--> Kaspersky เผยสถิติ Ransomware ปี 2020 โจมตี SMB ในอาเซียนลดลง แต่มีเป้าหมายและอันตรายมากขึ้น | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยสถิติ Ransomware ปี 2020 โจมตี SMB ในอาเซียนลดลง แต่มีเป้าหมายและอันตรายมากขึ้น

แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก รายงานว่าในปี 2020 จำนวนความพยายามในการโจมตีธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ด้วยแรนซัมแวร์ลดลงอย่างมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับปี 2019

จากรายงาน Kaspersky Security Network (KSN) ฉบับล่าสุด ระบุว่ามีความพยายามในการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์น้อยกว่าหนึ่งล้านครั้ง (804,513 ครั้ง) ในปี 2020 ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปี 2019 ซึ่งมีการตรวจจับได้มากกว่า 1.9 ล้านครั้ง

ในบรรดาหกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่มีจำนวนการตรวจจับแรนซัมแวร์ที่เพิ่มขึ้น โดยมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2,275 ครั้งในปี 2019 เป็น 3,191 ครั้งในปี 2020

แม้ว่าอินโดนีเซียจะมียอดการตรวจจับแรนซัมแวร์สูงสุดในภูมิภาคและอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก แต่ปริมาณการตรวจจับปีก่อนจำนวน 1,158,837 ครั้งนั้นลดลงเหลือ 439,473 ครั้ง แนวโน้มของเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่ลดลงพบได้ในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเช่นกัน ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย

จีนยังคงอยู่ในอันดับหนึ่งเรื่องปริมาณการตรวจจับแรนซัมแวร์ทั่วโลกทั้งในปี 2019 และ 2020 ในขณะเดียวกัน บราซิลและสหพันธรัฐรัสเซียสลับอันดับที่สองและสามกัน โดยบราซิลเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี 2020

นายเฟเดอร์ ซินิตซิน นักวิจัยด้านความปลอดภัย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เมื่อได้ดูสถิติของแรนซัมแวร์แต่ละตระกูล พบจำนวนการตรวจจับโดยรวมที่ลดลง ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากจำนวนการตรวจจับ WannaCry ที่ลดลง ซึ่งตระกูล WannaCry นี้เป็นสัดส่วนสำคัญของแรนซัมแวร์ที่ตรวจพบทั้งหมด เนื่องจากผู้สร้างแรนซัมแวร์ไม่ได้รับการสนับสนุนมานานกว่าสามปีและมีสถานะเป็นซอมบี้”

หนึ่งในภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับ SMB ในภูมิภาคนี้ยังคงเป็นแรนซัมแวร์ ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาเพื่อแพร่กระจายในคอมพิวเตอร์ขององค์กรและบุคคลทั่วไป จากนั้นจะเข้ารหัสข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และบล็อกการเข้าถึง จากนั้นผู้โจมตีแรนซัมแวร์จะเรียกร้องค่าไถ่จากเหยื่อ เพื่อแลกกับการทำให้ระบบกลับมาทำงานได้อีกครั้ง

การโจมตีของแรนซัมแวร์อาจลดลง แต่แคสเปอร์สกี้ได้ออกคำเตือนถึงบริษัททุกรูปแบบและทุกขนาด เรื่องกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของ “Ransomware 2.0” หรือแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมาย

ภัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นี้ไปไกลกว่าการลักข้อมูลเรียกค่าไถ่ ขณะนี้กลุ่มแรนซัมแวร์ที่เป็นอันตรายกำลังดำเนินการขุดเจาะข้อมูลควบคู่ไปกับการแบล็กเมล์ อาชญากรไซเบอร์ใช้ “กลยุทธ์กดดัน” ขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลที่มีสู่สาธารณะทำให้เหยื่อต้องจ่ายค่าไถ่เพื่อปกป้องชื่อเสียงอันมีค่ายิ่งขึ้นไปอีก

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เราไม่ควรนิ่งนอนใจกับปริมาณการตรวจจับแรนซัมแวร์ที่ลดลง ตั้งแต่ปีที่แล้วเราได้ติดตามวิวัฒนาการของภัยคุกคามนี้ ปัจจุบันเราต้องกังวลกลุ่มแรนซัมแวร์ในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ จากที่เคยหว่านมัลแวร์สุ่มสี่สุ่มห้าและรอให้ผู้ใช้ที่ไม่ระวังความปลอดภัยมาติดกับ ผู้โจมตีได้เปลี่ยนใช้วิธีการรุนแรงและพุ่งเป้าเจาะจงไปที่เหยื่อมากขึ้น”

“กลุ่มแรนซัมแวร์ที่กำหนดเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียวสามารถรุกล้ำบริษัทมากกว่า 61 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อปีที่แล้ว และด้วยการเร่งให้เกิดดิจิทัลของธุรกิจในภูมิภาคนี้ เรายังคาดการณ์ว่าความซับซ้อนเบื้องหลังวิธีการโจมตีจะเพิ่มขึ้น SMB และองค์กรต่างๆ ควรพิจารณาเทคโนโลยีที่ใช้ข้อมูลอัจฉริยะอย่างจริงจัง เพื่อการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองระดับเอ็นด์พอยต์” นายโยวกล่าวเสริม

แคสเปอร์สกี้เสนอโปรโมชั่นประหยัดสำหรับโซลูชั่น Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum (KEDRO) เพื่อช่วยให้ SMB สามารถดูแลความปลอดภัยทรัพยากรและประหยัดงบประมาณไปพร้อมๆ กัน สำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันที่ใช้งานได้ใน 10-999 โหนดทั่วภูมิภาค จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ลูกค้าสามารถเริ่มใช้งานได้และประหยัดถึง 33% สำหรับไลเซ่นส์ 1 ปี และสูงสุด 40% สำหรับไลเซ่นส์ 3 ปี

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโมชั่นนี้ได้ที่ https://go.kaspersky.com/Kaspersky_EDRO_SEA_Promotion.html

วิธีการปกป้องคอมพิวเตอร์และข้อมูลจากการโจมตีของแรนซัมแวร์มีหลายวิธี แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำเคล็ดลับบางประการ ดังนี้

ไม่เปิดเผยบริการเดสก์ท็อประยะไกล (เช่น RDP) ในเครือข่ายสาธารณะ เว้นแต่จำเป็นจริงๆ และควรใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากเสมอ

ติดตั้งแพตช์ที่พร้อมใช้งานทันทีสำหรับโซลูชั่น VPN เชิงพาณิชย์ที่ให้บริการการเข้าถึงสำหรับพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล และทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ในเครือข่าย

อัปเดตซอฟต์แวร์ในทุกอุปกรณ์ที่ใช้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แรนซัมแวร์ใช้ช่องโหว่เพื่อโจมตี

เน้นกลยุทธ์การป้องกันในการตรวจจับการสแกนรอบๆ เครือข่ายและการขุดเจาะข้อมูลไปยังอินเทอร์เน็ต ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรับส่งข้อมูลขาออก เพื่อตรวจจับการเชื่อมต่อของอาชญากรไซเบอร์ สำรองข้อมูลเป็นประจำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำรองไว้ได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉินเมื่อจำเป็น ใช้ข้อมูล Threat Intelligence ล่าสุดเพื่อรับทราบข้อมูลวิธีการ เทคนิค และกระบวนการ (Tactics, Techniques and Procedures หรือ TTP) ที่ผู้ก่อคุกคามใช้

ใช้โซลูชัน เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response และ Kaspersky Managed Detection and Response ซึ่งช่วยระบุและหยุดการโจมตีในระยะแรกก่อนที่ผู้โจมตีจะบรรลุเป้าหมายสุดท้าย

เพื่อปกป้องสภาพแวดล้อมขององค์กร ควรให้ความรู้แก่พนักงาน หลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะสามารถช่วยได้ เช่น หลักสูตรที่มีให้ใน Kaspersky Automated Security Awareness Platform มีบทเรียนฟรีเกี่ยวกับวิธีป้องกันจากการโจมตีของแรนซัมแวร์

ใช้โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยปลายทางที่เชื่อถือได้เช่น Kaspersky Endpoint Security for Business ที่ขับเคลื่อนโดยการป้องกันการเอ็กซ์พลอต์ การตรวจจับพฤติกรรม และเครื่องมือแก้ไขที่สามารถย้อนกลับการกระทำที่เป็นอันตราย โซลูชั่น KESB ยังมีกลไกในการป้องกันตัวเอง ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้อาชญากรไซเบอร์ลบโซลูชั่นทิ้ง

ควรสำรองข้อมูลไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกแยกต่างหากเสมอ

หลีกเลี่ยงการเจรจาหรือจ่ายค่าไถ่ให้อาชญากรไซเบอร์

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,789,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1202,Motorbike,34,PR News,342,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยสถิติ Ransomware ปี 2020 โจมตี SMB ในอาเซียนลดลง แต่มีเป้าหมายและอันตรายมากขึ้น
Kaspersky เผยสถิติ Ransomware ปี 2020 โจมตี SMB ในอาเซียนลดลง แต่มีเป้าหมายและอันตรายมากขึ้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi159AE0oPVg-EVxuyx6yIY0nfk1hVmGVg75cIPH3jXPCMk5qPUZYZSvvZKtNnOUOyxRRt7inWl7RsXs3j5skAKTRpHRkIT4Z4T8t2_AUXQ4HRzhJMK1Pl0fB9z9x4ptCZzGi5hPcTvbZvd/s16000/ransomware_attacks.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi159AE0oPVg-EVxuyx6yIY0nfk1hVmGVg75cIPH3jXPCMk5qPUZYZSvvZKtNnOUOyxRRt7inWl7RsXs3j5skAKTRpHRkIT4Z4T8t2_AUXQ4HRzhJMK1Pl0fB9z9x4ptCZzGi5hPcTvbZvd/s72-c/ransomware_attacks.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2021/04/kaspersky-ransomware-2020-smb.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2021/04/kaspersky-ransomware-2020-smb.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy