--> Kaspersky เผย Work From Home ทำให้เสียสมดุลชีวิต | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผย Work From Home ทำให้เสียสมดุลชีวิต

รายงานแคสเปอร์สกี้เผย Work From Home เหตุพนักงานในอาเซียนเสียสมดุลชีวิต 46% ทำงานเกินเวลากว่าปกติ 57% กังวลเรื่องการใช้ดีไวซ์ส่วนตัวเพื่อทำงาน

การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ เรื่อง “More connected than ever before: how we build our digital comfort zones” พบผู้ใช้ที่รู้สึกว่า การทำงานที่บ้านสร้างภาระงานที่หนักกว่าปกติ อีกทั้งการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นเรื่องยากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 46% ระบุว่าการปิดเครื่องหลังเลิกงานทำได้ยากกว่าตอนเดินทางไปทำงานสำนักงาน เป็นตัวเลขที่สูงกว่าตัวเลขทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 42% นอกจากนี้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ (62%) เปิดเผยว่ารู้สึกอึดอัดกับจำนวนการประชุมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น

การวิจัยนี้ดำเนินการโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้ให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก โดยสำรวจผู้ให้สัมภาษณ์ 760 คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การสำรวจยังเปิดเผยถึงความกังวลของพนักงานที่ต้องทำงานจากบ้านในช่วงเวลาที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งสำนักงานส่วนใหญ่ยังคงปิดอยู่เนื่องจากการล็อกดาวน์ ประเด็นด้านความปลอดภัยทางออนไลน์ที่สำคัญได้แก่

ประเด็นแรกคือจากลักษณะของงานที่ทำจากที่บ้านนั้นเป็นงานที่เป็นความลับ ผู้ตอบแบบสอบถาม 62% ในภูมิภาคซึ่งสูงกว่าตัวเลขจากทั่วโลก (49%) ประเด็นที่สอง ผู้ตอบแบบสอบถาม 57% ระบุว่าเทคโนโลยีในบ้านไม่ปลอดภัยเท่ากับเทคโนโลยีในสำนักงานซึ่งสูงกว่าตัวเลขระดับโลก (48%) ผู้ตอบแบบสอบถามต่างกังวลว่าการใช้คอมพิวเตอร์ของตนเองอาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลการทำงาน

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่จากภูมิภาคนี้ทำงานจากที่บ้านในช่วงนี้ซึ่งยังคงมีมาตรการล็อกดาวน์เนื่องจากโรคระบาด น่ายินดีมากที่ผู้ใช้หลายคนเริ่มกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยออนไลน์ของตนมากขึ้น เนื่องจากการวิจัยก่อนหน้านี้ของแคสเปอร์สกี้พบว่าธุรกิจ 52% เห็นด้วยว่าพนักงานเป็นจุดอ่อนที่สุดด้านความปลอดภัยไซเบอร์”

แต่ก็ยังมีประเด็นด้านบวกเช่นกัน บุคคลที่ถูกสำรวจ 62% ยอมรับว่าการทำงานจากที่บ้านทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางดิจิทัลมากขึ้น และ 56% ระบุว่านายจ้างได้ให้คำแนะนำที่เข้มงวดเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลการทำงานที่เป็นความลับทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 4 ใน 10 ที่ไม่ยอมรักษาความปลอดภัย และคิดว่าทุกอย่างได้รับการปกป้องและปลอดภัยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่ง (42%) สารภาพว่าได้แบ่งปันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับคนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ด้วยในที่พักรวม และไม่แน่ใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและความปลอดภัยของอุปกรณ์เนื่องจากไม่ทราบวิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

“การตั้งค่าการทำงานระยะไกลเป็นวิธีปฏิบัติที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดีสิ่งสำคัญคือต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อและทำงานเฉพาะในเวลาทำการ สำหรับองค์กร เหตุการณ์ต่างๆ เช่นการโจมตีของ Wannacry และการปล้นธนาคารบังกลาเทศควรยังคงเป็นเครื่องเตือนใจว่า พนักงานสามารถเป็นเว็กเตอร์การโจมตีที่ใช้ประโยชน์จากกลอุบายวิศวกรรมสังคมแบบเก่าที่ยังคงมีประสิทธิภาพ ตอนนี้ธุรกิจควรพิจารณาถึงเทคโนโลยีการฝึกอบรมที่ใช้ AI ประมวลการตอบสนองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และปรับแต่งด้วยการฝึกอบรมและการเสริมแรงในระดับที่เหมาะสม แทนที่จะใช้เนื้อหาหลักสูตรเดียวกันกับทุกคนซึ่งน่าเบื่อ” นายโยวกล่าวเสริม

Kaspersky Adaptive Online Training (KAOT) เป็นโซลูชันหลักสูตรการฝึกอบรมการรับรู้ด้านความปลอดภัยที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ซึ่งรวมเนื้อหาจากประสบการณ์กว่า 20 ปีของแคสเปอร์สกี้ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และวิธีการเรียนรู้และการพัฒนาขั้นสูงที่พัฒนาโดยบริษัท Area9 Lyceum บน Rhapsode™ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบปรับอัตโนมัติสี่มิติแห่งแรกของโลก สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kas.pr/su47

เอ็นเทอร์ไพรซ์ในประเทศไทยที่ใช้โซลูชั่นจากแคสเปอร์สกี้ สามารถที่จะเลือกใช้โปรแกรม Employee Purchase Program เพื่อสนับสนุนพนักงานของตนในการป้องกันดีไวซ์อุปกรณ์ใช้งานได้อีกระดับ https://www.thaikaspersky.com/EDP/ 

ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับสำนักงานที่บ้านของคุณ

• ติดตั้งโซลูชันความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ เช่น Kaspersky Security Cloud บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่จัดการข้อมูลขององค์กร

• อัปเดตทุกสิ่งที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ใด ๆ ที่คุณใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานเป็นประจำ

• กำหนดค่าการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างถูกต้อง ขั้นแรกตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อได้รับการเข้ารหัสเพื่อให้ข้อมูลปลอดภัยจากการสอดรู้สอดเห็น สามารถใช้การตั้งค่าเราเตอร์เพื่อเลือกหรือเปลี่ยนประเภทของการเข้ารหัสและจำไว้ว่ารหัสผ่าน Wi-Fi ควรมีความรัดกุม

• เปลี่ยนการเข้าสู่ระบบเราเตอร์และรหัสผ่าน รหัสผ่านเริ่มต้น (default) ในหลายๆ รุ่นเปราะบางเกินไป และยังเป็นที่รู้จักในอินเทอร์เน็ตและค้นหาได้ง่าย

• ใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เมื่อเชื่อมต่อผ่าน VPN ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสโดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่าเครือข่ายและบุคคลภายนอกจะไม่สามารถอ่านได้

• ใช้ทรัพยากรขององค์กรเมื่อแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลอื่นๆ คลาวด์ไดรฟ์ที่กำหนดค่าสำหรับธุรกิจโดยทั่วไปมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้งานฟรี

• ควรสงสัยอีเมลที่มีลิงก์เป็นพิเศษ หากลิงก์ไม่ชี้ไปที่ทรัพยากรขององค์กร ควรเพิกเฉยไม่เปิดใช้งาน

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,288,Audio Visual,193,automotive,308,beauty,3,Business,238,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,151,EV,113,FinTech,128,Food,105,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,783,Lifestyle,269,Marketing,168,Mobile Device,1190,Motorbike,34,PR News,336,PropTech,53,Real Estate,299,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผย Work From Home ทำให้เสียสมดุลชีวิต
Kaspersky เผย Work From Home ทำให้เสียสมดุลชีวิต
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPAi_KHXpra15Pd3ZD0cNsZaRt20BdQZ2QKmKzsK2riLq4JxIjR7zFQ9hQ3QA_WRxGjm4txf7x-vnIgrAFk890VfOO6TZxxVKyqUlKWkDiXh7zxT0FdZpQzcIMpPTMkhzuDjcrly1Ktrc/s16000/Kaspersky_DCZ+2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPAi_KHXpra15Pd3ZD0cNsZaRt20BdQZ2QKmKzsK2riLq4JxIjR7zFQ9hQ3QA_WRxGjm4txf7x-vnIgrAFk890VfOO6TZxxVKyqUlKWkDiXh7zxT0FdZpQzcIMpPTMkhzuDjcrly1Ktrc/s72-c/Kaspersky_DCZ+2.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2020/11/kaspersky-work-from-home.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2020/11/kaspersky-work-from-home.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy