เริ่มแล้ววันนี้ – 21 กรกฎาคม 2562 นิทรรศการแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ (Live Session Thesis Exhibition) ของนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม (Industrial Design) รุ่น 43 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ณ สยามดิสคัฟเวอร์รี่ ชั้น 5 ลาน Retail Innovation ตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น.
- โซนสีแดง : ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design)
- โซนสีส้ม : ออกแบบสิ่งทอ (Textile Design)
- โซนสีเหลือง : ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
- โซนสีเขียว : ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Design)
- โซนสีฟ้า : ออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะ(Metal Design)
- โซนสีม่วง : ออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา (Ceramics Design)
ซึ่งได้หล่อหลอมพลังแนวคิดจากการศึกษา การค้นคว้าหาข้อมูล รวมทั้งกระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์สภาพแวดล้อมของสังคมยุคใหม่ ด้วยสีสัน ความงาม ทันสมัย
กมลวรรณ มุ่งหน้าที่ สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) นำเสนอ ‘โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อลดสภาวะเนือยนิ่งในเด็กช่วงอายุ 6 - 9 ปี โดยประยุกต์ใช้จากการละเล่นไทย’ บอกเล่าถึงแนวคิดของผลงานว่า สังคมเด็ก ๆ ในวันนี้ติดเกม ติดมือถือ ติดคอมพิวเตอร์ จึงคิดหากิจกรรมอื่น เพื่อให้เด็กได้สนุกและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้าง “การละเล่นไทย + ธรรมชาติ + มนุษย์ = ดั้งเดิม ในยุคที่สังคมก้มหน้า ทำให้การละเล่นไทยถูกลืมหายไปพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปไม่เหมาะกับการเล่น ทำให้ในวัยเด็กที่ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนผ่านการเล่นนั้นน้อยลงไปด้วย จึงออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ เพื่อสร้างการเล่นที่เอื้อให้เด็กวัย 6 - 9 ปี เกิดการเล่นที่ต้องใช้กำลังด้านร่างกาย และมีปฏิสัมพันธ์ในการเล่นด้วยกันผ่านผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการเล่น จำนวนคนไปตามแนวคิดของการละเล่นไทยให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันในสถานศึกษา”
ชิณวัตร กุญชรพะงา สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ นำเสนอ ‘โครงการออกแบบรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการแข่งขันรายการ BRIDGESTONE World Solar Challenge’ เล่าว่า หลงใหลการออกแบบรถยนต์มาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงเป็นที่มาของโครงการนี้
'ERAWON' เป็นนำเสนอการออกแบบรถภายใต้แรงบันดาลใจที่มาจากสัตว์ประจำชาติไทย ‘ช้าง’ ผ่านการออกแบบบนพื้นฐานของกติกา และข้อจำกัด ของการแข่งขันในรายการ BRIDGESTONE World Solar Challenge ที่จะจัดขึ้นทุก 2 ปี ณ ประเทศออสเตรเลีย โดยนำเสนอการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะกับยุคสมัยนี้ จึงเป็นไอเดียที่นำมาใช้ในการออกแบบในครั้งนี้”
ภูมิธรัช สมาธิ สาขาออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) นำเสนอ ‘โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเต้าหู้สำหรับเด็ก’ จึงสร้างสรรค์ Packaging สีสันสดใส ลวดลายน่ารักเหมาะกับเด็ก
“ขนมขบเคี้ยววายร้ายใกล้ตัว ขนมกับเด็กเป็นของคู่กัน และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก เนื่องจากวัตถุดิบหลักมักทำจากแป้ง น้ำตาล ไขมัน ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ก็มาคิดจะเป็นอย่างไรที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ ถ้าเราลองเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นของที่มีประโยชน์อย่าง ‘เต้าหู้’ ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมดาที่ซ่อนคุณประโยชน์มากมาย ภายใต้ก้อนสี่เหลี่ยมสีขาวนวล และเด็กน้อยคนนักที่จะชอบรับประทาน หากเกิดเป็นสินค้าใหม่ ภาพลักษณ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด ‘The Fantastic of Creature : Hey! Bring them to the Wonderland’ ผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์แห่งเต้าหู สนุกไปกับ ‘Nin-nin’ นินจาถั่วเหลืองที่ได้รับภารกิจให้พาน้องๆ ไปเรียนรู้ และรู้จักเต้าหู้มากยิ่งขึ้น ทั้งอร่อย ทั้งสนุก และได้ประโยชน์ในเวลาเดียวกัน จะดีกว่ามั้ย”
นพดล รุ่งณรังสี สาขาวิชาออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะ (Metal Design) กับ ‘โครงการออกแบบเครื่องประดับที่นำวัสดุกระจกเกรียบแบบในอดีตมาประยุกต์ใช้กับงานเครื่องประดับ เพื่อถ่ายทอดสีสันของวัฒนธรรมในอดีต’ ถ่ายทอดสร้างคุณค่าความงามเป็นเครื่องประดับอย่างหลากหลายรูปแบบ
'ERAWON' เป็นนำเสนอการออกแบบรถภายใต้แรงบันดาลใจที่มาจากสัตว์ประจำชาติไทย ‘ช้าง’ ผ่านการออกแบบบนพื้นฐานของกติกา และข้อจำกัด ของการแข่งขันในรายการ BRIDGESTONE World Solar Challenge ที่จะจัดขึ้นทุก 2 ปี ณ ประเทศออสเตรเลีย โดยนำเสนอการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะกับยุคสมัยนี้ จึงเป็นไอเดียที่นำมาใช้ในการออกแบบในครั้งนี้”
ภูมิธรัช สมาธิ สาขาออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) นำเสนอ ‘โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเต้าหู้สำหรับเด็ก’ จึงสร้างสรรค์ Packaging สีสันสดใส ลวดลายน่ารักเหมาะกับเด็ก
“ขนมขบเคี้ยววายร้ายใกล้ตัว ขนมกับเด็กเป็นของคู่กัน และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก เนื่องจากวัตถุดิบหลักมักทำจากแป้ง น้ำตาล ไขมัน ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ก็มาคิดจะเป็นอย่างไรที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ ถ้าเราลองเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นของที่มีประโยชน์อย่าง ‘เต้าหู้’ ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมดาที่ซ่อนคุณประโยชน์มากมาย ภายใต้ก้อนสี่เหลี่ยมสีขาวนวล และเด็กน้อยคนนักที่จะชอบรับประทาน หากเกิดเป็นสินค้าใหม่ ภาพลักษณ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด ‘The Fantastic of Creature : Hey! Bring them to the Wonderland’ ผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์แห่งเต้าหู สนุกไปกับ ‘Nin-nin’ นินจาถั่วเหลืองที่ได้รับภารกิจให้พาน้องๆ ไปเรียนรู้ และรู้จักเต้าหู้มากยิ่งขึ้น ทั้งอร่อย ทั้งสนุก และได้ประโยชน์ในเวลาเดียวกัน จะดีกว่ามั้ย”
นพดล รุ่งณรังสี สาขาวิชาออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะ (Metal Design) กับ ‘โครงการออกแบบเครื่องประดับที่นำวัสดุกระจกเกรียบแบบในอดีตมาประยุกต์ใช้กับงานเครื่องประดับ เพื่อถ่ายทอดสีสันของวัฒนธรรมในอดีต’ ถ่ายทอดสร้างคุณค่าความงามเป็นเครื่องประดับอย่างหลากหลายรูปแบบ
ARRA ใช้ส่วนประกอบและสัดส่วนของสถาปัตยกรรมมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว จัดวางที่ตำแหน่งเฉพาะของแต่ละส่วน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปทรง 3 มิติ โดยนำส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ‘กระจกเกรียบ’ ที่ประดับลงบนส่วนของงานสถาปัตยกรรมนั้น มาสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องประดับต่าง ๆ”
เสาวลักษณ์ เริงรักษาธรรม สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ (Textile Design) เสนอผลงาน ‘โครงการออกแบบผ้าอัดพลีทในรูปแบบออริกามิพร้อมกับการพิมพ์ลายด้วยความร้อน’ ที่ดูแปลกตา สวยทันสมัย “นำเสนอวิธีการพิมพ์ลายบนผืนผ้าไปพร้อมกับการอัดจีบพลีทด้วยโมลกระดาษซับลิเมชั่น (sublimation) และความร้อนผสมผสานกับศิลปะการพับกระดาษเเบบญี่ปุ่น ภายใต้เเรงบันดาลใจ ‘นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น’ โดยนำเสนอเรื่องราวทั้งหมดผ่านคอลเลคชั่นเสื้อผ้าสตรี”
สรชา กิจกาญจน์ สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ (Textile Design) นำเสนอผลงาน ‘โครงการออกแบบเคหะสิ่งทอจากยางพาราและกากกาแฟเหลือใช้’ นำวัสดุเหลือใช้มาสร้างคุณค่า พร้อมต่อยอดยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง
“Glazed coff. มาจากคำว่า Glazed by coffee เป็นผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากโครงการออกแบบนี้ ผลิตขึ้นจากการถักขึ้นรูปจากเส้นเชือกด้วยเทคนิคโครเชต์และนิตติ้ง แล้วชุบเคลือบด้วยน้ำยางพาราธรรมชาติและกากกาแฟเหลือใช้ เพื่อให้สามารถคงรูปอยู่ได้ ซึ่งสีที่เกิดขึ้นเป็นสีจากกากาแฟในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยคุณสมบัติของยางพารานั้นทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถเปียกน้ำได้และคงรูปอยู่ได้ด้วยตัวเอง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตกแต่งบ้าน และคาเฟ่ โดยมีแนวคิดในการออกแบบมาจากเทคนิคการชงกาแฟในลักษณะต่าง ๆ”
รุ่งระวี นิมิตพรชัย สาขาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Design) นำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์คุณค่าให้เกิดประโยชน์และความงาม ใน 'โครงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชุดรับประทานอาหารจากวัสดุเศษไม้เหลือใช้’ “เป็นโครงการที่นำเสนอให้กับบริษัท โพเดียม โฮลิ้ง กรุ๊ป จำกัด ซึ่งการผลิตส่งออกเฟอร์นิเจอร์ตัวเดิมทุก ๆ วัน ส่งผลให้เหลือเศษไม้รูปทรงเดิม ๆ ซ้ำกันจำนวนมาก จึงนำเสนอ ‘ออกแบบชุดเฟอร์นิเจอร์รับประทานอาหารจากวัสดุเศษไม้เหลือใช้’ ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าและช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัท โดยออกแบบสร้างเอกลักษณ์ใหม่ด้วยวิธีการนำเศษไม้มาต่อแพทเทิร์นให้เกิดลายไม้รูปแบบใหม่ที่ขัดสลับกันและใช้เทคนิคการพ่นสี แบบไล่เพื่อสร้างความโดดเด่นที่แปลกใหม่ให้กับเฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้เหลือใช้”
นี่คือส่วนหนึ่งของผลงาน โชว์สด “Live Session Thesis Exhibition” ขอเชิญร่วมเปิดมุมมองกับโลกของการออกแบบที่ห้ามพลาด
COMMENTS