ในภาพ รองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหัวเว่ย มร. เหริน เจิ้งเฟย ในการพบปะพูดคุย ณ เซินเจิ้น ประเทศจีน
รองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เผยประเทศไทยพร้อมต้อนรับการก่อสร้างโครงข่าย 5G ของหัวเว่ย รวมถึงกระชับความร่วมมือกับหัวเว่ยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมอีโคซิสเต็ม 5G และปัญญาประดิษฐ์ (5G+AI eco-innovation) ในประเทศไทย ระหว่างการเดินทางเยือนสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน พร้อมเข้าพบเพื่อพูดคุยกับ มร.เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหัวเว่ย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
“รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ 5G และเราหวังว่าจะสามารถนำ 5G มาสู่อาเซียนเป็นแห่งแรกได้ภายในปีหน้า และประเทศไทยก็มุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จในการเข้าสู่โลกแห่งความอัจฉริยะล้ำสมัยแห่งยุค 5G และเรามุ่งหวังที่จะมีการขยายความร่วมมือของหัวเว่ยในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง”
รองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์กล่าว
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากเครือข่ายด้านโทรคมนาคม คาดหวังว่าหัวเว่ยจะขยายการลงทุนในประเทศไทยในด้านอื่น ๆ อาทิ 5G อีโคซิสเต็ม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากร เพื่อส่งเสริมการสร้างอีโคซิสเต็มทางอุตสาหกรรมที่พร้อมพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้านหัวเว่ยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยี 5G จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะส่งเสริมการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของประเทศไทยให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าประเทศอื่นได้ โดย 5G คลาวด์และเอไอจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเราก็เคารพในความเป็นอธิปไตยด้านดิจิตัลของประเทศไทย ในการส่งเสริมนวัตกรรมให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี บ่มเพาะให้เกิดอีโคซิสเต็มแห่งนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มระบบเปิดของหัวเว่ย เพื่อร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติในอนาคต
หัวเว่ยจะเปิดตัว Huawei Academy ขึ้นในประเทศไทย เพื่อเฟ้นหาและส่งเสริมบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีที พร้อมส่งเสริมให้ประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่างคลาวด์ เอไอ และซูเปอร์คอมพิวติ้ง หัวเว่ยสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลได้ทั้งในส่วนขององค์กรภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี บ่มเพาะให้เกิดอีโคซิสเต็มแห่งนวัตกรรมบนรากฐาน 5G และขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยจากระดับรากฐาน ทั้งนี้ เพื่อร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติในอนาคต
ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหัวเว่ยยังได้ลงนามในข้อตกลง
ความร่วมมือ “เสริมสร้างและบ่มเพาะแรงงานดิจิทัลในประเทศไทยเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” อีกด้วย
การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “เสริมสร้างและบ่มเพาะแรงงานดิจิทัลในประเทศไทยเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหัวเว่ย
หัวเว่ยเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 และประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมการสร้างเครือข่ายทั้ง 2G, 3G, และ 4G ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย และจากความร่วมมือที่ให้ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย หัวเว่ยยังสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมและบ่มเพาะบุคลากรด้าน ICT อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ยก็ยังได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคชาวไทยอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ยได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิด OpenLab Bangkok, ศูนย์ข้อมูล Cloud Data Center, ศูนย์ทดสอบ 5G เป็นต้น พร้อมครองความเป็นผู้นำด้านการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีไอซีทีและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลก โดยมีพนักงานในประเทศไทย 3,200 คน ซึ่งมีถึง 75 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นคนไทย
“รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ 5G และเราหวังว่าจะสามารถนำ 5G มาสู่อาเซียนเป็นแห่งแรกได้ภายในปีหน้า และประเทศไทยก็มุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จในการเข้าสู่โลกแห่งความอัจฉริยะล้ำสมัยแห่งยุค 5G และเรามุ่งหวังที่จะมีการขยายความร่วมมือของหัวเว่ยในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง”
รองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์กล่าว
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากเครือข่ายด้านโทรคมนาคม คาดหวังว่าหัวเว่ยจะขยายการลงทุนในประเทศไทยในด้านอื่น ๆ อาทิ 5G อีโคซิสเต็ม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากร เพื่อส่งเสริมการสร้างอีโคซิสเต็มทางอุตสาหกรรมที่พร้อมพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้านหัวเว่ยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยี 5G จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะส่งเสริมการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของประเทศไทยให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าประเทศอื่นได้ โดย 5G คลาวด์และเอไอจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเราก็เคารพในความเป็นอธิปไตยด้านดิจิตัลของประเทศไทย ในการส่งเสริมนวัตกรรมให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี บ่มเพาะให้เกิดอีโคซิสเต็มแห่งนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มระบบเปิดของหัวเว่ย เพื่อร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติในอนาคต
หัวเว่ยจะเปิดตัว Huawei Academy ขึ้นในประเทศไทย เพื่อเฟ้นหาและส่งเสริมบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีที พร้อมส่งเสริมให้ประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่างคลาวด์ เอไอ และซูเปอร์คอมพิวติ้ง หัวเว่ยสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลได้ทั้งในส่วนขององค์กรภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี บ่มเพาะให้เกิดอีโคซิสเต็มแห่งนวัตกรรมบนรากฐาน 5G และขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยจากระดับรากฐาน ทั้งนี้ เพื่อร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติในอนาคต
ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหัวเว่ยยังได้ลงนามในข้อตกลง
ความร่วมมือ “เสริมสร้างและบ่มเพาะแรงงานดิจิทัลในประเทศไทยเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” อีกด้วย
การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “เสริมสร้างและบ่มเพาะแรงงานดิจิทัลในประเทศไทยเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหัวเว่ย
หัวเว่ยเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 และประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมการสร้างเครือข่ายทั้ง 2G, 3G, และ 4G ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย และจากความร่วมมือที่ให้ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย หัวเว่ยยังสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมและบ่มเพาะบุคลากรด้าน ICT อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ยก็ยังได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคชาวไทยอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ยได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิด OpenLab Bangkok, ศูนย์ข้อมูล Cloud Data Center, ศูนย์ทดสอบ 5G เป็นต้น พร้อมครองความเป็นผู้นำด้านการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีไอซีทีและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลก โดยมีพนักงานในประเทศไทย 3,200 คน ซึ่งมีถึง 75 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นคนไทย
COMMENTS