกิจเกิดความอัจฉริยะ)”
งาน Mobile Thailand Congress 2019 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม ถึง 5 เมษายน ที่ Exhibition Hall ของ หัวเว่ย ประเทศไทย ชั้น 39 โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมงานกว่า 2,000 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดผู้ที่สนใจด้านไอซีที
“เราต้องการส่งข้อความหลัก ๆ สองประการแก่ผู้มาร่วมงาน” มร. เติ้ง เฟิง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “ประการแรกคือ เทคโนโลยี 5G มาถึงประเทศไทยแล้ว โดยมีระบบนิเวศ 5G ที่กำลังเติบโต ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว ประการที่สอง หัวเว่ยเป็นผู้นำเทคโนโลยี 5G ในระดับโลก เราได้ลงนามในสัญญา 5G กว่า 30 ฉบับกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำใน 20 กว่าประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง และได้ส่งมอบสถานีฐาน 5G ไปแล้วกว่า 40,000 ชุด”
หัวเว่ยมีความพร้อมที่จะจัดหาเทคโนโลยีไอซีทีดิจิทัลต่างๆ เพื่อช่วยเร่งให้ประเทศไทยเกิดการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล สามารถไขว่คว้าโอกาสใหม่ๆ เพิ่มพูนรายได้ และปรับปรุงประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจในยุค 5G
“การพัฒนา 5G กำลังเกิดขึ้นในระดับความเร็วที่ยากจะคาดเดา ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลกกำลังพัฒนาการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วที่มากกว่าที่เคยเป็นมา อุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้มีการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของมาตรฐาน 5G, ผลิตภัณฑ์ต่างๆ, เทอร์มินัล, ความปลอดภัย และธุรกิจ เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและคู่ค้าของเราเพื่อคว้าโอกาสจากนวัตกรรม 5G และร่วมกันก้าวสู่ยุค 5G ใหม่” มร. เติ้ง เฟิง กล่าวเสริม
งาน Huawei MTC 2019 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ที่จะนำเสนอโซลูชั่น 5G ในแบบต่างๆ อาทิ Cloud IT, อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things หรือ IoT), สมาร์ทโฮม, การทรานส์ฟอร์มสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงการอธิบายนำเสนอเพื่อให้ความรู้กับลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์และความสำเร็จจากผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยในหัวข้อดังต่อไปนี้:
· Intelligence +: ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยี Digital ICT ทั่วโลก และจากงาน MWC 2019 (DICT)
· 5G มาถึงแล้ว, เครือข่ายที่ลดความซับซ้อนเพื่อประสบการณ์ที่เหนือกว่า (5G)
· โซลูชั่น WiFi ระดับพรีเมียม และตัวอย่างการใช้งานโครงข่ายภายใต้การทำงานขอ Network Cloud Engine (NCE) (2H)
· การผสมผสานคลาวด์และเครือข่าย เพื่อช่วยเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ B2B (2B)
· การสร้างรายได้จากข้อมูลการใช้งานโครงข่าย ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเติบโตใหม่ของกลุ่มผู้บริโภค (2C)
· Cloud & AI
ในส่วนของการบรรยาย ผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยจะนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดของเทคโนโลยี AI เช่น โซลูชัน SoftCOM AI สำหรับเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพเครือข่าย ประสิทธิภาพ O&M และประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โซลูชัน SoftCOM AI ช่วยให้เกิด "0 บิต, 0 วัตต์" และการปรับเปลี่ยน Beam แบบปรับได้ จึงช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับเครือข่ายโทรคมนาคม
ผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยจะอธิบายว่าเทคโนโลยี 5G และ AI จะสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ให้กับโซลูชันแบบ B2B ช่วยส่งเสริมให้ B2C เติบโต ส่งเสริมธุรกิจแบบ B2H และเร่งการพัฒนา Cloud IoT ได้อย่างไร “โซลูชั่นธุรกิจนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถขยายขอบเขตธุรกิจและเพิ่มการเติบโตได้” นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
ในงาน Mobile World Congress 2019 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน หัวเว่ยได้คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี 5G จะสร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะโดดเด่นด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ที่ขยายตัวเร็วที่สุดประมาณ 5-6% และเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตดังกล่าวซึ่งคิดเป็น 20%” มร. เจมส์ อู๋ ประธานบริหาร หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “การใช้เทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ อินเดีย ไทย และเวียดนามจะเริ่มขึ้นได้เร็วในปี 2563 และในอีก 5 ปีข้างหน้า ภูมิภาคนี้จะมีผู้ใช้ 5G สูงถึง 80 ล้านราย ทั้งอุปกรณ์ไร้สาย ดิจิทัลและอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ จะทำให้ผลิตภาพทางสังคมดีขึ้นเฉลี่ย 4-8%” เขากล่าวเสริม
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ประกาศการลงทุนมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (160 ล้านบาท) สำหรับการทดสอบการใช้งาน 5G ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และศูนย์ทดสอบอีกแห่งที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ให้บริการโทรคมนาคม (AIS, dtac และ True)
ผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยจะอธิบายว่าเทคโนโลยี 5G และ AI จะสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ให้กับโซลูชันแบบ B2B ช่วยส่งเสริมให้ B2C เติบโต ส่งเสริมธุรกิจแบบ B2H และเร่งการพัฒนา Cloud IoT ได้อย่างไร “โซลูชั่นธุรกิจนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถขยายขอบเขตธุรกิจและเพิ่มการเติบโตได้” นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
ในงาน Mobile World Congress 2019 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน หัวเว่ยได้คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี 5G จะสร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะโดดเด่นด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ที่ขยายตัวเร็วที่สุดประมาณ 5-6% และเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตดังกล่าวซึ่งคิดเป็น 20%” มร. เจมส์ อู๋ ประธานบริหาร หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “การใช้เทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ อินเดีย ไทย และเวียดนามจะเริ่มขึ้นได้เร็วในปี 2563 และในอีก 5 ปีข้างหน้า ภูมิภาคนี้จะมีผู้ใช้ 5G สูงถึง 80 ล้านราย ทั้งอุปกรณ์ไร้สาย ดิจิทัลและอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ จะทำให้ผลิตภาพทางสังคมดีขึ้นเฉลี่ย 4-8%” เขากล่าวเสริม
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ประกาศการลงทุนมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (160 ล้านบาท) สำหรับการทดสอบการใช้งาน 5G ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และศูนย์ทดสอบอีกแห่งที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ให้บริการโทรคมนาคม (AIS, dtac และ True)
COMMENTS