--> Kaspersky เผยโจรไซเบอร์ ใช้การระบาดของโควิดและวัคซีน โจมตีธนาคารและธุรกิจคริปโตในอาเซียน | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยโจรไซเบอร์ ใช้การระบาดของโควิดและวัคซีน โจมตีธนาคารและธุรกิจคริปโตในอาเซียน

แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ได้เปิดโปงการคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุดในอุตสาหกรรมการธนาคารและบริการทางการเงินที่ควรระวัง เนื่องจากการระบาดใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 


ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ได้ตั้งข้อสังเกตุถึงแนวโน้มหลักที่พบเห็นในโลกไซเบอร์เมื่อปีที่แล้วและจะดำเนินต่อไปในปี 2564 นี้ ซึ่งรวมถึงการใช้ธีม COVID-19 ในทางที่ผิด การหาประโยชน์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาด และการหลอกลวงและให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสและวัคซีน

นายซองซู ปาร์ค นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก (ทีม GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ ระบุว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ก่อภัยคุกคามจะยังคงใช้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการระบาดครั้งใหญ่นี้เพื่อหลอกล่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และแม้ว่าจะมีวัคซีนแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังคงไม่แน่นอน ประเทศต่างๆ ยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์ จัดการเรียนการสอนและการทำงานออนไลน์ และการใช้จ่ายเงินดิจิทัลที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียังมีการขยายตัว และยังเปิดช่องโหว่สำหรับภัยคุกคามที่กำหนดเป้าหมายนอกเหนือจาก Windows และอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ตลอดจนการโจมตีมัลติแพลตฟอร์มและซัพพลายเชน”

เมื่อปีที่แล้ว แคสเปอร์สกี้ตรวจพบการเชื่อมต่อโดเมนและเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายที่เกี่ยวข้องกับ COVID มากกว่า 80,000 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซียมีตัวเลขสูงสุด ตามมาด้วยเวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงปี 2564 เนื่องจากภูมิภาคนี้ยังคงต่อสู้กับการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และมีการเปิดตัววัคซีนในระยะแตกต่างกัน

กลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์กำหนดเป้าหมายไปที่ธนาคาร การแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอร์เรนซี่) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ธนาคารยังคงเป็นเป้าหมายที่ดึงดูดฝ่ายตรงข้ามในโลกไซเบอร์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จากข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ เปิดเผยว่า ธนาคารและสถาบันการเงินเป็นกลุ่มเป้าหมายอันดับสองและสามในปีที่แล้วทั่วโลก

หนึ่งในแคมเปญที่แยกออกจากเป้าหมายธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือมัลแวร์ “เจเอสเอ้าต์พร็อกซ์” (JsOutProx) แม้ว่าปัจจุบันมัลแวร์นี้จะไม่ใช่สายพันธุ์ที่มีความซับซ้อนสูง แต่ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ตั้งข้อสังเกตว่า แคมเปญนี้ยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแทรกซึมธนาคารในภูมิภาค

อาชญากรไซเบอร์ที่อยู่เบื้องหลังมัลแวร์โมดูลนี้ใช้ประโยชน์จากชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และใช้ไฟล์สคริปต์ที่คลุมเครือ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการต่อต้านการหลบเลี่ยง เทคนิควิศวกรรมสังคมนี้ใช้เพื่อล่อลวงพนักงานธนาคาร และเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์เข้าไปอยู่ในเครือข่ายของธนาคารได้

นายซองซูกล่าวเสริมว่า “เมื่อ JSOutProx เข้ามาในเครือข่ายแล้ว จะสามารถโหลดปลั๊กอินเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการที่เป็นอันตรายต่อเหยื่อ รวมถึงการเข้าถึงระยะไกล การขโมยข้อมูลที่ต้องการ การครอบครองเซิร์ฟเวอร์คำสั่งและการควบคุม (C2) และอื่น ๆ อีกมากมาย”

เป้าหมายอื่นๆ สำหรับอาชญากรไซเบอร์คือธุรกิจสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) ที่เกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลพุ่งสูงขึ้น กลุ่มภัยคุกคามทางไซเบอร์จำนวนมากก็กำลังมุ่งโจมตีธุรกิจนี้ทางออนไลน์

เมื่อเร็วๆ นี้นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า การแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ถูกละเมิด จากผลการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด ยืนยันว่ากลุ่มลาซารัส (Lazarus group) อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้ที่ตรวจพบในสิงคโปร์

ภัยคุกคามอื่นที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลคือแคมเปญ “สแนตช์คริปโต” (SnatchCrypto) ดำเนินการโดยกลุ่ม BlueNoroff ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของลาซารัสที่มุ่งโจมตีธนาคารโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับการปล้นเงิน 81 ล้านดอลลาร์ จากธนาคารบังกลาเทศ 

แคสเปอร์สกี้ติดตามกลุ่มสแนตช์คริปโตนี้มาตั้งแต่ปลายปี 2562 และพบว่าผู้ก่อภัยคุกคามที่อยู่เบื้องหลังแคมเปญนี้กลับมาดำเนินการอีกครั้งด้วยกลยุทธ์ที่คล้ายกัน

ในแง่ของปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อธุรกิจนี้ นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “คริปโตเคอร์เรนซี่ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่อาชญากรไซเบอร์จะจับตามอง การเติบโตของคริปโตเคอร์เรนซี่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการใช้อีคอมเมิร์ซและการชำระเงินแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น”

นายเซียงเทียงกล่าวเสริมว่า “เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินไปยังโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เราจึงได้เห็นการละเมิดข้อมูลและการโจมตีของแรนซัมแวร์จำนวนมากเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นคำเตือนสำหรับสถาบันการเงินและผู้ให้บริการการชำระเงิน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการด้านการธนาคารและการเงินที่ต้องตระหนักถึงความจำเป็นของการป้องกันเชิงรุกโดยใช้ข้อมูลอัจฉริยะ เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ตั้งแต่ต้นก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่าสูง”

กลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์กลุ่มสุดท้ายที่นายซองซูระบุคือ “คิมสุกี” “Kimsuky” แคสเปอร์สกี้ได้รายงานเกี่ยวกับ APT นี้เป็นครั้งแรกในปี 2013 และตั้งแต่นั้นมาก็พบการพัฒนาในแง่ของกลยุทธ์เทคนิคและเหยื่อวิทยา โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายโจมตีเป็นกลุ่มนักคิดในเกาหลีใต้เพื่อทำจารกรรมไซเบอร์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้มีความคล่องตัวและมีแรงจูงใจทางการเงินที่สูงมาก

“เราเฝ้าติดตามสถานะของ Kimsuky ในเกาหลีใต้มาโดยตลอด การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า กลุ่มนี้กำลังใช้เทคนิคการแทรกซึมสองแบบนั่นคือ การโจมตีด้วยสเปียร์ฟิชชิ่งและการโจมตีซัพพลายเชน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด กลุ่มนี้ได้กำหนดเป้าหมายเป็นนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัล เพื่อขุดเจาะข้อมูลและเพื่อการเข้าถึงระยะไกล เมื่อกลุ่มนี้แสดงแรงจูงใจทางการเงินที่สูงมาก จึงมีความเป็นไปได้สูงที่การโจมตีจะไปไกลกว่าเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคใกล้เคียง เช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อปรับปรุงการป้องกันทางไซเบอร์ของธนาคารและองค์กรการเงิน ดังนี้

ผสานการทำงานของ Threat Intelligence เข้ากับ SIEM และการควบคุมความปลอดภัยเพื่อเข้าถึงข้อมูลภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบันที่สุด

จัดการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยสำหรับพนักงานเป็นประจำ โดยเป็นการฝึกอบรมเฉพาะบุคคล เช่น Kaspersky Adaptive Online Training (KAOT) ซึ่งใช้แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ โดยคำนึงถึงความสามารถและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน

ใช้ซอฟต์แวร์ตรวจสอบปริมาณการใช้งานหรือทราฟฟิก เช่น Kaspersky Anti Targeted Attack Platform (KATA)

ติดตั้งการอัปเดตและแพตช์ล่าสุดสำหรับซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้ในองค์กร

ห้ามติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จัก

ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับการตรวจจับและการตรวจสอบระดับเอ็นด์พอยต์ และการแก้ไขเหตุการณ์อย่างทันท่วงที แนะนำให้ใช้โซลูชัน EDR เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response ซึ่งสามารถตรวจจับแม้กระทั่งมัลแวร์ธนาคารที่ไม่รู้จัก

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,233,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,261,Marketing,152,Mobile Device,1107,Motorbike,33,PR News,293,PropTech,53,Real Estate,281,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยโจรไซเบอร์ ใช้การระบาดของโควิดและวัคซีน โจมตีธนาคารและธุรกิจคริปโตในอาเซียน
Kaspersky เผยโจรไซเบอร์ ใช้การระบาดของโควิดและวัคซีน โจมตีธนาคารและธุรกิจคริปโตในอาเซียน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimwt6Aa1EwbSgovxUr_di_pDj6LhYb_KdTL1Brc7UlEAeiPpp8G4kZreG_B9ffaTUqDijhrTqM_jj75Hv-NdqnuBkVuSM0EP4_pkoxCzlIaBgwl4J_w5OONn_sC5ENLew09bdJz25EECM/s16000/Kaspersky_APT2020.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimwt6Aa1EwbSgovxUr_di_pDj6LhYb_KdTL1Brc7UlEAeiPpp8G4kZreG_B9ffaTUqDijhrTqM_jj75Hv-NdqnuBkVuSM0EP4_pkoxCzlIaBgwl4J_w5OONn_sC5ENLew09bdJz25EECM/s72-c/Kaspersky_APT2020.png
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2021/03/kaspersky-asean-bank-crypto-attacked.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2021/03/kaspersky-asean-bank-crypto-attacked.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy