nexttopbrand.com สื่อด้านเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมือง เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 เพื่อใช้แทนที่ next.in.th ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปลายปี 2554 หลังรีแบรนด์ใหม่เป็น nexttopbrand พบว่ามีการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีปัญหาทางเทคนิคอีกเลย เนื่องจากเก็บข้อมูลทั้งหมดบน Cloud ของ Google โดยตรง ด้วยความเชี่ยวชาญของ Google จึงไว้ใจได้มากกว่า Web Hosting ในไทย และได้รับผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าทันทีที่เปลี่ยนมาใช้ nexttopbrand
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2563 รายได้อยู่ที่ 0 บาท มีผลงานรีวิวในช่วงท้ายไตรมาสแรก แต่ไม่สามารถสร้างรายได้ได้ตามเป้า อย่างไรก็ตามมี Backlog ที่จะได้ในช่วงไตรมาสที่สอง ส่วนแบนเนอร์โฆษณากับบทความ Advertorial ยังไม่มีในไตรมาสแรกนี้
สำหรับในอีก 3 ไตรมาสที่เหลือนั้น มีการตอบรับที่ดีจากแบรนด์สมาร์ทโฟนรายหนึ่ง ที่ตัดสินใจให้ nexttopbrand ทำบทความ Advertorial จึงมีความหวังว่าในปี 2563 นี้ จะสามารถทำรายได้ได้มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2554 ที่ next.in.th จนถึงปัจจุบันที่ nexttopbrand
หากดูเฉพาะ nexttopbrand นั้น ในปี 2561 เป็นปีแรกที่ก่อตั้ง ทำรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 17,000 บาท ส่วนปี 2562 ทำรายได้น้อยลงอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเวลา ทำให้ต้องปฏิเสธงาน Advertorial ไปหลายชิ้นจากลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคม
โดยในปี 2563 ตั้งเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 50,000 บาท แม้ว่าโรคระบาด COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของ nexttopbrand ไม่มากนัก แต่การยกเลิก Event ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีผลต่อตัวเลขรายรับรายจ่ายการดำเนินการในการทำข่าวอยู่ไม่น้อย
สำหรับสื่อสายยานยนต์อย่าง beyonddrive.com ในเครือเดียวกัน ซึ่งเปิดตัวในช่วงงาน Motor Expo 2018 ที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถสร้างรายได้ได้เลยตลอดปี 2562 แต่ในปี 2563 มี Backlog ในช่วงกลางปีนี้ ที่ถือเป็นรายได้ก้อนแรกของเว็บ และจะพยายามรักษาลูกค้าให้ได้ต่อเนื่องทุกปี แม้ว่าจะยังไม่มีการตั้งเป้ารายได้ในระยะแรก แต่เน้นตั้งเป้าการทำ Content ประเภทรีวิวทดสอบขับให้ต่อเนื่องทุกเดือน
ส่วนหมวดหมู่ Content ที่โฟกัสในปี 2563 ยังคงเน้นเรื่องเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งด้านยานยนต์, สมาร์ทโฟน, Gadget, ที่อยู่อาศัย และไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมืองทันสมัยที่ต้องอยู่กับเทคโนโลยีสุดล้ำในทุก ๆ วันตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน
แนวโน้มการทำ Content หลังจากนี้ จะมีการลงทุนเครื่องมือหลายชิ้นเพื่อจัดทำ Content ประเภทวิดีโอมากขึ้น ลดบทความประเภท Text ที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากเกินไป แต่รูปแบบ Video กลับได้รับการตอบรับที่ดีกว่าจากผู้รับชม
แม้ว่าการดำเนินธุรกิจสื่อ ยังขาดทุนทุกปี แต่ก็ยังสู้ต่อไปตามกำลังที่มี และไม่คิดแข่งขันกับสื่อรายใหญ่
COMMENTS