--> วีซ่า เผยคนไทยส่วนใหญ่สนับสนุนการชำระค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิตในกระเป๋าสตางค์ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

วีซ่า เผยคนไทยส่วนใหญ่สนับสนุนการชำระค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิตในกระเป๋าสตางค์



จากการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคของวีซ่า[1] (Visa Consumer Payment Attitudes Survey) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดการชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต โดยผลสำรวจฉบับนี้ศึกษาถึงทัศนคติ และพฤติกรรมการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเทรนด์การใช้จ่ายสำคัญของผู้บริโภคจากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 4,000 คน จากแปดประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 500 คนจากประเทศไทย

จากผลสำรวจพบว่า เกือบสองในสามของคนไทย (64 เปอร์เซ็นต์) มีความประสงค์ที่จะชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของตนเอง และ 67 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการใช้บัตรคอนแทคเลส หรือ การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในการชำระค่าโดยสารฯ อีกด้วย



นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “วีซ่าได้ร่วมมือกับกว่า 120 หัวเมืองหลักทั่วโลกในการวางระบบการชำระเงินแบบเปิด (Open-loop payment) สำหรับการขนส่งสาธารณะซึ่งจะเห็นได้ว่ามหานครขนาดใหญ่ อย่าง ลอนดอน นิวยอร์ค สิงคโปร์ และ ซิดนีย์ ได้มีการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดในการชำระเงินค่าขนส่งสาธารณะ มาเป็นการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่ง ไปยังจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น”

“ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการด้านขนส่งมวลชนที่ใช้รูปแบบการชำระเงินระบบเปิด ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงาน ยกระดับประสบการณ์การเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร รวมไปถึงการช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีกด้วย ซึ่งอ้างอิงถึงผลสำรวจของวีซ่า หัวข้อรายงานสังคมไร้เงินสด[2] (Visa Cashless Cities Report) พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 14.5 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ในการเก็บเงินสด เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเงินดิจิตอลจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 4.2 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์เท่านั้น” นายสุริพงษ์ กล่าวเสริม

การชำระเงินระบบเปิดในระบบขนส่ง คือการยอมรับวิธีการชำระเงินที่ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเครือข่ายการขนส่งใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการที่ผู้โดยสารสามารถชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะอย่าง รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ และรถโดยสารประจำทางได้ด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตในกระเป๋าสตางค์ที่ออกจากธนาคารโดยตรง

ผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า เหตุผลหลักในการเลือกชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะในระบบการชำระเงินแบบเปิด เป็นเพราะ ช่วยลดการพกเงินสดเพื่อนำไปเติมมูลค่าในบัตรโดยสาร (76 เปอร์เซ็นต์) ลดจำนวนบัตรในกระเป๋าสตางค์ (63 เปอร์เซ็นต์) และความสะดวกสบายในการติดตามค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (56 เปอร์เซ็นต์)

ในทางกลับกัน ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นข้อด้อยของระบบการชำระเงินแบบปิดอย่างในปัจจุบันคือ การไม่สามารถชำระเงินได้หากมียอดเงินในบัตรไม่เพียงพอ (53 เปอร์เซ็นต์) การต้องเติมเงินในบัตรโดยสารอยู่เสมอ (43 เปอร์เซ็นต์) เมื่อบัตรสูญหายเงินในบัตรไม่สามารถขอคืนได้ (36 เปอร์เซ็นต์) และความยุ่งยากในการเตรียมเงินสดเพื่อเติมเงินในบัตรโดยสาร (35 เปอร์เซ็นต์)



เมื่อถามถึงการชำระเงินรูปแบบใดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจเลือก บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ประเภทคอนแทคเลส (45 เปอร์เซ็นต์) เป็นอันดับแรก ตามด้วยการชำระเงินแบบคอนแทคเลสผ่านสมาร์ทโฟน (22 เปอร์เซ็นต์) และการชำระเงินแบบไบโอเมตริกซ์ (20 เปอร์เซ็นต์)

นอกจากนั้นแบบสำรวจฯ ยังได้ติดตามทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการชำระเงินสำหรับการเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษ ซึ่งพบว่ามากกว่าสี่ในห้า (81 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามอยากใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตในรูปแบบคอนแทคเลสในการจ่ายค่าผ่านทางฯ โดยมีเหตุผลหลักในการเลือกทำธุรกรรมแนวไร้เงินสด เพราะไม่ต้องเตรียมเงินสดหรือเติมเงินทิ้งไว้ในบัตรทางด่วน (71 เปอร์เซ็นต์) รวมไปถึงการช่วยลดจำนวนบัตรในประเป๋าสตางค์ (58 เปอร์เซ็นต์) และความสะดวกในการติดตามค่าใช้จ่ายในการใช้การทางพิเศษ (31 เปอร์เซ็นต์)

“จากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านขนส่งมวลชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า การชำระเงินระบบเปิดในระบบขนส่งสาธารณะถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขยายการยอมรับการชำระเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นยังจะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในการชำระเงิน รวมไปถึงเป็นการช่วยยกระดับให้ประเทศไทยในฐานะเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการชำระเงินระบบเปิดจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างยั่งยืน และวีซ่าพร้อมทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยให้ประเทศไทยเข้าถึงศักยภาพอย่างแท้จริง” นายสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย

[1] การสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2561 ของวีซ่า จัดทำโดย Intuit Research ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2561 ในแปดประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 คน ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนวัยทำงานจากประเทศไทยจำนวน 500 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 65 ปี ครอบคลุมในทุกระดับการศึกษาและมีรายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาท เป็นต้นไป

[2] ผลสำรวจของ วีซ่า เกี่ยวกับเมืองไร้เงินสด จัดทำโดย Roubini ThoughtLab ในปี 2560 ครอบคลุมกว่า 100 เมืองใน 80 ประเทศทั่วโลก

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,233,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,262,Marketing,152,Mobile Device,1110,Motorbike,33,PR News,295,PropTech,53,Real Estate,282,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: วีซ่า เผยคนไทยส่วนใหญ่สนับสนุนการชำระค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิตในกระเป๋าสตางค์
วีซ่า เผยคนไทยส่วนใหญ่สนับสนุนการชำระค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิตในกระเป๋าสตางค์
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLF5JQ7rY1RKIBXd_IhucyedovrAzGn4vCPoDv9rzZe16lnn_9zP64MNu1zihsg170kP9K5yNRcHFF3VWX8vGlTXUBrWRu4VG_bygCSkCVd7nzxvDKMJNe4wBsGgGreoVabQhHpF-RBHw/s1600/1.+Infographic+%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%258B%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2+%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B0.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLF5JQ7rY1RKIBXd_IhucyedovrAzGn4vCPoDv9rzZe16lnn_9zP64MNu1zihsg170kP9K5yNRcHFF3VWX8vGlTXUBrWRu4VG_bygCSkCVd7nzxvDKMJNe4wBsGgGreoVabQhHpF-RBHw/s72-c/1.+Infographic+%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%258B%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2+%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B0.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2019/08/visa-payment-public-transportation.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2019/08/visa-payment-public-transportation.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy