นับเป็นปีที่สามติดต่อกันที่นูทานิคซ์ได้มอบหมายให้ แวนสัน บอร์น ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในสหราชอาณาจักรทำการสำรวจการใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแผนการใช้คลาวด์ขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก โดยกลางปี พ.ศ. 2563 ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 3,400 คนทั่วโลกว่าองค์กรเหล่านั้นใช้งานแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนระบบใดในปัจจุบัน วางแผนจะใช้บนระบบใดในอนาคต มีความท้าทายในการใช้คลาวด์อย่างไรบ้าง และองค์กรเหล่านี้จัดให้แผนการใช้คลาวด์มีความสำคัญในระดับใด เมื่อเทียบกับแผนงานด้านไอทีและการลำดับความสำคัญด้านอื่น ๆ
การสำรวจความคิดเห็นในปีนี้ มีคำถามเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงกลยุทธ์และลำดับความสำคัญด้านไอทีที่อาจเปลี่ยนไปที่มีผลมาจากการแพร่ระบาดนี้
รายงานฉบับนี้ได้จากผลสำรวจการใช้คลาวด์และเทรนด์ต่าง ๆ ที่องค์กรในประเทศไทยได้วางแผนไว้ และเป็นฉบับเสริมจากรายงานประจำปีเรื่องดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรฉบับหลัก ซึ่งทำการสำรวจบริษัททั่วโลกเป็นปีที่สาม รายงานฉบับประเทศไทยนี้เน้นให้เห็นข้อมูลในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ทำงานในประเทศไทย และเปรียบเทียบประสบการณ์การใช้คลาวด์และแผนงานด้านคลาวด์ของบริษัทในไทยกับผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และผลสำรวจจากทั่วโลก
กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสำรวจฉบับนี้ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลายประเภท บริษัทหลากหลายขนาด ในอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ใช้อ้างอิง ทั้งที่เป็นข้อความและตัวเลขในเอกสารนี้ เป็นเปอร์เซ็นต์ของผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่ม หรือกลุ่มย่อยที่เลือกคำตอบนั้น ๆ โดยจะปัดเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดเว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ผลสำรวจผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น
ประเทศไทยก้าวสู่อนาคตที่สดใสในการใช้ไฮบริดคลาวด์ผ่านรูปแบบการใช้พับลิคคลาวด์
สรุปข้อมูลสำคัญจากการสำรวจ
1. ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยส่วนใหญ่ระบุว่าไฮบริดคลาวด์เป็นรูปแบบการใช้งานด้านไอทีที่เหมาะสม ผลสำรวจทั่วโลกพบว่า 87% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเห็นตรงกันว่าการใช้พับลิคและไพรเวทคลาวด์ /ดาต้าเซ็นเตอร์ผสมผสานกัน (ไฮบริด) เป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยกับความคิดนี้ และ 76% เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าไฮบริดคลาวด์เป็นระบบที่เหมาะสม
2. ผลสำรวจพบว่าบริษัทในไทยมีความพยายามอย่างมากในการวางแผนทั้งที่จะยกเลิก, ปรับปรุง และบูรณาการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยส่วนใหญ่ (67%) กล่าวว่าพวกเขามีแผนที่จะใช้สภาพแวดล้อมที่เป็นไฮบริดภายในห้าปี ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น 63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์ จากระดับการใช้ไฮบริดในปัจจุบัน และมีเพียง 3% เท่านั้นที่วางแผนจะใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ใช่ระบบคลาวด์ในอีกห้าปีข้างหน้า
3. ประเทศไทยนำหน้าในการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) ผู้ตอบแบบสำรวจในไทย เกือบ 70% รายงานว่าพวกเขาใช้งาน HCI อยู่แล้ว หรืออยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำไปใช้ ในขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เท่านั้น
4. การประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ใช่เหตุผลหลักในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทย แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่ ต้องการเพิ่มความเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ (79%) ควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น (67%) และสามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น (67%) ในทางกลับกัน ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยจัดให้เหตุผลเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายมาเป็นอันดับที่สิบ (13%) เท่านั้น
5. การแพร่ระบาดทั่วโลกยกระดับความสำคัญของไอที และเร่งให้มีการนำระบบคลาวด์มาใช้เร็วขึ้น มากกว่าสี่ในห้า (82%) ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยกล่าวว่า โควิด-19 ทำให้องค์กรของตนมองเรื่องไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น เป็นผลให้ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจรายงานว่ามีการเพิ่มการลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 47%) ในขณะเดียวกันมีการลงทุนในไพรเวทคลาวด์เพิ่มขึ้น 56% (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)
> แนวโน้มต่าง ๆ ในระดับมหภาพมีความสำคัญ
ข้อมูลจากรายงานฉบับทั่วโลกระบุว่า ภายในห้าปีจากนี้ องค์กรทั่วโลกมีแผนจะเปลี่ยนไปลงทุนสถาปัตยกรรมแบบไฮบริดคลาวด์อย่างจริงจัง ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่ามีแผนที่จะเพิ่มการใช้งานไฮบริดคลาวด์อีก 63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกที่จะเพิ่มขึ้นเพียง 37 เปอร์เซ็นเทจพอยต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน
ไม่ว่าโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในไอทีรูปแบบเดียวหรือไม่ก็ตาม จากผลสำรวจทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บริษัทต่าง ๆ ในไทยและภูมิภาคอื่น ๆ เริ่มมีแผนใช้งานไฮบริดคลาวด์เพิ่มขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ ที่องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องใช้นั้น เกี่ยวข้องกับการเลิกใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ใช้ระบบคลาวด์ เพราะเมื่อต้องใช้ไพรเวทและพับลิคคลาวด์ที่จำเป็นต้องใช้การจัดการร่วมกันในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด เช่น การมองเห็นภาพรวมของระบบ การจัดการ การรักษาความปลอดภัย และการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชั่นที่ทุกอย่างทำงานร่วมกันแบบองค์รวม อย่างไรก็ตาม แนวโน้มต่าง ๆ ในอตุสาหกรรมและในระดับมหภาพก็มีอิทธิพลต่อการดำเนินแผนการใช้ไฮบริด ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
เช่น เครื่องมือที่ใช้บริหารจัดการแพลตฟอร์มคลาวด์หลายประเภทที่แตกต่างกัน ยังคงมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และเป็นความท้าทายในปัจจุบันของฝ่ายไอทีในการเฟ้นหาคนที่ต้องมีความสามารถด้านแพลตฟอร์มคลาวด์หลาย ๆ ประเภท ซึ่งผลสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจในไทย (45%) ระบุว่าฝ่ายไอทีของตนยังขาดทักษะในการบริหารจัดการไฮบริดคลาวด์ ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ (37%)
ในทางกลับกัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้วงการไอทีในไทยและประเทศอื่น ๆ นำระบบคลาวด์มาใช้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับพนักงานจำนวนมากที่ต้องทำงานจากระยะไกล และต้องทำงานที่บ้านอย่างกะทันหัน ผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าการทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มลดลง แต่จะไม่ลดลงจนกลับไปเหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาด การใช้งานคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากกรณีนี้ เป็นสัญญาณที่ดีในการเร่งให้เกิดแผนการใช้ไฮบริดคลาวด์และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งต่างต้องพึ่งพาบริการพับลิคคลาวด์ต่าง ๆ เป็นโครงสร้างพื้นฐานอยู่อย่างมาก
> รูปแบบไอทีเพื่อการใช้งาน และในอนาคต
เมื่อถามถึงรูปแบบไอทีที่องค์กรใช้งานในปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่า ต้องการลดการใช้หรือลดการพัฒนาการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ได้เป็นระบบคลาวด์ และมีเพียง 13% ของผู้ตอบแบบสำรวจไทยที่ระบุว่าใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว เทียบกับผลสำรวจทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 18% ข้อมูลในตารางที่ 1 ที่แสดงให้เห็นว่า 62% ของหน่วยงานไอทีในไทย ใช้บริการพับลิคคลาวด์หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งแห่ง การสำรวจพบว่าองค์กรไทยมีการใช้พับลิคคลาวด์เพียงอย่างเดียวสูงที่สุด (38%) เมื่อเทียบกับทุกประเทศที่ทำการสำรวจในปีนี้
แม้ว่ามีผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยไม่มากนัก (6%) ที่รายงานว่าปัจจุบันมีการใช้คลาวด์ผสมผสานกันหลายแบบโดยไม่มีการบูรณาการ การบริหารจัดการหรือเพียง (4%) ใช้ไฮบริดคลาวด์แบบบูรณาการ ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลสำรวจเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และผลสำรวจทั่วโลกก็ตาม แต่ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยก็มีแผนระยะยาวที่เป็นระบบเกี่ยวกับ การวางแผนใช้ไฮบริดคลาวด์
ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่ามีแผนที่จะยกเลิกการใช้การพัฒนาหรือบูรณาการดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมทั้งหมดที่ไม่ได้ใช้คลาวด์ภายใน 1 ปี (ตารางที่ 2) ส่วนใหญ่ (67%) กล่าวว่ามีแผนที่จะทำงานบนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์แบบบูรณาการภายในห้าปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากอย่างน่าแปลกใจถึง
63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์จากจำนวนการใช้งาน ในวันนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจเหล่านี้วางแผนไปถึงจุดนั้นด้วยการเพิ่มการใช้มัลติพับลิคคลาวด์เป็นสองเท่า และเพิ่มการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบผสมผสานเป็นสามเท่าภายในปีที่สาม รูปแบบไอทีที่โดดเด่นในไทยจะเป็นการผสมผสานระหว่างคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไม่มีการบูรณาการกัน ทั้งนี้คาดว่าในสองปีสุดท้ายของแผนห้าปี องค์กรเหล่านี้จะใช้ความพยายามอย่างมากในการบูรณาการการทำงานและการบริหารจัดการเข้าด้วยกัน
ตารางที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานไอทีในห้าปีข้างหน้า เปรียบเทียบระหว่างผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยกับผลสำรวจเฉลี่ยทั่วโลก
> บรรลุเป้าหมายการใช้ไฮบริดคลาวด์ด้วย HCI
บริษัทหลายแห่งที่ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) กับดาต้าเซ็นเตอร์ของตนแล้ว ระบุว่า พวกเขาใช้สภาพแวดล้อมไฮบริดจากการบูรณาการไพรเวทและพับลิคคลาวด์เข้าด้วยกัน เช่น มากกว่าสองในสาม (69%) ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก ที่ใช้ไฮบริดคลาวด์ระบุว่าพวกเขาใช้หรือวางแผนจะใช้ HCI ในขณะที่ 40% ของผู้ที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบผสมผสาน และ 50% ของผู้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมก็ระบุเช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุผลที่คล้ายกันคือ HCI สร้างโครงสร้างหลักให้กับการใช้ไพรเวทคลาวด์ในองค์กร เพราะ HCI สามารถผสานรวม และทำการเวอร์ชวลไลซ์การประมวลผลในดาต้าเซ็นเตอร์ สตอเรจ และเน็ตเวิร์คต่าง ๆ ไว้ใช้ในเซิร์ฟเวอร์ฮาร์ดแวร์มาตรฐาน ที่ใช้กันทั่วไปในท้องตลาด ดังนั้นจึงลดเวลาในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่กำกับการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined infrastructure) ที่มีความจำเป็นต่อการใช้ไพรเวทคลาวด์ลงได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถขยายสมรรถนะได้อย่าง รวดเร็ว เป็นการเน้นประโยชน์ด้านความสามารถในการปรับขนาดการทำงานซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์
วงการไอทีไทยล้ำหน้าประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และในระดับโลกในการใช้ HCI โดยที่เกือบ 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจรายงานว่า มีการใช้งาน HCI แบบเต็มรูปแบบและอยู่ในกระบวนการนำ HCI ไปใช้งาน ในขณะที่อีก 23% วางแผนที่จะนำ HCI ไปใช้ในอีก 12-24 เดือนข้างหน้า (ตารางที่ 4)
> จุดเด่นและความท้าทายของไฮบริดคลาวด์
เหตุใดแผนกไอทีจึงยังคงพิจารณาให้โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์เป็นตัวเลือกที่อยู่ในอันดับแรก ๆ
ผลสำรวจจากรายงานต่อคำถามนี้ พบว่าโดยรวมแล้วแรงจูงใจหลักในการใช้ไฮบริดคลาวด์ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานและวิธีดำเนินธุรกิจมากกว่าเรื่องการลดต้นทุน ถึงแม้ว่าการลดต้นทุนจะเคยเป็นแรงจูงใจแรกที่ทำให้เกิดการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเมื่อหลายสิบปีก่อนก็ตาม
เพิ่มผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจ
ผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกระบุุว่าพวกเขากำลังโบกมือลารูปแบบการใช้งานไอทีในปัจจุบันตลอดไป เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีกว่า ศักยภาพหลัก ๆ ที่ผู้ตอบแบบสำรวจระบุให้เห็นอย่างชัดเจน คือ สามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรด้านไอทีได้ทั้งหมด สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และ
มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แม้ว่าผู้ตอบแแบบสำรวจในประเทศไทยส่วนมากเห็นด้วยกับผลสำรวจระดับโลกนี้ แต่พวกเขาให้น้ำหนักกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทันสมัยขึ้น ดังนี้
1. ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ (79% vs 51% ระดับโลก)
2. ความสามารถในการควบคุมการใช้งานทรัพยากรไอทีได้มากขึ้น (67% vs 58% ระดับโลก)
3. ความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ (66% vs 55% ระดับโลก)
(ตารางที่ 5) แสดงให้เห็นถึงเหตุผลในการโยกย้ายไปใช้ระบบคลาวด์ในไทยที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆเมื่อถามผู้ตอบแบบสำรวจในไทยถึงเหตุผลในการย้ายไปใช้คลาวด์ 67% ระบุว่าการสนับสนุนลูกค้าทำได้ดีกว่าเป็นหนึ่งในสามเหตุผลหลัก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับโลกที่ 46% นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจไทยยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ความสามารถในการรองรับการทำงานจากระยะไกล และการไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นสำคัญต่าง ๆ บนบริการคลาวด์รายอื่น ๆ
เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายขององค์กรเหล่านี้ มีคำถามว่าทำไมทีมไอทีถึงเชื่อมโยงประโยชน์ต่าง ๆ ที่แสดงอยู่ในตารางที่ 5 กับโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ ซึ่งคำตอบบางส่วนอาจซ่อนอยู่ที่การให้คำจำกัดความว่าไฮบริดคลาวด์ที่แท้จริงคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง
ใช้เวิร์กโหลดบนระบบที่เหมาะสม
ผลสำรวจองค์กรระดับโลกระบุอย่างชัดเจนว่า พวกเขาต้องการอิสระในการวางเวิร์กโหลดต่าง ๆ ให้ทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่เหมาะสมกับตนที่สุด ซึ่งจะใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเลือกวางเวิร์กโหลดไว้บนระบบที่ “ดีที่สุด” อาจสามารถกำหนดได้ตลอดเวลา โดยพิจารณาจากความต้องการใช้ทรัพยากรไอที ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ความกดดันจากการที่ต้องส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ตลาดให้ได้ในเวลาที่เหมาะสม ค่าใช้จ่าย และตัวแปรอื่น ๆ คลาวด์ที่เหมาะสมในเวลานั้นอาจเป็นไพรเวทหรือพับลิคคลาวด์ และเมื่อใดก็ตามที่ความต้องการในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไป องค์กรย่อมต้องการความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดไปมาระหว่างคลาวด์สองประเภทนี้
พื้นฐานของไฮบริดคลาวด์ คือ โครงสร้างพื้นฐานไพรเวทและพับลิคคลาวด์ที่สามารถทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชั่นและเวิร์กโหลดได้อย่างไม่ติดขัด ด้วยการบริหารจัดการที่ไม่ซับซ้อนและมีระบบความปลอดภัยที่มีแบบแผนชัดเจน เป็นการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสภาพแวดล้อมคลาวด์ทั้งหมด โดยที่ทั้งพนักงานผู้ใช้งานและบุคลากรไอทีไม่จำเป็นต้องมองเห็นการจัดการเหล่านี้
ผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าต้องการคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมไอทีที่เอื้อให้เกิดประโยชน์มากมาย รวมถึงความเร็วและความยืดหยุ่นที่ดีขึ้นในการใช้ทรัพยากรไอทีมากน้อยได้ตามความต้องการ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ การทำงานจากระยะไกล และการนำเสนอศักยภาพด้านดิจิทัลที่รวดเร็วที่ทั้งพนักงานและลูกค้าคาดหวัง แม้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจจะลดความสำคัญของแรงจูงใจ
ในการใช้คลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดค่าใช้จ่ายลง แต่ความสามารถในการมองเห็นความเป็นไปของทรัพยากรไอทีทั้งหมดที่อยู่ทั้งบนคลาวด์ประเภทต่าง ๆ หรือที่อยู่ในระบบภายในขององค์กร รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดไปใช้บนสภาพแวดล้อมที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ จะช่วยให้ทีมไอทีใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่าและสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรขององค์กรได้อย่างรัดกุม
อุปสรรคในการใช้งาน
ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่รวมถึงในประเทศไทยระบุว่าพวกเขาอยู่ในกระบวนการย้ายไปใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ แน่นอนสำหรับองค์กรส่วนใหญ่กระบวนการนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในข้ามคืน แอปพลิเคชั่นรูปแบบเก่า อาจต้องเก็บอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานเก่าระยะหนึ่ง หรือต้องใช้ผู้มีทักษะในการปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชั่น ซึ่งองค์กรนั้น ๆ อาจจะไม่มีผู้มีทักษะนี้อยู่เลย
ในทุกปีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่าข้อกังวลด้านความปลอดภัยและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องนับเป็นสององค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจ และเป็นความท้าทายสูงสุดในการใช้คลาวด์ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ 51% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่า การผสานรวมข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นความท้าทายที่กังวลมากกว่าระบบความปลอดภัยซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 44% ในขณะที่ตัวเลขความกังวลเรื่องความปลอดภัยในระดับโลกอยู่ที่ 51%
มากกว่าสองในสามของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยยังระบุว่าการทำงานแยกส่วนกันเป็นไซโลของทีมงานด้านพับลิคและไพรเวทคลาวด์นับเป็นความท้าทาย ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจเฉลี่ยทั่วโลก 12 เปอร์เซ็นเทจพอยต์
ศักยภาพในการโยกย้ายแอปพลิเคชั่นไปมาระหว่างไพรเวทและพับลิคคลาวด์ รวมถึงการใช้งานแอปพลิเคชั่น ได้แบบโมบิลิตี้บนสภาพแวดล้อมคลาวด์ทุกประเภท คือคุณสมบัติหลักของไฮบริดคลาวด์ที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าประเด็นดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในรายการความท้าทายในรายงานฉบับนี้ ที่น่าสนใจคือ แม้ว่าในขณะที่ในประเทศไทยตระหนักถึงความท้าทายด้านการผสานรวมและบริหารเวิร์กโหลดในสภาพแวดล้อมคลาวด์ที่แตกต่างกัน แต่ประเด็นที่เชื่อมโยงกับการใช้โมบิลิตี้แอปพลิเคชั่นกลับอยู่ในลำดับที่ 7 ของรายการความท้าทายต่าง ๆ
เหตุผลหนึ่งที่อาจมีส่วนทำให้ผลสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ คือ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในไทย (48%) กล่าวว่าพวกเขารู้สึกว่าการย้ายแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์ง่ายขึ้นในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับในภูมิภาคอื่น ๆ (ตารางที่ 7)
ดังนั้น ในขณะที่ 55% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยคาดหวังว่าศักยภาพด้านการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชั่นไปมาระหว่างคลาวด์ต่าง ๆ จะมีการพัฒนาขึ้น 20% ยังคงเชื่อว่ามันจะยังคงมีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสองเท่าของตัวเลขระดับโลกที่อยู่ที่ 12%
เมื่อมาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจว่าจะใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบใดดี ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ระบุเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการตอบโจทย์ด้านกฎระเบียบเป็นปัจจัยแรกในการตัดสินใจ ที่ตามมาติด ๆ คือเรื่องของความคุ้มค่าการลงทุน (ตารางที่ 9) แม้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจในไทยเห็นด้วยกับคำตอบดังกล่าว แต่ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยยังให้ความสำคัญต่อเรื่องงบประมาณด้านค่าใช้จ่ายในการลงทุนว่าเป็นปัจจัยหลักสูงกว่าผลสำรวจในระดับภูมิภาคค่อนข้างมาก
> แนวโน้มการใช้แอปพลิเคชั่น
แผนระยะสั้นของการใช้คลาวด์ของปี 2561 และ 2562 แตกต่างกันอย่างมาก โดยเกือบสามในสี่ (73%) ของผู้ตอบแบบสำรวจในปี 2562 รายงานว่ากำลังย้ายแอปพลิเคชั่นจำนวนหนึ่งจากพับลิคคลาวด์กลับไปยังไพรเวทคลาวด์ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนของการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขี้นเล็กน้อยจากปี 2561 ถึง 2562 ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นเหตุผลว่าทำไมในปี 2563 เราจึงติดตามผลด้วยคำถามเป้าหมายและเพื่อค้นพบแรงจูงใจในการนำแอปพลิเคชั่นกลับมาใช้บนดาต้าเซ็นเตอร์ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงการตัดสินใจว่าจะใช้แอปพลิเคชั่นที่ใดในวันนี้ และในอนาคต
โดยส่วนใหญ่การย้ายแอปพลิเคชั่นจากพับลิคคลาวด์ไปยังโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมมักจะมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลมากกว่าเมื่อเงื่อนไขการใช้ทรัพยากรไอทีคาดการณ์ได้ ผลสำรวจพบว่า 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเลือกเหตุผลนี้เมื่อจะย้ายแอปพลิเคชั่นไปที่ดาต้าเซ็นเตอร์ และอยู่ในอันดับที่ 6 (ตารางที่ 10) เหตุผลอื่น ๆ ที่มีการกล่าวถึงบ่อยครั้ง (และมีสัดส่วนสูงกว่า ค่าเฉลี่ยระดับโลกอย่างมีนัยสำคัญ) รวมถึงความสามารถในการพัฒนาความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (71%) และความสามารถในการควบคุมแอปพลิเคชั่นได้มากขึ้น (63%)
ตารางที่ 11 แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสำรวจในไทยใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ใดบ้างระหว่างปี 2562 และ 2563 เปรียบเทียบกับผลสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และระดับโลก ในขณะที่มีการใช้งานแอปพลิเคชั่นกระจายใกล้เคียงกันในระดับโลก แต่ในประเทศไทยมากกว่าครึ่ง (51%) ระบุว่าปัจจุบันใช้งานแอปพลิเคชั่นบนพับลิคคลาวด์
ในขณะที่คาดการณ์ว่าการใช้พับลิคคลาวด์ระดับโลกจะสูงขึ้น ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยรายงานว่ามีแผนการใช้งานแอปพลิเคชั่นบนพับลิคคลาวด์มากขึ้นในปี 2564 (ตารางที่ 12)
> ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการใช้ไอที
76% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกกล่าวว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้ในองค์กรของตนมองการใช้ไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น และมากกว่าสี่ในห้า (82%) ของบริษัทผู้ตอบแบบสำรวจในไทยเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ ในหลาย ๆ กรณี การแพร่ระบาดนี้บังคับให้ฝ่ายไอทีต้องใช้คลาวด์เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีพร้อมรับมือกับจำนวนพนักงานที่ต้องทำงานจากที่บ้านที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อขอให้มองย้อนไป 1 ปี 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยรายงานว่า ไม่มีพนักงานคนใดทำงานจากที่บ้านเป็นประจำ (ตารางที่ 13) แต่เมื่อได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตัวเลขผู้ตอบแบบสำรวจในประเด็นนี้ลดลงจาก 40% มาอยู่ที่ 17% ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่าหลังสถานการณ์โควิดพนักงานจำนวนมากยังคงต้องทำงานจากบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่า จะมีการกลับมาทำงานที่สำนักงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
ผู้ตอบแบบสำรวจทุกคนกล่าวว่าด้วยผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 ทำให้ต้องลงทุนในระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยและอยู่อันดับต้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับโลกในการลงทุนใหม่ ๆ ด้านไฮบริดคลาวด์ อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยรายงานอย่างมีนัยสำคัญว่าจะลงทุนเพิ่มทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์เมื่อเทียบกับผลสำรวจระดับภูมิภาคและระดับโลก (ตารางที่ 14)
(ตารางที่ 15) การแพร่ระบาดเป็นยังเชื้อเพลิงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับความสำคัญเร่งด่วน เมื่อมีการสอบถามเกี่ยวกับความจำเป็นของไอทีในอีก 12 ถึง 18 เดือนจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยให้คะแนนทุกรายการที่ระบุในตารางที่ 15 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก
> บทสรุป
บริษัทในประเทศไทยที่ตอบแบบสำรวจในปีนี้ นิยมโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และจากทั่วโลก เช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสำรวจทั่ว ๆ ไป ประเทศไทยใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ไพรเวทคลาวด์ และพับลิคคลาวด์ ที่ยังไม่ได้มีการผสานการทำงานร่วมกัน ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยได้ระบุถึงเส้นทางเดินสู่การใช้ไฮบริดคลาวด์ของตน ด้วยการขยายการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานแบบมัลติพับลิคคลาวด์ในปีแรก หลังจากนั้นภายในปีที่สามจะใช้รูปแบบคลาวด์แบบผสมแต่ยังไม่ผสานการทำงานเข้าด้วยกัน
ในที่สุดสภาพแวดล้อมเหล่านี้ก็จะมารวมกันเป็นไฮบริดคลาวด์ ซึ่งเป็นระบบที่แอปพลิเคชั่นและเวิร์กโหลดสามารถเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างคล่องตัว มีการบริหารจัดการและการรักษาความปลอดภัยที่มีแบบแผนเป็นหนึ่งเดียว ผู้ตอบแบบสำรวจในไทยรายงานว่ามีการใช้ HCI ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการเปลี่ยนผ่าน หรือแทนที่ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีไพรเวทคลาวด์ 67% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทย กล่าวว่าจะใช้ไฮบริดคลาวด์เพียงอย่างเดียวภายในห้าปีต่อจากนี้ (เพิ่มขึ้น 63 เปอร์เซ็นเทจพอยต์จากปัจจุบันที่ 4%)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากใช้โครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานของพนักงานจำนวนมากจากที่บ้านได้อย่างรวดเร็ว และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และเครื่องมือต่าง ๆ มากขึ้น และในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงด้านนี้มากกว่าที่อื่น ๆ นั่นหมายถึงสถานการณ์โควิด-19 มีส่วนทางอ้อมในการใช้ไฮบริดคลาวด์และการริเริ่มด้านดิจิทัลต่าง ๆ
COMMENTS