--> Kaspersky แนะเคล็ดลับดูแลบุตรหลานป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์ ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น Influencer / Blogger | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky แนะเคล็ดลับดูแลบุตรหลานป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์ ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น Influencer / Blogger

ผลสำรวจพบผู้ปกครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 52% ไว้ใจปล่อยลูกหลานป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั้งผู้ปกครองและบุตรหลานพากันไปใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น การศึกษาวิจัยล่าสุดโดยแคสเปอร์สกี้พบอัตราการเพิ่มจำนวนชั่วโมงออนไลน์นับได้ถึงสองชั่วโมงต่อวัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าผู้ปกครองในภูมิภาคคิดเป็น 63% เห็นด้วยว่าลูกหลานของตนกำลังหันมาใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยเร่ง เช่น คลาสออนไลน์ การสอนเวอร์ช่วล อีเกมมิ่ง และช่องทางความบันเทิงต่างๆ เพื่อหลีกหนีความน่าเบื่อหน่าย

แม้แต่ก่อนช่วงล็อคดาวน์ เด็กๆ ก็รู้จักเทรนด์ยอดฮิตของ “influencers” ตามอินเทอร์เน็ตกันมาแล้ว ที่จริงการสำรวจโดย Morning Consult เมื่อปี 2019 เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวนมากถึง 86% ช่วงอายุ 13 ถึง 38 ปีใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลทางอินเทอร์เน็ต (influencer) มีความเป็นไปได้ที่ตอนนี้ตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้แล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีผู้มาคอยติดตามชมทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แต่การจะฟูมฟักหรือก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งดาวของ Youtube หรือ Instagram นั้นต้องใช้อะไรกันบ้างล่ะ

งานวิจัยแคสเปอร์สกี้ ชื่อ “More Connected Than Ever Before: How We Build Our Digital Comfort Zones” สำรวจความคิดเห็นจากผู้ปกครอง 760 รายในภูมิภาค SEA พบว่าผู้ปกครองมากกว่าครึ่งหนึ่ง (52%) ไว้ใจลูกของตนว่าจะรู้วิธีดูแลตนเองให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ มีเพียง 27% เท่านั้นที่เห็นต่าง ขณะที่ 16% ยังไม่แน่ใจเท่าไร

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เด็กกำลังเติบโตขึ้นท่ามกลางโลกที่ทุกคนเชื่อมโยงกัน คนแปลกหน้าจากอีกประเทศก็สามารถข้ามมากดไลค์รูปภาพหรือคลิปวิดีโอได้อย่างรวดเร็ว สามารถเขียนคอมเม้นท์ หรือบางทีล่าเหยื่อที่ตามเกมไม่ทันได้ทางโลกออนไลน์ จากรูปการณ์นี้ ผู้ปกครองจำเป็นต้องคอยปกป้อง ให้คำแนะนำแก่เด็กๆ การที่เราคิดเอาเองว่าพวกเขามีความสามารถที่จะป้องกันตนเองได้นั้น เป็นเรื่องน่าวิตกเป็นที่สุด เหมือนกับปล่อยให้เด็กนั่งรถสาธารณะไปไหนต่อไหนเองโดยไม่รู้เหนือรู้ใต้ เป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง” 

และเสริมว่า “ไม่ผิดหรอก ถ้าเด็กฝันอยากจะเป็นบล็อกเกอร์หรืออินฟลูเอ็นเซอร์ ก็เหมือนกับที่รุ่นก่อนๆ ฝันอยากเป็นนักร้องดาราดัง แต่ที่สำคัญคือต้องสนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำลูกหลานไปด้วยกัน สอนให้เขามีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความผิดหวัง ฝึกให้เรียนรู้สมดุลหน้าที่การเรียนและกิจกรรมโลกออนไลน์ ที่สำคัญ คือ สอนให้รู้จักใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และฝึกพฤติกรรมที่จะนำทางให้เขาปลอดภัยเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์” 

วิธีการช่วยประคับประคองเด็กๆ บนเส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ยอดนิยม

ทุกวันนี้มีเด็กหลายคนที่ฝันอยากโด่งดัง อยากเป็นคนดังโดยและใช้บัญชีส่วนตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นวิธีการที่อันตรายต่อความปลอดภัยส่วนบุคคลของเด็กคนนั้นเองเป็นอย่างยิ่ง 

ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็กจะอยากที่จะทำตัวคุ้นเคยอยากรู้จักคนที่เข้ามา ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกล่อลวง 

เด็ก ๆ มักแชร์ข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนในบัญชีออนไลน์ 

บัญชีดังกล่าวจะดึงดูดพวกที่ก่อความวุ่นวาย / ป่วน / เกรียนตามอินเทอร์เน็ต (internet trolls) มาคอมเม้นท์กลั่นแกล้ง ให้ร้ายระราน อาจกระทบกระเทือนจิตใจ เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา

หากคุณเข้าใจตรงจุดนี้ ก่อนอื่นคุณต้องยอมรับก่อนว่าบัญชีโซเชียลมีเดียของเด็กย่อมจะกลายเป็นบัญชีสาธารณะ เปิดกว้างต่อผู้คนมากหน้าหลายตา คุณจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับสิ่งกระทบที่จะเข้ามา และต้องช่วยประคับประคองลูกหลานของคุณให้อยู่ในโลกโซเชียลตรงนี้ได้อย่างปลอดภัย 

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่น่าจะเป็นประโยชน์บางประการเพื่อผู้ปกครองพิจารณา

1. จงจำไว้ว่าโซเชียลมีเดียคือเส้นทางสื่อสารในโลกของเด็กๆ กับกลุ่มเพื่อนของเขา อย่าได้เปลี่ยนสถานะจากส่วนตัว มาเป็นสาธารณะ ควรปล่อยให้เขาได้มีช่องทางส่วนตัวที่คนแปลกหน้าหรือพวกเกรียนคีย์บอร์ดไม่สามารถเข้าไปรบกวนจิตใจเขาได้ บัญชีส่วนตัวควรต้องเป็นโลกโซเชียลสำหรับเขากับเพื่อน ญาติสนิท ครูอาจารย์ คนที่มีความสำคัญต่อเด็กในชีวิตจริงเท่านั้น

2. ผู้ปกครองควรที่จะย้ำเตือนความจริงเรื่องการไขว่คว้าหาชื่อเสียง อยากเป็นบล็อกเกอร์ เน็ตไอดอล การลงทุนลงแรงลงเวลาไปกับงานนี้มากแต่อาจไม่ได้ผลตามที่ตั้งหวังก็เป็นได้ และสิ่งที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ตก็จะคงล่องลอยอยู่บนนั้นไปอีกแสนนาน รวมทั้งคำพูด คำวิจารณ์ของผู้คนที่มีแต่สร้างความรันทด ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามล้อเลียนก็สามารถจะย้อนมาก่อปัญหาให้เราได้ในอนาคต เช่น ตอนสมัครงานที่จะต้องอธิบายถึงเรื่องที่ยังคงค้างและพบบนอินเทอร์เน็ต หรืออาจก่อปัญหาให้เวลาสมัครเรียนต่อก็เป็นได้ ดังนั้น จงอธิบายชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของตัวเขา ก่อนที่เขาหรือเธอจะแสดงออกโดยไม่กลั่นกรองเพียงเพื่อเรียกความสนใจ เด็กๆ ควรใคร่ครวญให้ดีถึงวิธีการแสดงออกถึงความเป็นตัวตน โดยคำนึงถึงผลที่จะตามมาวันพรุ่งนี้หรือวันข้างหน้า

3. สร้างบัญชี (account) สำหรับสาธารณะด้วยกันกับลูกหลานของคุณ อย่าปล่อยข้อมูลอ่อนไหวหรือเรื่องส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เลขประตัวนักเรียน เบอร์โทร สถานที่เที่ยวที่ไปบ่อย ลิ้งก์ไปเพจของคนในครอบครัว เพราะข้อมูลเหล่านี้จะเกิดความเสี่ยงอย่างมากในวันที่เขากลายเป็นคนดังขึ้นมา อาจมีคนมาขุดคุ้ยข้อมูลเพื่อใช้ก่อความเดือดร้อนระรานให้แก่ตัวเด็ก / ครอบครัว / เพื่อนก็เป็นได้ สอนให้ลูกหลานของคุณโพสต์ข้อมูลอย่างรู้ตัว รู้ทัน รู้ว่าสิ่งใดควรแชร์กับคนทั้งโลกหรือสิ่งใดควรเป็นเรื่องส่วนตัว

4. อธิบายให้เด็กรู้จัก cyber-stalking หรือ การสะกดรอยตาม / เกาะติดทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบการระรานทางออนไลน์ ที่กลายมาเป็นการข่มเหงทางกายภาพในโลกจริงได้เช่นกัน พวกนี้ไม่ใช่พวกเกรียนคีย์บอร์ด (trolls) ซึ่งมาแนวกัดแทะดูถูกพูดจาให้ร้าย แต่พวกสะกดรอยไซเบอร์นี้จะมองหาช่องทางสื่อสารให้ได้ใกล้ชิดมากขึ้นกว่าธรรมดา อาจนำไปสู่การพบปะทางกายภาพ เป็นแนวเดียวกับพวกคลั่งดารา คนดังที่ติดตามชีวิตไอดอลของตน เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้กับบล็อกเกอร์ เน็ตไอเดอลคนดัง และจงจำไว้ว่าห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลเกี่ยวกับตัวตน กับคนแปลกหน้าที่พบบนบัญชีออนไลน์สาธารณะโดยเด็ดขาด แม้ว่าจะพูดคุยเหมือนรู้จักกันมาเป็นเวลานานก็ตาม

5. บัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกบัญชีควรมีการเซ็ตอัพระบบความปลอดภัยเอาไว้ เพราะเมื่อกลายมาเป็นคนสาธารณะ ชีวิตโซเชียลเน็ตเวิร์กส่วนหนึ่งจะกลายมาเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต รวมทั้งเวลา / เรื่องราวที่เกิดขึ้น / ข้อมูลแต่ละวัน ก็เป็นที่สนใจ ในอีกทางหนึ่ง ก็จะมีคนที่สนใจคุณอยู่เหมือนกัน แต่คนพวกนี้สนใจเพื่อแฮกเจาะเข้าบัญชีของคุณอย่างผิดกฎหมายโดยที่คุณไม่ยินยอมด้วย ดังนั้น เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมยูสเซอร์เนม / รหัสผ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อเด็กๆ ที่จะระมัดระวัง ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในจุดนี้ ควรมีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ตั้งรหัสผ่านที่แกร่ง แกะยากและแยกรหัสแต่ละบัญชีไม่ใช้รหัสเดียวกัน ตั้งการตรวจสอบแบบ two-factor authentication ทุกที่ เพื่อรับรหัสผ่านแบบ one-time passwords ให้ส่งมาถึงคุณทางโทรศัพท์ และควรมีวิธีการกู้รหัสได้ด้วย

6. เตรียมตัวรับมือกับปัญหาจากพวกเกรียนคีย์บอร์ดชอบระราน แม้แต่คนที่ไม่เด่นดังอะไรก็อาจประสบปัญหาจากคนชอบเกะกะระราน ใส่ร้ายป้ายสี สร้างเรื่องล้อเลียนผู้อื่นตามช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้ปกครองต้องแนะนำในการรับมือ ทุกคนเลือกวิธีที่สะดวกที่สุดในการ “รับมือ” กับคนจำพวกนี้ในที่เปิดเผย: บ้างเมินเฉยไม่ใส่ใจและลบคอมเม้นท์ออกไป บ้างโต้ตอบรุนแรงพอๆ กับที่โดนระราน ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ที่ออกมา แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องตอบโต้กับคอมเม้นท์ที่น่ารังเกียจเหล่านั้นในบัญชีออนไลน์ของคุณ อธิบายให้เด็กๆเข้าใจว่า พฤติกรรมที่แสดงออกผ่านความรุนแรงนั้นไม่มีทางที่จะผันมาเป็นการสื่อสารในวงเพื่อนสนิทใกล้ชิดได้เลย 

7. ย้ำเตือนเด็ก ๆ เรื่องข้อบัญญัติข้อกฎหมาย ซึ่งมีความเข้มงวดในเรื่องพฤติกรรมบนอินเทอร์เน็ต คุณและลูกหลานควรจะศึกษาร่วมกันถึงหัวข้อที่ควรเลือกมาเขียนลงบนอินเทอร์เน็ต 

ท้ายนี้ จงย้ำเตือนลูกหลานของคุณให้ดีว่า ไม่ใช่ทุกคนจะกลายมาเป็นดาวเด่นอินสตาแกรมได้สมใจหวัง ต้องอดทนและเตรียมตัวเตรียมใจ แน่นอนว่า ถ้าคุณจะไขว่คว้าดวงดาว คุณก็ต้องมีความหวัง คิดแง่บวก แต่ก็ต้องเรียนรู้การรับความจริงว่า ความผิดหวังก็มาได้ด้วยเหมือนกัน และไม่ควรที่จะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของทั้งชีวิต แต่เป็นบทเรียนของก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จต่างหาก 

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจการป้องกันลูกหลานทางออนไลน์ให้มั่นคงมากขึ้น สามารถพิจารณาใช้ฟีเจอร์ Safe Kids ในผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security การปกป้องระดับพรีเมียม รวมการป้องกันที่ดีที่สุด สำหรับคุณและครอบครัว ครอบคลุมทุกอุปกรณ์

แคสเปอร์สกี้ขอนำเสนอส่วนลด 20% สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย https://www.thaikaspersky.com/Safekids/ ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2563

คลิปแนะนำการป้องกันออนไลน์ด้วย Safe Kids https://youtu.be/WsT1Tpo0LwA 

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,284,Audio Visual,193,automotive,299,beauty,3,Business,237,CSR,27,Economic,8,Electronics,85,Entertainment,145,EV,110,FinTech,125,Food,103,Gallery,2,Health & Beauty,90,Home Appliance,130,InsurTech,12,Interview,4,IT & DeepTech,769,Lifestyle,267,Marketing,163,Mobile Device,1174,Motorbike,33,PR News,321,PropTech,53,Real Estate,292,Review,109,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky แนะเคล็ดลับดูแลบุตรหลานป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์ ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น Influencer / Blogger
Kaspersky แนะเคล็ดลับดูแลบุตรหลานป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์ ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น Influencer / Blogger
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjbQEbtpZcz_hl06rtANiafCj-64rXp2uUkhrOmgU-ZP4UuNxTxKiIwztIzD3ceh2PB31TWWww4-4blIu_-SsKwXMUmgZeYOXLweX8T-o_BcqvKxv6llR-DUxwZy_UQKiwd5jMozEZJ3fw/s16000/safe-kids.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjbQEbtpZcz_hl06rtANiafCj-64rXp2uUkhrOmgU-ZP4UuNxTxKiIwztIzD3ceh2PB31TWWww4-4blIu_-SsKwXMUmgZeYOXLweX8T-o_BcqvKxv6llR-DUxwZy_UQKiwd5jMozEZJ3fw/s72-c/safe-kids.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2020/11/kaspersky-keep-kid-safe.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2020/11/kaspersky-keep-kid-safe.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy