--> Kaspersky เผยงานวิจัย Digital Reputation ชี้ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลนิรนาม | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยงานวิจัย Digital Reputation ชี้ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลนิรนาม

คุณมีบัญชีออนไลน์นิรนามหรือไม่ ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกยืนยันว่าคุณไม่ได้มีบัญชีนิรนามคนเดียว ทั้งนี้ชื่อเสียงทางดิจิทัลมีผลต่อบุคคลและองค์กร

ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากกว่า 3 ใน 10 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ยอมรับว่ามีโปรไฟล์โซเชียลมีเดียโดยไม่ใช้ชื่อจริง ภาพถ่ายจริง หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information หรือ PII) งานวิจัย “Digital Reputation” จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,240 คนจากภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของการไม่เปิดเผยตัวตนถูกใช้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 35% ตามด้วยเอเชียใต้ 28% และออสเตรเลียที่ 20%


แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ออนไลน์ต้องการรักษาตัวตนมากที่สุดคือ Facebook (70%), YouTube (37%), Instagram (33%) และ Twitter (25%)

ความรู้สึกแวบแรกเรื่องการใช้ “โปรไฟล์ไร้ชื่อและไร้ใบหน้า” นั้นมีสองแง่มุม ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า ข้อมูลนิรนามทำให้ผู้ใช้ออนไลน์แต่ละคนสามารถไขว่คว้าสิ่งต่าง ๆ ตามความสนใจของตน รวมถึงการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างได้เสรี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำกิจกรรมที่มุ่งร้ายและเป็นอันตรายได้เช่นกัน

ผู้เข้าสำรวจเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่ามีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อใช้เสรีภาพในการพูด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ในขณะที่ 48% ต้องการที่จะดื่มด่ำกับสิ่งที่ชอบอย่างลับๆ ที่ไม่อยากให้เพื่อนรู้

ผู้เข้าสำรวจจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (34%) ยังใช้บัญชีนิรนามเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับใครบางคนหรือข่าวออนไลน์โดยไม่ใช้ตัวตนจริง แม้ว่าผู้ใช้ 30% จะใช้บัญชีโซเชียลมีเดียที่ไม่ระบุชื่อสำหรับกิจกรรมที่ไม่เป็นอันตรายในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับศิลปินที่ชื่นชอบและความสนใจต่างๆ แต่ก็ยังพบว่าผู้ใช้ 22% มีส่วนร่วมในการสะกดรอยทางออนไลน์ด้วย

มีผู้ใช้เพียงส่วนน้อย (3%) ที่ระบุว่าใช้บัญชีไม่ระบุตัวตนเพื่อเบี่ยงเบนอีเมลสแปมจากบัญชีจริง หลีกเลี่ยงการโดนเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหาย (หรือ doxing) รวมถึงการใช้บัญชีนิรนามเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การเล่นเกม และการป้องกันไม่ให้หน่วยงานภายนอกเข้าถึงบัญชีอีเมลจริงของตน

ประเด็นสำคัญของการค้นพบนี้คือผู้บริโภคใน APAC เริ่มตระหนักถึงชื่อเสียงที่สร้างขึ้นทางออนไลน์ และความสำคัญต่อชีวิตจริงของตนมากขึ้น จากพื้นฐานดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% จะตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์หรือบริษัทก่อนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

ประเด็นที่น่าสังเกตสำหรับธุรกิจ คือผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากกว่าครึ่ง (51%) เน้นย้ำถึงความสำคัญของชื่อเสียงทางออนไลน์ของบริษัท เกือบ 5 ใน 10 คน (48%) ยืนยันว่าตนได้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีเรื่องอื้อฉาวหรือได้รับข่าวเชิงลบทางออนไลน์

นอกจากนี้ 38% ยังเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทหรือแบรนด์ที่เข้าไปพัวพันกับวิกฤตบางอย่างทางออนไลน์ เกือบครึ่งหนึ่ง (41%) ยังเปิดเผยด้วยว่าชื่อเสียงของผู้รับรองแบรนด์มีผลต่อมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์

เมื่อถามถึงความโปร่งใสของแบรนด์บนเพจออนไลน์ ผู้ใช้ใน APAC จำนวน 50% คิดว่าบริษัทต่างๆ ไม่ควรลบความคิดเห็นเชิงลบในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัท

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “จากจุดประสงค์แรกเริ่มในการค้นหาและเชื่อมต่อกับเพื่อนและครอบครัว โซเชียลมีเดียมีการพัฒนาและจะพัฒนาต่อไปในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการเข้าสังคมและระบุตัวตนซึ่งกันและกัน แต่ตอนนี้เรามาถึงจุดแยกบนถนนที่มีการใช้โปรไฟล์เสมือนของทั้งบุคคลและบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสิน”

นายโยวกล่าวเสริมว่า “การสำรวจล่าสุดของเรายืนยันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเชื่อมั่นบริษัทต่างๆ โดยยึดจากชื่อเสียงทางออนไลน์ เหมือนกับที่พฤติกรรมของบุคคลบนโซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการกำหนดคะแนนเครดิต เพื่อคัดกรองความสามารถในการจ้างงาน และการอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอวีซ่า จากผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริงเหล่านี้ เราต้องเรียนรู้การปรับสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเพื่อให้สามารถรักษาชื่อเสียงดิจิทัลที่สำคัญยิ่งขึ้นของเราได้”

เพื่อช่วยผู้บริโภคในการปกป้องชื่อเสียงทางออนไลน์ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนที่เราทุกคนสามารถทำได้เพื่อให้ได้รับการปกป้องและปลอดภัยทางออนไลน์ ดังนี้

  • จำไว้ว่าชื่อเสียงดิจิทัลของคุณเชื่อมโยงกับชื่อเสียงส่วนตัวของคุณด้วย ทุกสิ่งที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ตยังคงอยู่บนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการตัดสินที่ก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งอาจทำให้คุณต้องไปอธิบายเหตุผลในที่ทำงานหรือระหว่างกระบวนการจ้างงาน
  • เพื่อปกป้องชื่อเสียงดิจิทัล ควรระมัดระวังมากกว่าเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวเอง โดยเฉพาะในโปรไฟล์โซเชียล อย่าเปิดเผยมากเกินไป แบ่งปันเฉพาะข้อมูลพื้นฐานและจำเป็นจริงๆ ยิ่งคุณแชร์มากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งดึงดูดผู้โจมตีที่ต้องการขโมยข้อมูลส่วนตัวรวมถึงตัวตนของคุณ
  • ลบบัญชีและข้อมูล – เราทุกคนมีบัญชีออนไลน์หลายสิบบัญชี ซึ่งหลายๆ บัญชีก็แทบไม่ได้ใช้หรือลืมไปแล้ว บัญชีหลายรายการที่ยังคงมีอยู่อาจทำให้ข้อมูลของคุณรั่วไหลได้
  • การป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล – หากแอปขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ให้ดูนโยบายความเป็นส่วนตัวซึ่งอาจระบุอย่างเปิดเผยว่าข้อมูลของคุณจะถูกส่งต่อไปยังบริษัทเธิร์ดปาร์ตี้ อย่าให้ข้อมูลแอปมากเกินความจำเป็น ควรคิดอย่างรอบคอบว่าแอปต้องการอะไรและทำอะไรได้บ้างหากไม่มี โปรดจำไว้ว่าข้อมูลใดๆ ที่คุณส่งให้กับแอปไม่น่าจะยังคงเป็นส่วนตัวได้
  • โซลูชั่นรวมของผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยและขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ สามารถลดภัยคุกคามและรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัยทางออนไลน์ โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้สำหรับการป้องกันที่ครอบคลุมจากภัยคุกคามที่หลากหลายเช่น Kaspersky Security Cloud และ Kaspersky Internet Security ควบคู่ไปกับการใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่มีค่าอย่างปลอดภัย สามารถช่วยแก้ปัญหาในการควบคุมการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

เกี่ยวกับการสำรวจ

รายงานแคสเปอร์สกี้เรื่อง “Making sense of our place in the digital reputation economy” ศึกษาทัศนคติของบุคคลในเอเชียแปซิฟิกที่มีต่อการสร้างตัวตนออนไลน์ที่ปลอดภัยและมีชื่อเสียงบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ยังพิจารณาด้วยว่าชื่อเสียงทางดิจิทัลของธุรกิจถูกรับรู้เพียงใด

การศึกษานี้จัดทำโดยหน่วยงานวิจัย YouGov ในออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 โดยสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,240 คนในประเทศที่ระบุ ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18-65 ปี ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย (ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันในโซเชียลมีเดีย)

จากบทความนี้ เมื่อพฤติกรรมของประชากรในตลาดเป็นข้อมูลทั่วไป จะอ้างอิงถึงกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่สุ่มตัวอย่างไว้ข้างต้น

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,288,Audio Visual,193,automotive,308,beauty,3,Business,238,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,151,EV,113,FinTech,127,Food,105,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,783,Lifestyle,268,Marketing,167,Mobile Device,1189,Motorbike,34,PR News,335,PropTech,53,Real Estate,298,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยงานวิจัย Digital Reputation ชี้ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลนิรนาม
Kaspersky เผยงานวิจัย Digital Reputation ชี้ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลนิรนาม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgkORJcpZuTj45Hd3FGC1NaCADVXEctjh84LaDZ8N7JL7hlcoMoLdx1UfXsjuczU6G5w1GSRd3flIARsS0IjxJOjjIxtFro0U8DLKu49Z-sCagk3XWy62SaxPlAxcZO5qX55Ng51D4kVqY/s16000/EosiZJiUwAACpWN.jpeg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgkORJcpZuTj45Hd3FGC1NaCADVXEctjh84LaDZ8N7JL7hlcoMoLdx1UfXsjuczU6G5w1GSRd3flIARsS0IjxJOjjIxtFro0U8DLKu49Z-sCagk3XWy62SaxPlAxcZO5qX55Ng51D4kVqY/s72-c/EosiZJiUwAACpWN.jpeg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2020/12/kaspersky-digital-reputation-apac.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2020/12/kaspersky-digital-reputation-apac.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy