เมื่อโลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ก้าวสู่โลกเทคโนโลยีดิจิทัล แล้วเราจะก้าวทันเทรนด์โลกกันอย่างไร เพื่อเพิ่มโอกาสทางด้านธุรกิจ โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล Digital Business Management เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหาร หรือการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนเองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับโลก
มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa จัดทำหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ผู้บริหารยุคทิจิทัล “MBA Digital Executives” ซึ่งถือเป็นหลักสูตรแรกแบบ Degree Program ในประเทศไทย และเป็นสถาบันการศึกษา 1 ใน 2 ที่ได้รับความร่วมมือจาก Havard’s MOC Affiate Network อย่างเป็นทางการ
รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช รองอธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า “ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาแรง เพราะเศรษฐกิจยุคใหม่ ต้องสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา เป็นความท้าทายที่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในทุกโอกาส เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตยุคใหม่ ดังนั้นความต้องการบุคลากรด้านการบริหารในยุคดิจิทัลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทำให้ทางมหาวิทยาลัยสยามได้พัฒนาหลักสูตรผู้บริหารยุคดิจิทัล ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เกิดเป็นหลักสูตรใหม่ ‘หลักสูตรผู้บริหารยุคดิจิทัล (MBA Digital Executives)’ เป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยหลักสูตรนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน รวมถึงเกิดความแตกต่างในการบริการให้กับลูกค้าอย่างเท่าทันสังคมโลกวันนี้
และเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่หลักสูตร MBA Digital Executives มีรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น Digital Startup, Fail Forward (ความล้มเหลวเพื่อก้าวต่อไป) และ Microeconomics of Competitiveness (เศรษฐศาสตร์จุลภาคว่าด้วยขีดความสามารถในการแข่งขัน) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนาโดย Harvard Business School จาก ศาสตราจารย์ ไมเคิล พอร์ตเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์มีชื่อเสียงในการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นบุคคลชั้นนำในแวดวงธุรกิจของโลกยุคใหม่”
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่โดน Disruptive โดยตัวดิจิทัลเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมดิจิทัลนั่นเอง หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Cloud computing เรื่องของ AI เรื่องของเทคโนโลยี VR, AR หรือ MR ในอนาคต หรือเรื่องของ Blockchain เรื่องของไฟท์ TF แอพพลิเคชั่นที่กำลังจะเข้าสู่ประเทศไทย และในอนาคตอีก 5 ปี 10 ปี และจะมีเรื่องของ Quantum Computing ความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน ระหว่างมหาวิทยาลัยสยาม MBA และ depa ได้พัฒนาหลักสูตร MBA Digital Executives ร่วมกัน ทั้งที่เป็นคณะกรรมการในการร่วมจัดทำตัวร่างหลักสูตร การผลักดันให้เกิดความร่วมมือกัน เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa มีหลักสูตรที่เรียกว่า Digital CEO ซึ่งคนที่มาเรียน Digital CEO ก็สามารถไปต่อยอดได้ปริญญาโทในระดับ MBA ของมหาวิทยาลัยสยามได้ ขณะเดียวกันเรายังใช้เครือข่ายความร่วมมือคนที่เป็น Startup หรือคนที่เป็น Speaker ที่มีชื่อเสียงในเทคโนโลยีต่าง ๆ มาพูดให้กับผู้บริหารเหล่านี้ได้รับทราบด้วย”
ดร.ธนกร ลิ้มศรัณย์ กรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม และ ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวเสริมว่า “หลักสูตรนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้จากทางภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจะนำไปใช้ในการทำงานได้จริง รองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน และหลักสูตรเราจะร่วมกับ depa ในการออกแบบรายละเอียดวิชาต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น Digital Startup ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะทำโครงการขึ้นมา แล้วนำโครงการนี้ไปขอทุนกับทาง depa เพื่อเป็นการสนับสนุนงบประมาณในการเริ่มต้นธุรกิจ และ Digital Tranformative ซึ่งเป็นการเรียน Captone Project ก็จะมีทุนจากทาง depa เช่นกัน หรือ Design Thinking and Innovation โดยจะผสมผสานความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ทั้งการเรียนรู้และลงมือทำเพื่อสร้างคุณค่าให้เป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดการ การแปรสภาพธุรกิจ หรือ Cyber Resillience เป็นเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น”
พร้อมกันนี้ยังได้เติมเต็มเรื่องราวของเทคโนโลยีดิจิทัลอีกหลากหลายมุมมองจาก Speaker ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระดับมืออาชีพ อาทิ พันเอก ดร.เศรษฐพงษ์ มะลิสุวรรณ อดีตประธานกรรมการ กสทช. / ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล / ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ CEO บริษัท ไอโครา จำกัด / รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช จากมหาวิทยาลัยสยาม และ ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร CEO Z.Com เป็นต้น
ด้วยหลักสูตรที่เปิดโลกกว้างเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารยุคทิจิทัล MBA Digital Executives ใช้ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 6 เดือน มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 210,000 บาท โดยเรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ หรือเรียนแบบสะสมหน่วยกิต (credit bank) เป็นเรียนแบบรายวิชา Module หรือจะเทียบโอนรายวิชาของมหาวิทยาลัยระดับโลก อาทิ Harvard, MIT และ Stamford ผ่าน Platform ของ EdX ได้ด้วย
ก้าวให้ทันโลก ก้าวให้ทันเทรนด์ ร่วมเป็นหนึ่งสู่ ‘ผู้นำยุคดิจิทัล’ เพื่อตอบโจทย์โลกธุรกิจของคุณ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสมัครได้ ตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2562 ที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม โทร. 0 2868 6866, 08 9303 9999
หลักสูตร Digital Executives Program
วิชาแกน Compulsory Core course (15 Credits)
- การจัดการการตลาด (Marketing Management)
การจัดการการตลาด การตลาดดิจิทัล ทฤษฎีและกลยุทธ์ที่ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดการการตลาดในทุกรูปแบบ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการตลาดรูปแบบเดิมไปสู่การตลาดดิจิทัล ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิด และการเปลี่ยนแปลงการทำการตลาดโดยใช้ฐานข้อมูล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแนวคิด 3 แนวคิดนี้ นำไปสู่วิวัฒนาการของการตลาด ซึ่งพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงมุมมองของลูกค้าและพฤติกรรมผู้บริโภค
- การจัดการการเงิน (Financial Management)
หลักการจัดการทางการเงิน การวิเคราะห์และใช้ข้อมูลจากรายงานการเงิน รวมไปถึงทฤษฏีการจัดการเงินทุนหมุนเวียน การจัดหาเงินทุนในตลาดทุน การระดมทุน โครงสร้างเงินทุน เงินปันผล ต้นทุนของเงินทุน และเน้นถึงหลักการจัดการการเงินระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆทางการเงินในยุคสมัยใหม่
- พฤติกรรมองค์การยุคดิจิทัล (Organizational Behavior in Digital Era)
ทฤษฎีและพฤติกรรมขององค์การทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการตัดสินใจ รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลากรในองค์การ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขและการดำเนินการขององค์การ เพื่อให้เข้าใจและสามารถดำเนินการจัดการและสั่งการในองค์การได้ เน้นถึงการศึกษาในด้านจิตวิทยาและวิธีทดลองอื่นๆ ที่ช่วยในการจัดการและตัดสินใจ
- การจัดการเชิงกลยุทธ์และบรรษัทภิบาล (Strategic Management and Corporate Governance)
วิธีทำแผนกลยุทธ์ กำหนดภารกิจ นโยบาย เป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจในระดับต่างๆ ตลอดจนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนและการประเมินผล วิเคราะห์แยกสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์แนวทางเลือกในการแก้ปัญหาเพื่อให้ธุรกิจดำรงอยู่และประสบความสำเร็จ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อวางแผนดำเนินการ ซึ่งช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งหลักการพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
- ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ (Business Research Methodology)
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงทฤษฎีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการศึกษาเอกสาร โดยเกี่ยวข้องกับการออกแบบงานวิจัย การออกแบบเครื่องมือ การวางแผนงานวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการใช้สถิติเพื่องานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน การใช้ผลงานวิจัยเพื่อการตัดสินใจสำหรับธุรกิจ รวมถึงการศึกษาวิธีการอ้างอิงและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
วิชาแกนเลือก Selective Core Course (9 Credits)
- การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบสารสนเทศ (Digital Technology and Information System Management)
แนวคิดและทฤษฎีการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบสารสนเทศ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน รวมถึงศึกษาปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการเทคโนโลยี กระบวนการและแผนการพัฒนาเทคโนโลยี กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ การถ่ายโอนเทคโนโลยีขององค์กร ตลอดจนกรณีศึกษาการจัดการเทคโนโลยี
- เศรษฐศาสตร์จุลภาคว่าด้วยขีดความสามารถในการแข่งขัน Microeconomics of Competitiveness
หลักทั่วไปของขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศและภูมิภาค องค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ ความสำคัญของการสร้างมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สังคมมีอยู่ การพัฒนาสถาบันที่เกี่ยวข้องและนโยบายของรัฐบาลให้สอดคล้องกับการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน การส่งเสริมให้ธุรกิจและหน่วยงานในรูปแบบต่างๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว ภายใต้ระบบการบริหารจัดการแบบคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
** หมายเหตุรายวิชานี้ได้รับความร่วมมือจาก Harvard MOC Affiliate Network
- การคิดเชิงออกแบบและนวัตกรรม Design Thinking and Innovation Management
การคิดเชิงออกแบบและนวัตกรรม กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานกับการคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงธุรกิจ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ การศึกษาความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย การระดมความคิดเพื่อค้นหาทางแก้ไข การเรียนรู้และลงมือทำเพื่อสร้างคุณค่าและนวัตกรรม การนำความคิดสร้างสร้างสรรค์ เพื่อแนวทางการแก้ปัญหา ต่อยอดให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งการเข้าใจผู้คน การทำงานเป็นทีม การสร้างคุณค่า และการสร้างผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
วิชาเลือกกลุ่มและเลือกเสรี Major + Free Elective Courses (15 credits)
- ดิจิทัลสตาร์ทอัพ Digital Startup
ทฤษฎี แนวทางในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาของธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพ การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจ กระบวนการความคิดที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม และการนำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติและการใช้เชิงพาณิชย์
- การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data Analytics
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ กระบวนการคัดเลือก วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งปริมาณ ความหลากหลายและพลวัต การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลบนสื่อดิจิทัล ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงการสร้างความรู้จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มาประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจ เพื่อความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ
- การจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Cyber Resilience Management)
การจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล แนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อตรวจจับ ตอบสนอง ต่อการถูกบุกรุกโจมตีได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ ทฤษฎีการปรับตัวและการป้องกัน การเตรียมความพร้อม รวมถึงการควบคุมและการจัดแบ่งประเภทข้อมูล การเข้ารหัสและถอดรหัส การจัดการความเสี่ยง การออกแบบและวางแผนการกู้คืนระบบ รวมถึงศึกษามาตรฐานและนโยบายทางด้านคอมพิวเตอร์ การควบคุมความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและ ความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
- การจัดการการแปรสภาพธุรกิจ (Transformative Business Management)
การจัดการการแปรสภาพธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจในยุคดิจิทัล รวมถึงการวางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจและการต่อคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรทุกภาคส่วน และการเพิ่มศักยภาพให้องค์กรสามารถแข่งขันในยุคที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
- ล้มเหลวเพื่อก้าวต่อไป Fail Forward
การเรียนรู้ขององค์กร บุคลากร การสร้างสรรค์และสร้างความยืดหยุ่น โดยหลักการจัดการกับความล้มเหลวอย่างชาญฉลาดจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรที่ต้องการในการปรับปรุง ในการเรียนรู้คิดค้น และค้นหาความคล่องตัวในการรักษาความสัมพันธ์และการแข่งขันของธุรกิจ
- การจัดการดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร 1 (Digital Management for Executive 1)
(สำหรับเทียบโอนกับหลักสูตรที่กรรมการเห็นชอบ เช่น Digital CEO ของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และ อื่นๆ)
การพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์ การสังเคราะห์แนวทางในการจัดทำแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับต่างๆ โดยประกอบด้วยหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องคือ ดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลักของโลกและภูมิภาคทั้งในปัจจุบันและอนาคต กรณีศึกษาในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ของประเทศไทย การพัฒนาทักษะในการกำหนดนโยบายเพื่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลไปใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและสังคมที่มีคุณภาพ
- การจัดการดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร 2 (Digital Management for Executive 2)
(สำหรับเทียบโอนกับหลักสูตรที่กรรมการเห็นชอบ เช่น Digital CEO ของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และอื่น ๆ)
การวิพากษ์ความหลากหลายของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคต บทบาทภาคีเครือข่ายองค์การภาครัฐ เอกชนและประชาชนกับการมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการกำหนดแผนงานและโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเชิงบูรณาการ การเตรียมรับเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตด้านการบริหารจัดการดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อการบริหารจัดการองค์กรดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การตลาดออนไลน์และยุทธศาสตร์ดิจิทัลเพื่อพัฒนาองค์กร การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงานขององค์กร รวมถึงกรณีศึกษาภาครัฐและเอกชน การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การสร้างทีมและจัดการเครือข่ายการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาคนพันธุ์ใหม่ (Digital DNA)
วิชาการค้นคว้าอิสระ (3 credits)
- วิชาการค้นคว้าอิสระหรือการบูรณาการสู่ความเป็นเลิศ Independent study or capstone project
การกำหนดหัวข้อหรือปัญหาที่นักศึกษาสนใจศึกษา สำหรับการค้นคว้าในกลุ่มวิชาที่ศึกษา รวมถึงโครงการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลลัพธ์ของการปฏิบัติ มีการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ และนำมาบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติ เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติ เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ทีดีกว่าเดิมซึ่งอาจครอบคลุมการทำแผนธุรกิจ พัฒนาระบบงาน และการให้คำปรึกษา
ปิดท้ายงานแถลงข่าวด้วยเสวนากระตุ้นความเป็นผู้นำในโลกธุรกิจออนไลน์
สิ่งที่คุณโซอี้เน้นย้ำก็คือ การสร้างแบรนด์ เป็นของตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจากสินค้าทุกอย่างย่อมมีคู่แข่ง ที่ทำสินค้าชนิดเดียวกันออกมา การสร้างแบรนด์ให้เริ่มต้นจากการสร้างบุคลิกภาพให้กับสินค้าของตนเอง ต่อไปก็ตั้งชื่อ กำหนดสี ตราสัญลักษณ์ รวมไปถึงการสร้างเรื่องราว ที่มาของแบรนด์ให้คนไปเล่าขานจดจำสินค้าของเราได้ ซื้อสินค้าเราแล้วคุ้มค่า
ส่วนเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ที่ควรระมัดระวัง ได้แก่ การทำ Graphic Design ที่ตรงกับบุคลิกของสินค้า เพราะลูกค้ามักตัดสินใจซื้อเนื่องจากได้เห็นรูปภาพ สำหรับลูกค้าเก่าต้องรักษาไว้ให้ได้ เพราะมีต้นทุกการทำการตลาดน้อยกว่าการทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ สำหรับผู้ที่ทำการตลาดผ่านทางโซเชียล การเขียนโพสต์ต้องระวังจะกลายเป็น Content ขยะ ทุกโพสต์ต้องทำ SEO หรือใส่คีย์เวิร์ดให้กับสินค้าของเราด้วย เพื่อให้ระบบสืบค้น เช่น Google สามารถสืบค้นสินค้าของเราพบ นอกจากนี้ก็ควรจัดกิจกรรมให้คนเข้ามามีส่วนร่วม กระตุ้นหรือหาวิธีให้ผู้ที่ติดตามกดไลค์ กดแชร์ โดยเน้นย้ำที่แก่นแท้ของสินค้าของเรา เป็นหลัก
COMMENTS