ออนโรบอต บริษัทสัญชาติเดนมาร์ก ผู้นำด้านอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์หรือ End-of-Arm Tooling (EoAT) เพื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ นำเสนอ 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ Digital I/O Converter Kit (ชุดสลับกระแสอินพุต/เอาต์พุตระบบดิจิทัล) และ Quick Changer (เครื่องเปลี่ยนชิ้นส่วนแบบรวดเร็ว) สำหรับติดตั้งร่วมกันบนอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ของออนโรบอต เพื่อสร้างโซลูชั่นการทำงานรวมบนระบบเดียว “One-System Solution” อันโดดเด่นที่ทำให้ระบบอัตโนมัติมีการทำงานที่เรียบง่ายอย่างน่าอัศจรรย์
Digital I/O Converter Kit ของออนโรบอตช่วยให้อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ ทำงานได้ครอบคลุมเต็มประสิทธิภาพในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมน้ำหนักเบาสำหรับการทำงานร่วมกับมนุษย์ และด้วยประสิทธิภาพดังกล่าว ทำให้ผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอตมีอินเตอร์เฟซสั่งงานกลไกและการสื่อสารรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของอุปกรณ์ Quick Changer ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนติดตั้งรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอต และเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ Dual Quick Changer เพิ่มเติม ก็จะสามารถผสานขีดความสามารถใหม่ ๆ และช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์ 2 ตัวได้ในหนึ่งวงจร โดยสามารถผสมและจับคู่ให้เหมาะสมกับความจำเป็นในการทำงาน จึงทำให้ใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันด้วยระบบการทำงานหุ่นยนต์เชิงเดี่ยว แพล็ตฟอร์มเชิงเดี่ยวสำหรับการตั้งโปรแกรมและการฝึกฝน และความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายรายเดียว ทำให้บรรดาผู้ผลิตสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ครอบคลุม ขีดความสามารถของหุ่นยนต์ที่เต็มประสิทธิภาพ และโอกาสอันไร้ข้อจำกัดอย่างแท้จริงของระบบการทำงานร่วมกับมนุษย์ โซลูชั่น One-System Solution รูปแบบใหม่นี้จึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการนำระบบไปใช้งาน เพื่อให้บรรดาผู้ผลิตสามารถประหยัดเวลาและเงิน และตระหนักถึงประโยชน์ของระบบอัตโนมัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
“ผู้ผลิตมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในการใช้งานหุ่นยนต์ของพวกเขา และการติดตั้งอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ก็ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่าสูงสุด” เอนริโก คร็อก ไอเวอร์เซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ออนโรบอต กล่าว “การผสานอุปกรณ์ Quick Changer เข้ากับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเราในปัจจุบัน ทำให้การสลับเครื่องมือและประเภทหุ่นยนต์สามารถทำได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดช่วงเวลาหยุดชะงักของเครื่องจักร เพื่อประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นและการคืนผลตอบแทนจากการลงทุนด้านระบบอัตโนมัติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เราก้าวเข้าใกล้โซลูชั่นระบบการทำงานเชิงเดี่ยวของออนโรบอตไปอีกขั้น ซึ่งทำให้การใช้งานระบบมีความง่ายดาย รวดเร็ว และคุ้มค่ายิ่งขึ้นสำหรับผู้ผลิต เมื่อหันมาติดตั้งระบบการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าพวกเขาจะเลือกใช้หุ่นยนต์รุ่นใดก็ตาม”
การใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
การเปิดตัว One-System Solution ของออนโรบอต เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหมาะสมที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเปิดรับการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่รวดเร็วมากกว่าในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา[1] จากข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์ระหว่างประเทศ (International Federation of Robotics) ระบุว่าประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้ใช้งานหุ่นยนต์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีอัตราความหนาแน่นหุ่นยนต์ 658 ตัวต่อคนงาน 10,000 คน รายงานยังเน้นย้ำด้วยว่า ประเทศไทย แม้จะมีอัตราความหนาแน่นหุ่นยนต์ที่ 48 ตัวต่อคนงาน 10,000 คน แต่มีอัตราการนำหุ่นยนต์มาใช้งานถึง 159%[2] สูงกว่าระดับค่าจ้างที่คาดการณ์ไว้
รายงานฉบับล่าสุดประมาณการณ์ว่า ยอดขายทั่วโลกของอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT จะมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2019 โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.9 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2018 แรงกดดันที่ต่อเนื่องอันเกิดจากระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตและลดต้นทุนการดำเนินงาน กำลังผลักดันให้เกิดความต้องการหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอต) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการมอบประสิทธิภาพการทำงานที่พึงประสงค์ เพื่อตอบโจทย์บทบาทการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของโคบอต
เจมส์ เทย์เลอร์ ผู้จัดการทั่วไป ออนโรบอต ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ความต้องการต่ออุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ในประเทศไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างสมบูรณ์ของเราในภูมิภาคนี้ ก็ได้รับการส่งเสริมผ่านการนำเสนอโซลูชั่น One-System Solution โดยนวัตกรรมอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT รูปแบบใหม่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับวงการอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้บรรดาผู้ผลิต โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถผสานการทำงานระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง”
แพล็ตฟอร์มรวมแบบข้ามอุปกรณ์และครอบคลุมแบรนด์หุ่นยนต์อื่น ๆ
ด้วยการใช้อุปกรณ์ Quick Changer ของออนโรบอต ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอต จะใช้สายเคเบิ้ลเพียงสายเดียวที่มีอินเตอร์เฟซแบบสากลสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องมือและรูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องดึงสายเคเบิ้ลออกเมื่อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ ออปชั่นการสื่อสารเพิ่มเติมยังช่วยสนับสนุนการทำงานของแพล็ตฟอร์มหุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม
สำหรับยูนิเวอร์ซัลโรบอตส์
สำหรับแขนหุ่นยนต์ของยูนิเวอร์ซัลโรบอตส์ ออนโรบอตมีระบบ URCap แบบรวมแล้วในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้เครื่องมือทุกชนิดทำงานร่วมกันได้แม้อยู่ในโปรแกรมเดียว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใช้อุปกรณ์ Dual Quick Changer รูปแบบใหม่ ผู้ผลิตจะสามารถใช้งานตัวจับแบบ 2 ก้านรุ่น RG2 ร่วมกับตัวจับสุญญากาศรุ่น VG10 ได้ในวงจรเดียวกัน จึงใช้งานหุ่นยนต์ยูนิเวอร์ซัลโรบอตส์หนึ่งตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอันเกิดจากโซลูชั่นการตั้งโปรแกรมแบบรวม ซึ่งทำให้การตั้งเวลาบนหุ่นยนต์ยูนิเวอร์ซัลโรบอตส์สามารถทำได้รวดเร็วกว่าที่เคย
โซลูชั่น Fieldbus สำหรับแบรนด์หุ่นยนต์อื่น ๆ
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอตมีแพล็ตฟอร์มการสื่อสารแบบรวมที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายการสื่อสาร fieldbus แบบมาตรฐาน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการตั้งโปรแกรมอุปกรณ์ไม่ว่าจะใช้หุ่นยนต์รุ่นใดก็ตาม และด้วยโปรโตคอลเครือข่ายการสื่อสาร fieldbus แบบใหม่นี้ ผู้ผลิตจึงสามารถตั้งค่าซอฟต์แวร์และใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายผ่านการเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลอีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งสนับสนุนการทำงานในระดับที่ซับซ้อนขึ้นด้วยวิธีการทำงานแบบเสียบปลั๊กและเริ่มผลิตได้ทันทีโดยไม่ต้องต่อสายเคเบิ้ลอื่นเพิ่มเติม ซึ่งระยะเวลาการปรับจูนระบบจะลดลงจาก 3 ชั่วโมงเหลือเพียง 30 นาที ดังนั้น ผู้ผลิตจึงสามารถเพิ่มระบบการทำงานแบบอัตโนมัติและเริ่มทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ระบบ OnRobot WebLogic บน Digital I/O สำหรับหุ่นยนต์ทุกแบบ
สำหรับหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์สลับกระแสอินพุต/เอาต์พุตระบบดิจิทัล โซลูชั่น One-System Solution รูปแบบใหม่ของออนโรบอตจะมีอินเตอร์เฟซ OnRobot WebLogic ด้วยการใช้ IP address ของ OnRobot Compute Box ผู้ผลิตจะสามารถลงทะเบียนผ่านทาง OnRobot WebClient ด้วยสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่เชื่อมต่อเครือข่าย เพื่อตวจสอบหุ่นยนต์หรือสร้างโปรแกรมหุ่นยนต์ที่เรียบง่ายได้ ผู้ผลิตยังสามารถตั้งค่าล่วงหน้าและสร้างโปรแกรมการทำงานที่ซับซ้อนได้ด้วยการใช้ค่าข้อมูลย้อนกลับจากอุปกรณ์ตัวจับและเซ็นเซอร์ของออนโรบอต เพื่อสร้างการควบคุมการทำงานที่ละเอียดยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เครื่องมือของออนโรบอตสามารถใช้งานกับอุปกรณ์แขนหุ่นยนต์แบบต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม และช่วยให้ผู้ผลิตสามารถติดตั้งระบบการทำงานแบบอัตโนมัติและเริ่มทำงานได้อย่างรวดเร็ว
การปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ตัวจับที่ต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า
ออนโรบอตยังปรับปรุงคุณภาพอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ของบริษัทอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการนำเสนอโซลูชั่น One-System Solution รูปแบบใหม่ในการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด โดยตัวจับรุ่น RG2 และ RG6 ได้ถูกออกแบบใหม่ให้แข็งแรง ไวต่อการสัมผัส และติดตั้งง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวจับนี้ยังมาพร้อมกับอุปกรณ์นิรภัย Cat. 3, PLd level ที่ผ่านการรับรองโดย TÜV โดยแผ่นบุของ Gecko Gripper ได้รับการปรับปรุงคุณภาพให้สามารถหยิบจับวัตถุที่มีน้ำหนักได้มากถึง 6.5 กิโลกรัม โดยขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุ
COMMENTS