ปรากฏการณ์ใหม่ของโลกที่กลุ่มผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลกเป็นครั้งแรก ในปี 2593 (2050) และกลายเป็นตัวขับเคลื่อน สู่ เศรษฐกิจสูงวัย (Silver economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity economy) เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ ออกจากกลุ่มมิลเลนเนียลส์
ส่วนไทย จะมีประชากรสูงอายุถึง 30% ในปี 2578 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงโดยรวมของประเทศ ในหลายด้าน ที่รอการปรับตัว
อิปซอสส์ เดินหน้าตอกย้ำจุดยืนใหม่ “ผู้เปลี่ยนเกม” (Game Changer) พลิกมุมมองและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนทั้งโลก ส่งรายงานผลวิจัยชุดล่าสุด “Getting Older–Our Aging world” เพื่อเปลี่ยนมุมมอง สร้างความเข้าใจ และอธิบายผลกระทบของสังคมผู้สูงวัยให้กับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคธุรกิจ
เป็นที่คาดการณ์ว่า ระหว่างปี 1980 – 2050 (พ.ศ. 2523 – 2593) จำนวนผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว โดยในปี 2050 (พ.ศ. 2593) โลกจะมีจำนวนผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 2.1 พันล้านคน ส่งผลให้ในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้จะเป็นครั้งแรกที่โลกมีจำนวนคนแก่มากกว่าคนหนุ่มสาว โดย 1 ใน 5 ของประชากรโลกในปี 2050 (พ.ศ. 2593) จะเป็นผู้สูงวัย ซึ่งสถิติดังกล่าวได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลก
จากการขยายตัวของกลุ่มคนสูงอายุอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนเป็นที่แน่ชัดว่าเจนเนอเรชั่นทรงอิทธิพลจะมีการเปลี่ยนขั้ว จากกลุ่มมิลเลนเนียลส์ Millennial ที่เป็นความเชื่อเดิมๆ มาเป็น กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่คุมอำนาจทางการเงินและการเมือง เป็นกลุ่มที่มีเงินเหลือเพื่อการใช้จ่าย (Disposable Incomes) มากกว่าคนทุกกลุ่ม กลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก สู่ เศรษฐกิจสูงวัย หรือ Silver Economy และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) ผลักดันให้กลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตาและศึกษาแนวโน้มกันอย่างกว้างขวาง
สำหรับในประเทศไทย -- ข้อมูลจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้ระบุว่า หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing society) ตั้งแต่ปี 2543 ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 10 และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ในปี 2564 ซึ่งจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20% จากนั้นในปี 2578 ก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด (Super Aged Society) โดยมีประชากรสูงอายุถึง 30% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงโดยรวมของประเทศในหลายด้าน ทำให้หลายฝ่ายต้องเริ่มตระหนักและหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมการรองรับไว้ล่วง หน้าเช่นเดียวกับความกังวลของนานาประเทศในขณะนี้
ในรายงานวิจัยชุดพิเศษ .”Getting Older – Our Aging World” จากอิปซอสส์ ชี้ให้เห็นว่า การที่เราไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้สึกนึกคิด และ ความต้องการกลุ่มผู้สูงอายุ จะทำให้เราประเมินสถานการณ์และวางแผนการต่าง ๆ ไม่ถูกทิศทาง
มารู้จัก ผู้สูงวัยชาวโลกและ ผู้สูงอายุคนไทย กับการจับโอกาสมหาศาล ลดความเสี่ยง เริ่มจากการสร้างมุมมองใหม่ ออกจากปัญหาและการติดกับความเชื่อและภาพจำเดิมๆ เช่น การกำหนดผู้สูงวัยจาก ‘ตัวเลขอายุ’ และภาพจำเดิมๆ ที่ว่า ผู้สูงวัยไม่สนใจเทคโนโลยี ไม่ชอบเรียนรู้ และ ไม่ชอบสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่นักการตลาด กว่า 79% ยังใช้ ‘อายุ’ เป็นตัวชี้วัดในการกำหนดตัวตนของผู้สูงวัย แทนที่จะศึกษาจากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง ความเข้าใจผิดเหล่านี้ ทำให้เราไม่รู้จักผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง ไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เราประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและวางแผนต่าง ๆ ไม่ถูกทิศทาง
สำหรับประเทศไทย กว่า 75% ของผู้สูงวัยคนไทยมีความสนใจและต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และ กว่า 1.2 ล้านของผู้สูงวัยชาวไทยที่มีอายุเกิน 60 ปี เข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ต ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงวัยไม่ยอมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป
ความชอบ ความต้องการ พฤติกรรม และ ไลฟ์สไตล์ ของผู้สูงอายุทั้งที่เป็นภาพรวมของโลกและกลุ่มผู้สูงวัยชาวไทย ต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นเดียวกับ เจนเนอเรชั่นกลุ่มอื่นๆ
จากความเชื่อเดิมๆ ที่ฝังใจกันทั่วไปว่า ผู้สูงอายุไม่สนใจเรื่องเทคโนโลยีและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นวิวัฒนาการของโลกนั้น อาจต้องมีการทบทวนใหม่ เพียงแต่ผู้สูงอายุอาจจะมีข้อจำกัดบ้างในบางจุดเพื่อการปรับตัวให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าว ซึ่งอาจต้องใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นมากเป็นพิเศษ อีกทั้ง อาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าในการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น
โดยข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ “Getting Older-Our Aging World” จะบอกให้ทราบถึง ความวิตกกังวลและความต้องการลึกๆ ที่อยู่ในใจของกลุ่มผู้สูงอายุทั้งที่เป็นภาพรวมตัวแทนผู้สูงวัยของโลก และเจาะลึกถึงคุณลักษณะผู้สูงอายุชาวไทย ในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านความชอบ ไลฟ์สไตล์ พฤติกรรม ความต้องการ ตลอดจน ข้อมูลในการใช้จ่ายเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกวงการ
โดยสิ่งที่ผู้สูงอายุทั่วโลกวิตกกังวลมากที่สุด คือ เรื่องเงิน และ สุขภาพ (Top Worries – Money & Health) และสิ่งที่ผู้สูงอายุชาวไทยมีความกังวลใจซึ่งก็มีความใกล้เคียงกัน โดยสามารถเรียงลำดับตามความวิตกกังวลของกลุ่มผู้สูงวัยของโลก คือ กลัวมีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต 30%, กลัวมีปัญหาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย 25%, เสียความทรงจำ 24%, ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ 22%, การจากไปของคนในครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูง 20%, ความเจ็บป่วย 20%, ถูกทิ้งให้เปล่าเปลี่ยว เหงา เศร้า 19%, ไม่มีอิสระ 18%, ตาย 16%, หูตึง / ตามองไม่เห็น 13%
ส่วนความกังวลใจของผู้สูงอายุคนไทยเมื่อถึงวัยชรา เรียงตามลำดับได้ดังนี้
51% - ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ 41%-เจ็บป่วย 34%- ความเคลื่อนไหวทางร่างกาย 32% -มีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต 27% -เสียความทรงจำ 20% -ญาติและเพื่อนฝูงค่อยๆ จากไป 15% -สูญเสียสายตาและ การได้ยิน 10%-ถูกทิ้งให้ล้าหลังทางเทคโนโลยี 10% -ผมหงอกและศีรษะล้าน 10% -เบื่อหน่าย 10% -ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว 7% -ไมได้รับการดูแลเอาใจ เป็นต้น (รายละเอียด Chart 2)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบัน ผู้สูงอายุคนไทย มีประกันภัยด้านสุขภาพถึง 50% และ อีก 18% เป็นการทำประกันในลักษณะ Endownment Life insurance
ในการนี้ เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุคนไทยให้มากยิ่งๆขึ้น อิปซอสส์ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึง ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมที่ทำ ตลอดจน พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
กิจกรรมยอดฮิตติดอันดับที่ผู้สูงอายุชาวไทยชื่นชอบตามลำดับ คือ การออกกำลังกาย เดินทางท่องเที่ยว การเพาะปลูก ชอบสังคมเยี่ยมญาติ / เพื่อนสนิทมิตรสหาย การเดินออกกำลังกาย และ ร่วมกิจกรรมชุมชน ในอัตรา 56%, 49%, 34%, 27%, 27% 22% ตามลำดับ
ส่วนพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุชาวไทยนั้น ผลสำรวจพบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยได้ให้ความ สำคัญในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในเรื่องต่างๆ ดังนี้ การใช้จ่ายเพื่ออาหารเป็นอันดับสูงสุด ถึง 95% ตามมาด้วย การออกไปทานอาหารนอกบ้านในโอกาสพิเศษถึง 78% ใช้เงินกับซื้อเครื่องไฟฟ้าในบ้าน 78% ใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้า 73% ใช้เงินเพื่อการผ่อนคลาย 73% การท่องเที่ยว 71% ตามลำดับ
มนุษย์ทุกคน ทุกเจน ไม่แบ่งแยกเฉพาะผู้สูงวัย ย่อมอยากให้ตนเองมีสุขภาพดีไปนานๆ โดยสถิติผู้สูงวัย 6 ใน 10 คนทั่วโลก คาดหวังให้ตัวเองมีสุขภาพดี และ มีร่างกายแข็งแรงยามแก่ ส่วนคนสูงอายุชาวไทยมีการเตรียมตัวเพื่อการเป็นคนสูงวัยที่มีคุณภาพ เรียงตามลำดับ ดังนี้
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เก็บออมเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สร้างทักษะกับงานอดิเรกที่สนใจ มีบทบาทในชุมชน พบปะเพื่อนฝูงแล อยู่ในแวดวงเพื่อนที่ดี รักษาความสัมพันธ์อันดีกับหุ้นส่วน ทำกิจกรรมด้านกีฬาเป็นประจำ ดูแลปรับปรุงที่อยู่อาศัย ใช้ วีลแชร์ ด้วยความชำนาญ หาที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับคนสูงอายุ และอีก3% เป็นเรื่องอื่นๆ ในอัตรา 79%, 72%, 59%, 37%, 33%, 30%, 29%, 28%, 22%, 22%, 22%, 22%, 8%, และ 3% ตามลำดับ
รายงานชุด “Getting Older – Our Aging World” นี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนหลัก โดยในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้าย จะเป็นข้อสรุปของประชากรผู้สูงอายุ เป็นคำตอบของความหมาย ข้อเท็จจริง และความคิดในแง่มุมต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งที่ควรทำ โดยสรุปไว้ดังนี้
1. เป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นทุกมิติทั้งในแง่ของมุมมองและแนวโน้ม ที่เกี่ยวกับรูปแบบการพักผ่อน พฤติกรรมเรื่องการเงิน ด้านการเมือง เรืองของแบรนด์ ด้าน สุขภาพ บ้านและครอบครัว การทำงาน เกี่ยวกับสวัสดิการ
2. เป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงเอื้อประโยชน์ให้กับภาคส่วนต่างๆ อาทิ FMCG อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค Healthcare อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ Financial service บริการด้านการเงิน Public Sector ภาครัฐ
COMMENTS