รายงานฉบับล่าสุดของแคสเปอร์สกี้เรื่อง More Connected Than Ever Before: How We Build Our Digital Comfort Zones แสดงให้เห็นว่า ‘การรักษาความปลอดภัยออนไลน์’ ติดอันดับปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับยูสเซอร์รุ่นมิลเลนเนียล (Millennial / Gen M) ที่ต้องการค้นหาพื้นที่ความสะดวกสบายทางดิจิทัลที่บ้าน หรือ ‘Digital Comfort Zone’ ทั้งที่ผู้เข้าสำรวจจำนวนมากกว่าหนึ่งในสาม (37%) คิดว่าตัวเองเป็นยูสเซอร์ที่น่าเบื่อเกินกว่าจะตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์
รายงานของแคสเปอร์สกี้เป็นการสำรวจว่ายูสเซอร์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร เพื่อสร้างความพอใจกับบทบาทของเทคโนโลยีต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลตั้งใจจะเพิ่มความปลอดภัยออนไลน์ แต่การกระทำกลับแตกต่างออกไป โดยชาวมิลเลนเนียลจำนวนมากคิดว่าตัวเองน่าเบื่อเกินไปสำหรับอาชญากรไซเบอร์ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 36% กล่าวว่า ตนเองควรเสริมความปลอดภัยทางดิจิทัลมากกว่านี้ แต่กลับตกลงไปอยู่ท้ายสุดของสิ่งที่ต้องทำ
ในขณะที่ “เรื่องปกติใหม่” (New Normal) บังคับให้หลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน บ้านจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีสำหรับคนรุ่นมิลเลนเนียล และใช้เวลาออนไลน์เพิ่มอีกเกือบสองชั่วโมงต่อวัน (1.8) เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ยรายวันสูงถึง 7.1 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) กล่าวว่าเวลาออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางดิจิทัลมากขึ้น คนรุ่นมิลเลนเนียลใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดีย แต่เกือบ 2 ใน 3 (61%) กล่าวว่าการหาคู่ออนไลน์จากที่บ้านเพิ่มขึ้นเป็นความกังวลอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยดิจิทัล
เพื่อจัดการกับข้อกังวลเหล่านี้ คนรุ่นมิลเลนเนียลเกือบครึ่งหนึ่ง (52%) บอกว่าได้ใช้งานเฉพาะแอปที่น่าเชื่อถือจากร้านค้าอย่างเป็นทางการเช่น Apple Store และ Google Play และ 49% ทำการสแกนแอนตี้ไวรัสเป็นประจำในอุปกรณ์แต่ละเครื่องเพื่อป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตามกระแสซุกซนยังปรากฏในคนรุ่นมิลเลนเนียล 13% ที่ยอมรับว่าใช้ Wi-Fi ของเพื่อนบ้านโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว
แอนดรูว์ วินตัน รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัทแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ปี 2020 เป็นปีสำหรับบ้านดิจิทัลอย่างแท้จริง ด้วยคนทั่วโลกที่ต้องอยู่ในช่วงล็อกดาวน์ การใช้งานและพึ่งพาเทคโนโลยีได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องการทำการศึกษาที่จะเผยให้เห็นว่าปีนี้ส่งผลกระทบต่อการกระทำและความรู้สึกของเรามากแค่ไหนในชีวิตดิจิทัลของเรา Digital Comfort Zone ของเราคืออะไร และตอนนี้มีความหมายกับเราอย่างไร ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นมิลเลนเนียลซึ่งจะเป็นผู้กำหนดวิธีการที่สังคมใช้เทคโนโลยีในอีกหลายปีข้างหน้า จะให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเส้นแบ่งระหว่างที่ทำงานและที่บ้านจางลงเรื่อยๆ การป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางดิจิทัลสามารถทำได้ง่ายๆ และช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเราจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยภายในโซนความสะดวกสบายดิจิทัลของแต่ละบุคคลได้อย่างไร”
ดร. เบอร์ต้า อัซนาร์ มาร์ติเนซ นักจิตวิทยาชั้นนำ มหาวิทยาลัย Ramon Llull เมืองบาร์เซโลน่า กล่าวว่า “กล่าวกันว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มคนยุคดิจิทัล และอาจนำไปสู่ความท้าทายอื่นๆ ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ค้นหา ‘พื้นที่ความสะดวกสบายทางดิจิทัล’ ของตนเอง ยูสเซอร์หลายคนพักร่วมกับเพื่อนร่วมห้องซึ่งทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งแนวโน้มในการย้ายบ้านและที่ทำงานอาจทำให้รู้สึกแย่ลงไปอีก ในกรณีนี้สิ่งสำคัญคือต้องพูดคุยถึงความกังวลต่างๆ และสื่อสารอย่างเปิดเผยกับเพื่อนร่วมห้อง เช่น การแบ่งปันค่าใช้จ่ายของซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย การกำหนดกฎที่ชัดเจนสำหรับการใช้อุปกรณ์ทั่วไป และการทำความรู้จักกันให้ดีขึ้น”
แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำคนรุ่นมิลเลนเนียล เพื่อปกป้องอุปกรณ์และข้อมูลส่วนบุคคลการบนอินเทอร์เน็ต ดังนี้
● ใส่ใจกับความถูกต้องของเว็บไซต์ อย่าเข้าชมเว็บไซต์จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าถูกต้องและเริ่มต้นด้วย "https" ลองค้นหาความเห็นของไซต์ที่ดูน่าสงสัย
● ทำรายชื่อบัญชีออนไลน์เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าบริการและเว็บไซต์ใดบ้างที่อาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
● บล็อกการติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จักในการตั้งค่าสมาร์ทโฟน และติดตั้งเฉพาะแอปจากร้านค้าแอปอย่างเป็นทางการเท่านั้น
● เริ่มใช้ “Privacy Checker” เพื่อสร้างโปรไฟล์โซเชียลมีเดียให้เป็นส่วนตัวมากขึ้น จะทำให้บุคคลภายนอกค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลสูงได้ยากขึ้น
● ใช้ Kaspersky Security Cloud ที่มีคุณสมบัติการตรวจสอบเครือข่ายในบ้าน สามารถส่งการแจ้งเตือนและคำเตือนไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดในบ้านที่มีความเสี่ยงและตรวจจับผู้บุกรุก Wi-Fi ได้ทันที
ข้อมูลเพิ่มเติม: รายงานเรื่อง More Connected Than Ever Before: How We Build Our Digital Comfort Zones https://www.kaspersky.com/blog/digital-comfort-zone-report/
COMMENTS