--> Kaspersky คาดเทรนด์ Cybersecurity ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021 | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky คาดเทรนด์ Cybersecurity ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021

จังหวะชีวิตของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่นคลอนจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเมื่อปีที่แล้ว แม้จะมีมุมมองที่มืดมน แต่นโยบายต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคก็บังคับให้ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเปลี่ยนเกียร์อย่างรวดเร็ว เร่งการใช้เทคโนโลยี และมุ่งหน้าสู่รูปแบบออนไลน์สำหรับทุกสิ่งอย่างแท้จริง รายงานจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจากทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ ช่วยให้เราทราบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ก่อกวนในปี 2020 อย่างไร และลักษณะของภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2021 ในภูมิภาคนี้จะเป็นอย่างไร

ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกบังคับให้อยู่ในบ้าน เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก แต่การแพร่ระบาดไม่ได้หยุดยั้งไม่ให้เคลื่อนไหวแม้ว่าจะเป็นแบบดิจิทัลก็ตาม รายงานล่าสุดพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 40 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่งออนไลน์เป็นครั้งแรกในปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ในพื้นที่นอกตัวเมืองในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลกใช้ระบบดิจิทัลมาโดยตลอด แต่การใช้งานก็ไม่แพร่หลายเหมือนตอนมี COVID-19 เกิดขึ้น ปัจจุบันนี้มีชาวเน็ตมากถึง 400 ล้านคนซึ่งคิดเป็นเกือบ 70% ของประชากรในภูมิภาค ทั้งผู้ใช้งานรายบุคคลและองค์กรธุรกิจต่างก็ดำเนินการทุกอย่างทางออนไลน์ ที่แม้แต่คนที่เคยรังเกียจดิจิทัลก็ยังต้องกระโดดร่วมในโลกออนไลน์นี้

นี่เองคือจุดที่มีความสำคัญด้านความปลอดภัย นอกเหนือจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเดิมที่ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยในโลกไซเบอร์แล้ว ก็ยังมีผู้ใช้มือใหม่ที่นับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด

บทสรุปเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามของแคสเปอร์สกี้ตลอดปี 2020 แสดงให้เห็นว่าการโจมตีทางไซเบอร์อันดับต้นๆ ในภูมิภาค ได้แก่ คริปโตไมนิ่ง ฟิชชิ่ง แรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมาย และ DDoS (การปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย) การโจมตีเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์จำเป็นต้องเจาะเข้าไปในจุดที่อ่อนแอที่สุดเท่านั้นซึ่งก็คือ “มนุษย์”

ในปี 2020 ภูมิภาคนี้ถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่หลายครั้ง ซึ่งส่งผลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ ได้แก่

รายละเอียดบัตรเครดิตกว่า 310,000 รายการที่ออกโดยธนาคารชั้นนำในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไทย และเวียดนาม เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อมูลในเดือนมีนาคม

ในเดือนเดียวกัน ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ 91 ล้านรายของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียรั่วไหล

ในเดือนพฤษภาคม ประเทศไทยมีเหตุการณ์เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ 8.3 พันล้านรายของเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

แพลตฟอร์มขายของชำออนไลน์ในสิงคโปร์ประสบปัญหาการละเมิดข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อบัญชี 1.1 ล้านบัญชีในเดือนตุลาคม

อาชญากรไซเบอร์ยังใช้ประโยชน์จากความกลัวที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 และใช้ภาคสาธารณสุขเป็นเหยื่อสำหรับการโจมตีต่างๆ ที่กำหนดเป้าหมายไปที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศที่เพิ่งเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ฐานข้อมูลของรัฐบาลที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ทดสอบ COVD-19 จำนวน 230,000 คนในอินโดนีเซียถูกละเมิดในเดือนพฤษภาคม ในขณะเดียวกันในประเทศไทย โรงพยาบาลแห่งหนึ่งยืนยันว่ามีประวัติผู้ป่วยย้อนหลังไปสี่ปีได้รับผลกระทบจากการโจมตีในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

มูฮัมหมัด อูแมร์ นักวิจัยด้านความปลอดภัย ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ (GReAT) กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 เราได้เห็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีใครเทียบได้ และการเพิ่มพื้นที่การโจมตีที่อาจประสบความสำเร็จมากขึ้น ผู้ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาในการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลนี้ จะต้องระมัดระวังในการปกป้องตัวเองเช่นกัน และเช่นเคย วิศวกรรมสังคมยังคงเป็นหนึ่งในเว็กเตอร์การโจมตีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเช่นเดียวกับเทคโนโลยี การให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าเดิม”

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เราจะไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้ คนในภูมิภาคนี้จะยังคงอยู่ในสังคมออนไลน์และจะมองหาวิธีการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผลอยู่เสมอ ในโลกธุรกิจ เราได้เห็นว่าภาคธุรกิจส่วนมากยังใช้วิธีการทำงานระยะไกลแม้ว่าการระบาดจะบรรเทาลง ตอนนี้จึงเป็นเวลาไตร่ตรองบทเรียนของปี 2020 และเราขอแนะนำให้บริษัทต่างๆ เริ่มสร้างกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยหากไม่มี หรือแนะนำให้แก้ไขแผนปัจจุบันที่มี อยู่เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการปกป้องพนักงานด้วย”

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2021 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digitalization)

ภายใต้วิถีใหม่ เซ็กเตอร์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด โรงเรียนกำลังเปลี่ยนไปใช้การเรียนรู้จากระยะไกล ธุรกิจ SMB ที่ไม่เคยมีตัวตนทางออนไลน์ได้เริ่มสร้างหน้าร้านออนไลน์ ร้านอาหารที่ไม่เคยให้บริการจัดส่งถึงบ้านก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งหมด

ในปี 2020 มีการใช้บริการและธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงจำนวนผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อทางออนไลน์ที่มากขึ้น เราได้เห็นการโจมตีแบบฟิชชิ่งที่เพิ่มขึ้นแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 และคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปในปี 2021

ในปี 2020 มีการหลอกล่อจำนวนมากโดยใช้เรื่อง COVID-19 และด้วยวัคซีนที่ใกล้จะพร้อมใช้งานมากขึ้น เราจึงอาจเห็นการหลอกล่อที่คล้ายคลึงกันที่รวมเอาเรื่องการฉีดวัคซีนมาใช้

ในทำนองเดียวกัน การรักษาความปลอดภัยโดยรวมจะเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งตลอดปี 2021 เนื่องจากผู้คนยังคงทำงานจากที่บ้านโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรผ่าน VPN

การมุ่งเน้นการทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้นและการพึ่งพา VPN ช่วยเปิดเว็กเตอร์การโจมตีที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งนั่นคือการรวบรวมข้อมูลรับรองของผู้ใช้ผ่านแนวทางวิศวกรรมโซเชียลในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น การฟิชชิงด้วยเสียง หรือ “vishing” เพื่อเข้าถึง VPN ขององค์กร ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือผู้โจมตีสามารถบรรลุเป้าหมายในการจารกรรม โดยไม่ต้องติดตั้งมัลแวร์ในสภาพแวดล้อมของเหยื่อ

การเลือกตั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางมาเลเซียระบุว่าจะจัดการเลือกตั้งใหม่เมื่อเอาชนะการแพร่ระบาดได้แล้ว ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นก็น่าจะประสบความสำเร็จในปี 2021 นอกจากนี้เวียดนามยังวางแผนที่จะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2021 ขณะที่ฟิลิปปินส์มีกำหนดจัดการเลือกตั้งระดับชาติในปี 2022

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ COVID-19 ผลักดันให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่มใช้งานออนไลน์เป็นครั้งแรกทั่วทั้งภูมิภาค มีรายงานว่ามาเลเซียมีอัตราการเข้าถึงโซเชียลมีเดียสูงสุด รองลงมาคือสิงคโปร์และไทย มาเลเซียยังมีอัตราการเจาะตลาดสมาร์ทโฟนสูงเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์

ในระยะสั้น อาจมีแคมเปญบิดเบือนข้อมูลเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งภูมิภาค นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้เห็นว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้มากขึ้นโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกตั้งต่างๆ เนื่องจากแต่ละประเทศใกล้จะมีการเลือกตั้งในปี 2021 เป็นต้นไป

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกตั้งเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งบุคคลภายในและภายนอก ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากฐานผู้ใช้โซเชียลมีเดียและโมบายดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น แคมเปญดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความคิดเห็นมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน

อินโดนีเซียมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2019 และในปีนี้เราพบช่องโหว่ที่ข้อมูลส่วนตัวของผู้มีสิทธิเลือกตั้งรั่วไหลทางออนไลน์โดยกลุ่มแฮกเกอร์ บางประเทศกำลังเตรียมพร้อมที่จะรวบรวมข้อมูลที่อัปเดตเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง แน่นอนว่าอาจมีการพยายามบุกรุกระบบในลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน

การเปิดตัว 5G

ปี 2019 เราได้เห็นการเปิดตัวเครือข่าย 5G และในปี 2020 นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้เห็นการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์พกพาโดยผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์อย่าง Apple อัปเดตกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดให้เข้ากันได้กับ 5G

ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พยายามติดตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้เช่นกัน ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เร่งเรื่องนี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการในการสนับสนุนโซลูชั่น เช่น การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เพื่อลดการติดต่อสัมผัสตามข้อจำกัดของโรค COVID-19 ซึ่งจะก้าวกระโดดในปี 2021 โดยมีประเทศอื่นๆ ในภูมิภาครีบดำเนินการตาม

5G ได้รับการออกแบบให้มีการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการทำงานไปใช้ซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ จึงเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดการโจมตีได้ (จำนวนจุดเสี่ยงที่เป็นไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงได้) เนื่องจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไปถือว่าสามารถเข้าถึงได้มากกว่าและค้นหาช่องโหว่ได้ง่ายกว่า เมื่อนักวิจัยเริ่มค้นหาข้อบกพร่องจากซอฟต์แวร์ ก็มักจะพบร่องรอยของผู้ก่อภัยคุกคามที่รอโจมตีหรือโจมตีไปแล้ว

ภาคสาธารณสุข

สาขาการดูแลสุขภาพเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลก ในการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้คาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในด้านการดูแลสุขภาพ ในปี 2020 ความสนใจในการวิจัยทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในหมู่อาชญากรไซเบอร์ที่เชี่ยวชาญด้านการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมาย โดยได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีความสำคัญต่อประชาคมโลก

มีการผลักดันสู่โซลูชั่นการตรวจสอบสุขภาพระยะไกลและการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพออนไลน์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการติดต่อสัมผัส ซึ่งหมายความว่าข้อมูลผู้ป่วยทางออนไลน์จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการโจมตีที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภาคสาธรรณสุขอีกด้วย ตามที่นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้กล่าวว่า แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงปี 2021 ในปีใหม่นี้อาจมีความพยายามในการโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่ภาคส่วนนี้มากขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบใหม่ๆ การรักษาใหม่ๆ และการเพิ่มจำนวนเหยื่อยังคงดึงดูดความสนใจของอาชญากรไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

แรนซัมแวร์

เมื่อเร็วๆ นี้แคสเปอร์สกี้ได้สังเกตเห็นการลดการโจมตีของแรนซัมแวร์ทั่วทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ตาม แคสเปอร์สกี้ยังสังเกตเห็นว่าภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์กลายเป็นภัยอันตรายซับซ้อนและมีเป้าหมายมากขึ้น จำนวนเงินที่ถูกเรียกร้องโดยกลุ่มแรนซัมแวร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ในปี 2020 มีเหตุการณ์การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมนี ซึ่งผู้ป่วยต้องถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ แต่สุดท้ายก็เสียชีวิตก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล

ในขณะที่จำนวนเงินค่าไถ่ที่เรียกร้องมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราคาดว่าจะเห็นการโจมตีของแรนซัมแวร์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนองค์กรที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค และนั่นทำให้แนวโน้มในปี 2021 กลับกัน

ความปลอดภัยของคลาวด์

บริษัทจำนวนมากได้นำระบบคลาวด์มาใช้ในรูปแบบธุรกิจ เนื่องจากความสะดวกสบายและความสามารถในการปรับขนาด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่การโจมตีที่ค่อนข้างใหม่ อาจมีการโจมตีละเมิดโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากขึ้นหากบริษัทต่างๆ ที่เพิ่งเริ่มใช้งานคลาวด์ทำผิดพลาด ไม่ปรับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยและวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม ซึ่งมักเป็นกรณีของผู้ใช้งานรายใหม่

ระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems - ICS)

ในปี 2020 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบแย่ที่สุดจากการโจมตี ICS แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็สนใจในการควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวมากขึ้น

มาเลเซียได้ทุ่มเทเงิน 1.8 พันล้านริงกิตสำหรับยุทธศาสตร์ความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติปี 2020-2024 สำนักงานเข้ารหัสไซเบอร์แห่งชาติ (BSSN) ของอินโดนีเซียก็ได้ปรับปรุงกลยุทธ์ด้านความยืดหยุ่นทางไซเบอร์อย่างแข็งขัน โดยร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี 2019 ในทำนองเดียวกัน ฟิลิปปินส์ได้ใช้กลยุทธ์ที่ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อการป้องกันทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราอาจเห็นผลของการริเริ่มดังกล่าวเข้ามามีบทบาทในปี 2021

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,233,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,262,Marketing,152,Mobile Device,1108,Motorbike,33,PR News,294,PropTech,53,Real Estate,282,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky คาดเทรนด์ Cybersecurity ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021
Kaspersky คาดเทรนด์ Cybersecurity ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgueip1Gik3NwKyX9wwbK_zw71r-RKbWmbogSgFx-01lM5hnkXWuAn4B9Hz41pt144eihYSl4s4YUTnuvCw2ySk0MWDSBp48FMvUoKwoqfWPjOLiJJ9Xwqt-jJdf5qpXxap12nGf-hvryM/s16000/kaspersky-rebranding-in-details-featured.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgueip1Gik3NwKyX9wwbK_zw71r-RKbWmbogSgFx-01lM5hnkXWuAn4B9Hz41pt144eihYSl4s4YUTnuvCw2ySk0MWDSBp48FMvUoKwoqfWPjOLiJJ9Xwqt-jJdf5qpXxap12nGf-hvryM/s72-c/kaspersky-rebranding-in-details-featured.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2021/01/kaspersky-cybersecurity-2021.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2021/01/kaspersky-cybersecurity-2021.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy