--> Kaspersky เผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลย Cybersecurity บนอุปกรณ์ของตัวเอง | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลย Cybersecurity บนอุปกรณ์ของตัวเอง

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 อาจหยุดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ แต่ชีวิตมนุษย์จำนวนมากยังคงดำเนินต่อไปและเปลี่ยนจากโลกจริงไปสู่โลกเสมือนจริง การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้เรื่อง “More connected than ever before: how we build our digital comfort zones” แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวน 6 ใน 10 คนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ตระหนักถึงเวลาออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม พบความล้มเหลวในการจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากผู้ใช้งาน 38% ยอมรับว่าชีวิตที่วุ่นวายในการล็อกดาวน์ทำให้ความปลอดภัยหล่นไปอยู่ลำดับท้ายๆ ของรายการที่ต้องทำ

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “การศึกษาใหม่ของเราแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้เวลาออนไลน์ระหว่าง 5 ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บที่อายุน้อยและมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ ความแตกต่างในช่วงเวลานี้คือกิจกรรมออนไลน์ที่เรากำลังทำในบ้าน ตั้งแต่การประชุม การช็อปปิ้ง การทำธุรกรรมทางการเงิน การเรียนออนไลน์ การสื่อสารทางสังคมและอื่นๆ ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นว่าเทคโนโลยีเครื่องมือมีประโยชน์เพียงใด แต่ก็ควรทำให้เราได้คิดใหม่ว่าเรารักษาความปลอดภัยเครือข่ายในบ้านให้พ้นจากภัยคุกคามออนไลน์ได้อย่างไร”

จากรายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ กิจกรรมที่พบมากที่สุด 5 อันดับใน SEA ได้เปลี่ยนจากการใช้งานจริงมาสู่โลกออนไลน์ คือการช็อปปิ้ง (64%) เนื้อหาสตรีมมิ่งและการเล่นเกมออนไลน์ (58%) การสังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง (56%) ดำเนินการเรื่องการเงิน (47%) และเข้าร่วมบทเรียนออนไลน์ (39%)

การทำกิจกรรมเหล่านี้ในช่วงเวลาที่มีการล็อกดาวน์เป็นเรื่องสะดวก แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (81%) มีความกังวลเกี่ยวกับการออกเดททางออนไลน์แทนการพบปะทางกายภาพ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าคนโสดในภูมิภาคนี้ยังคงต้องการพบปะที่มีศักยภาพแบบตัวต่อตัว

ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 69% กังวลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์และ 62% รู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องประชุมงานเสมือนจริง ผู้ตอบแบบสอบถาม 6 ใน 10 คนยังกำลังเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายออนไลน์และการสังสรรค์กับเพื่อนและครอบครัว (54%)

เมื่อถามถึงระดับความกังวล ผู้ตอบแบบสอบถาม 42% ยอมรับว่ากลัวว่าจะมีคนเข้าถึงรายละเอียดทางการเงินผ่านอุปกรณ์ของตน บางส่วน (37%) กังวลว่าบุคคลภายนอกจะสามารถเข้าถึงเอกสารส่วนตัวได้ ในขณะที่อีก 35% กังวลว่ามีคนควบคุมอุปกรณ์ของตนผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัย

สปายแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของดีไวซ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แบบเดิม หรือแอปพลิเคชันในเว็บเบราว์เซอร์ หรือแอปพลิเคชันมือถือที่อยู่ในดีไวซ์ ซึ่งสปายแวร์ทำให้เกิดความกังวลสำหรับผู้ใช้ออนไลน์ 3 ใน 10 ราย  ในขณะที่อีก 30% เริ่มระวังหน่วยงาน เว็บไซต์ หรือบุคคลที่สามารถติดตามตำแหน่งของตนได้

“ความกังวลที่พบในการวิจัยนี้พิสูจน์แล้วว่า สังคมมีการตระหนักรู้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตที่โหดร้าย อย่างไรก็ตามการศึกษาเดียวกันนี้ยังแสดงให้เราเห็นว่ายังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 37% ในภูมิภาคนี้ที่คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยง เพราะคิดว่ามีคนอื่นที่น่าสนใจน่าเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์มากกว่า ความคิดนี้ต้องยุติลง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการป้องกันสำหรับชีวิตดิจิทัลของเรา และเพื่อให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของเรา” นายโยวกล่าวเสริม

ขณะที่มีผู้ใช้มากขึ้นที่หันมาพึ่งพาใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ชีวิตคงความปกติเอาไว้ให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลาเช่นนี้ แคสเปอร์สกี้ขอเสนอคำแนะนำบางประการที่สามารถช่วยให้ชีวิตออนไลน์ปลอดภัยขึ้นได้ ดังนี้

ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ และอย่าแชร์ หรืออนุญาตให้ใครมาใช้แอคเซสเข้าข้อมูลของเราที่เก็บไว้กับเธิร์ดปาร์ตี้ เว้นแต่จำเป็นถึงขีดสุดจริงๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่แอคเซสจะอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี

เริ่มใช้ “Privacy Checker” ช่วยในการตั้งค่าโปรไฟล์โซเชียลมีเดียให้เป็นส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ยากขึ้นที่จะมาล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวสำคัญของเราไปได้

ใช้ซีเคียวริตี้โซลูชั่นที่ไว้วางใจได้เช่น Kaspersky Password Manager เพื่อสร้างและป้องกันรหัสผ่านที่ควรมีลักษณะพิเศษจำเพาะสำหรับใช้กับแต่ละบัญชีออนไลน์ และจะได้ลดการกลับมาใช้รหัสผ่านซ้ำของเดิมไปเรื่อยๆ 

ใช้ทูล เช่น Kaspersky Security Cloud เพื่อตรวจสอบว่ารหัสผ่านที่ใช้งานอยู่นั้นยังปลอดภัยดีหรือไม่ ยูสเซอร์สามารถใช้ฟีเจอร์ Account Check ตรวจสอบว่าบัญชีที่ใช้นั้นมีแนวโน้มข้อมูลรั่วไหลหรือไม่ ถ้าตรวจพบการรั่วไหล Kaspersky Security Cloud จะแจ้งประเภทของข้อมูลที่มีแนวโน้มจะเป็นช่องโหว่ เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ป้องกันหรือตัดการด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อไป

การทำงานจากบ้าน (work-from-home) กลายมาเป็นนโยบายที่ใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศทั่วภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเอ็นเทอร์ไพรซ์ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:

สำหรับธุรกิจ ก็ให้อบรมพนักงานเกี่ยวกับพท้นฐานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เช่น อย่าเปิดหรือเก็บไฟล์จากอีเมลที่ไม่รู้จักคนส่ง หรือเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีอันตรายต่อทั้งองค์กร หรืออย่าตั้งรหัสผ่านโดยใช้ข้อมูลส่วนตัว 

เพื่อให้แน่ใจว่ารหัสผ่านมีความเข้มแข็งจริงๆ พนักงานไม่ควรใช้ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวมาตั้งเป็นรหัสผ่าน

คอยกระตุ้นเตือนพนักงานถึงวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการดูแลข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ต้องเก็บข้อมูลบนคลาวด์เซอร์วิสที่วางใจได้เท่านั้น ที่ใช้วิธีการตรวจสอบการผู้ใช้ก่อนแอคเซสข้อมูล และไม่ควรแชร์ข้อมูลเช่นนี้กับใครใดๆ ก็ตาม 

เอ็นเทอร์ไพรซ์ที่ใช้โซลูชั่นจากแคสเปอร์สกี้สามารถที่จะเลือกใช้โปรแกรม Employee Purchase Program เพื่อสนับสนุนพนักงานของตนในการป้องกันดิไวซ์อุปกรณ์ใช้งานของพวกเขาได้อีกระดับ https://www.thaikaspersky.com/EDP/ 

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,789,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1201,Motorbike,34,PR News,342,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลย Cybersecurity บนอุปกรณ์ของตัวเอง
Kaspersky เผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลย Cybersecurity บนอุปกรณ์ของตัวเอง
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhPywPxtEgyjGqZkCBr_ZC_61q58IOZTTwdhkTYbj8uX-Ojx21BcHJEBertOI0h7D3nkWzmX3kdS5bqXSEGsPqc704J9-rhnDWms9oczDZ2zHfyhQaYqJ62nzOJUvrbh4hcJw4cDY4ujvc/s16000/kaspersky+online-users.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhPywPxtEgyjGqZkCBr_ZC_61q58IOZTTwdhkTYbj8uX-Ojx21BcHJEBertOI0h7D3nkWzmX3kdS5bqXSEGsPqc704J9-rhnDWms9oczDZ2zHfyhQaYqJ62nzOJUvrbh4hcJw4cDY4ujvc/s72-c/kaspersky+online-users.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2020/09/kaspersky-38-cybersecurity.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2020/09/kaspersky-38-cybersecurity.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy