หัวเว่ยเปิดเผยรายงานประจำปี พ.ศ. 2562 ด้วยผลประกอบการอันแข็งแกร่ง โดยยอดขายทั่วโลกของบริษัท ในปี พ.ศ. 2562 มีมูลค่า 858.8 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 19.1% โดยหัวเว่ยยังคงยืนหยัดการเติบโตอย่างมั่นคงในตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ ด้วยผลสำเร็จของยอดขายทั่วโลกถึง 89.7 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 8.6% ซึ่งกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตโดยรวมของบริษัท
ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้รับเลือกเป็นพาร์ทเนอร์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นกว่า 700 เมือง และ 228 บริษัทจาก 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ยังมีพาร์ทเนอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่า 28,000 รายทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของยอดขายในระดับโลกของกลุ่มธุรกิจนี้ถึง 86% และด้วยระบบเครือข่ายพาร์ทเนอร์ทั่วโลกนี้ หัวเว่ยสามารถสร้างอีโคซิสเต็มที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งสร้างมูลค่าโดยรวมให้แก่ลูกค้าและอุตสาหกรรม
ในขณะเดียวกันธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีไอซีทีใหม่ๆ เช่น 5G, AI และ Cloud หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีร่วมกันได้อย่างเต็มพิกัด เพื่อเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่ผลิตภัณฑ์ การปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่ดิจิทัล และการพัฒนาอย่างชาญฉาด นอกจากนี้ หลักการ “การผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน” ก็ถูกนำมาใช้ในธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์อย่างลงตัว ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ผ่านนโยบายด้านพาร์ทเนอร์ที่มีความเป็นกลาง ยุติธรรม โปร่งใสและเรียบง่าย
ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีนวัตกรรมสำหรับตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ด้วยเทคโนโลยี 5G, Cloud และ AI ชั้นนำ
ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากการทำงานประสานกันระหว่าง Cloud, AI และ 5G เพื่อให้บริการคลาวด์แก่สาธารณชน รวมถึงโซลูชันของคลาวด์รูปแบบผสมผสานที่เสถียร เชื่อถือได้ และยั่งยืน HUAWEI CLOUD ได้เปิดตัวบริการคลาวด์มากกว่า 200 รูปแบบและโซลูชันอีกกว่า 190 รูปแบบ ในขณะที่มีผู้ใช้งานในระดับองค์กรและนักพัฒนาถึงมากกว่าสามล้านคนที่ใช้ HUAWEI CLOUD เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันของพวกเขาอยู่ในขณะนี้
หัวเว่ยยังได้เปิดตัว หัวเว่ย ฮอไรซอน ดิจิทัล แพลตฟอร์ม (Huawei Horizon Digital Platform) โดยมีเทคโนโลยีคลาวด์เป็นรากฐาน ด้วยการผสานกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ที่ประกอบด้วย IoT, AI, Big Data, วิดีโอ, การสื่อสารแบบรวมศูนย์ และ GIS เพื่อสร้างพื้นฐานสำหรับโลกดิจิทัลในอนาคต ทั้งนี้ ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาดอิสระอย่าง Dell’Oro ระบุว่า หัวเว่ยครองอันดับ 1 ด้านการให้บริการ Wi-Fi ในระดับโลก และครองอันดับ 6 ของโลกสำหรับตลาด AP ส่วนภายในอาคาร ซึ่งยกเว้นตลาด อเมริกาเหนือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 โดยเป็นการพิจารณาจากคุณภาพการให้บริการลูกค้าจากหลากหลายภาคส่วน เช่น การศึกษา ค้าปลีก การดูแลสุขภาพ และการผลิต
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยยังได้เปิดตัว CloudEngine 16800 สวิตช์สำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center Switch) ตัวแรกของอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับยุค AI ซึ่งได้นำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ในศูนย์ข้อมูลขององค์กรมากกว่า 150 แห่งทั่วโลก OptiXs ทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ OptiXtrans, OptiXaccess และ OptiXstar ซึ่งถูกนำไปใช้ในกว่า 3,800 บริษัทใน 158 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ จากรายงานของการ์ทเนอร์ซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ระบุว่าผลิตภัณฑ์การเก็บข้อมูลของหัวเว่ยขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำในส่วนของ Magic Quadrant หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชันเรือธงสำหรับตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ ได้แก่ HiCampus และ HiDC โดยอิงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยผ่าน 5G, การส่งสัญญาณผ่านเส้นใยแก้วนำแสง, เครือข่าย IP และเทคโนโลยี AI ที่ได้มีการพัฒนาร่วมกันในกลุ่มเทคโนโลยีต่าง ๆ
การสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มองค์กรในด้านสร้างดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและเร่งการพัฒนาในภาคส่วนต่าง ๆ
หัวเว่ยมีประสบการณ์มากมายในการสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์เพื่อนำไปสู่ดิจิทัลในด้านต่างๆ เช่น สมาร์ทซิตี้, แคมปัส, การขนส่ง, พลังงาน, การผลิต และการศึกษา โดยหัวเว่ยได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลกในการเปิดตัวนวัตกรรมโซลูชันใหม่ๆ และรูปแบบธุรกิจต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่
ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้ร่วมกับผู้ให้บริการมากกว่า 4,200 ราย ซึ่งให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 50,000 รายทั่วโลก และยังเข้าร่วมโครงการสมาร์ทซิตี้ในกว่า 200 เมืองใน 40 ประเทศและภูมิภาค รวมถึงช่วยเหลือสถาบันการเงินมากกว่า 1,000 แห่ง ด้วยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในส่วนของการลงทุนเพื่อขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และการให้บริการทางการเงิน, นวัตกรรมการให้บริการที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน และบริการทางการเงินผ่าน API ในรูปแบบ Open banking หัวเว่ยให้บริการในบริเวณตลอดเส้นทางรถไฟ 170 สายในเมือง 70 เมืองทั่วโลก และมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบขนส่งแบบผสมผสานสำหรับเมืองใหญ่ระดับโลก จากประสบการณ์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของตนเอง หัวเว่ยได้พัฒนาแคมปัสอัจฉริยะให้ลูกค้ามากกว่า 300 ราย ด้วยเทคโนโลยีไอซีทีที่ล้ำสมัย หัวเว่ยยังได้สนับสนุนหลายภาคส่วน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคพลังงานในการปรับโฉมการผลิตและห่วงโซ่มูลค่าพร้อมกับการเพิ่มศักยภาพระบบอัจฉริยะให้กับบริษัทนั้นๆ
ส่งเสริมศักยภาพพาร์ทเนอร์เอ็นเตอร์ไพรส์และการสร้างอีโคซิสเต็มที่อุดมสมบูรณ์
หัวเว่ยได้ก่อตั้ง OpenLabs ขึ้น 13 แห่งทั่วโลกเพื่อมุ่งเน้นที่ตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ กลุ่มพาร์ทเนอร์จะได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาโซลูชัน, การตลาด, การส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถ, การคลัง, เครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน และระบบ IT ร่วมกันใน OpenLabs เหล่านี้ เพื่อปรับปรุงศักยภาพอย่างต่อเนื่องและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จที่มีร่วมกัน ด้วยความตั้งใจและทุ่มเทที่จะแบ่งปันประสบการณ์ เทคโนโลยี รวมถึงมาตรฐานการส่งเสริมทักษะ โดยหัวเว่ยได้ร่วมงานกับหน่วยงานทางการศึกษาจำนวนมาก มหาวิทยาลัยต่างๆ และผู้มีส่วนร่วมในอีโคซิสเต็มจากทั่วโลกในการสร้างอีโคซิสเต็มแบบเปิดและเป็นที่นิยม เพื่อที่จะฝึกฝนบุคลากรด้านไอซีทีและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรม
ในอนาคต แอปพลิเคชันที่มีการผสมผสานของ 5G, Cloud และ AI จะพาเราไปสู่โลกใบใหม่ที่ทุกอย่างสามารถเข้าใจกัน เชื่อมต่อถึงกัน และปฏิบัติการอย่างชาญฉลาด หัวเว่ยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้นวัตกรรมที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีเหล่านี้และจัดหาโซลูชันเพื่อเติมเต็มความต้องการต่างๆ ของลูกค้า โซลูชันเหล่านี้จะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ต่างกันออกไปด้วยความชาญฉลาดและจะช่วยเหลือลูกค้าในการปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อพัฒนาศักยภาพที่มากขึ้นได้
หลักฐานทางการเงินทั้งหมดในรายงานประจำปี ปีพ.ศ. 2562 ได้รับการตรวจสอบโดยบริษัท KPMG ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Big Four ทางการบัญชีระดับนานาชาติ สำหรับรายงานประจำปี ปี พ.ศ. 2562 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.huawei.com/en/press-events/annual-report/2019
COMMENTS