--> ธุรกรรมการเงินในประเทศเพิ่มขึ้น Kaspersky แนะนำองค์กรปรับปรุงคลังข้อมูลภัยคุกคาม | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

ธุรกรรมการเงินในประเทศเพิ่มขึ้น Kaspersky แนะนำองค์กรปรับปรุงคลังข้อมูลภัยคุกคาม

การทำธุรกรรมการเงินดิจิทัลภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นในช่วงแพร่กระจายของโรคระบาด แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบุว่า การเติบโตนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับภาคการเงิน ในการบูรณาการการรักษาความปลอดภัยและการปรับปรุงความสามารถด้านคลังข้อมูลภัยคุกคาม

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “สำหรับอาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ เงินที่ได้มาอย่างง่ายดายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ และภาคธุรกิจการเงินอยู่ในจุดเฉพาะที่จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีตลอดเวลาเพราะเป็นแหล่งที่มีเงินอยู่เสมอ บริการทางการเงินดิจิทัลในประเทศไทยก็มีลักษณะการเติบโตเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ที่เริ่มก่อความเสี่ยงใหม่ๆ ให้กับทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยในกรณีนี้มีเทคโนโลยีจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม” 

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของระบบการเงิน เช่น พร้อมเพย์และการชำระเงินมาตรฐาน QR ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่จะเป็นรากฐานสำหรับธุรกรรมดิจิทัลเต็มรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคาร มีขั้นตอนที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น ผ่านการรับรองความถูกต้องระหว่างธนาคารผ่านแพลตฟอร์มการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ National Digital ID (NDID) อย่างไรก็ตามโครงการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผ่าน NDID กำลังอยู่ในการทดสอบอย่างจำกัดภายใต้แซนด์บ็อกซ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ประเทศไทยครองอันดับหนึ่งของโลกด้านการใช้งานแอปบริการธนาคารและการเงินในรายงาน Digital 2020 ของ We Are Social ฉบับล่าสุด โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี จำนวนสูงถึง 68.1% รายงานฉบับเดียวกันเปิดเผยว่าประเทศไทยครองอันดับสองด้านการชำระเงินผ่านมือถือ โดยมีผู้ใช้งาน 45.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30.9% 

แม้ว่าผู้บริโภคชาวไทยจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการล็อกดาวน์และการทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีธนาคารบางแห่งเท่านั้นที่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้

ข้อจำกัดดังกล่าวยังนำไปสู่การชำระเงินดิจิทัลและแพลตฟอร์มเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่พุ่งสูงขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ความสามารถทางเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินงานที่สร้างขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติงานของธนาคารต่อไปได้แม้ว่าจะมีการล็อกดาวน์ ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นใจในความอยู่รอดของธุรกิจ การควบคุมและการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แม้ว่าสถาบันการเงินจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็ว แต่การรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มและผู้ใช้ก็มีมูลค่ามากพอๆ กับนวัตกรรม

เมื่อปีที่แล้ว แอปธนาคารดิจิทัลของสหรัฐอเมริกาถูกโจมตีโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อ ShinyHunters ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากกว่า 7.5 ล้านคนถูกเปิดเผยสู่สาธารณะในโพสต์ฟอรั่มการแฮก เช่น ชื่อและหมายเลขประกันสังคม

องค์กรเกือบครึ่งหนึ่งมีปัญหาในการค้นหาความแตกต่างระหว่างภัยคุกคามจริงและผลบวกปลอม (false positives) ทีมรักษาความปลอดภัยจึงถูกปล่อยให้เป็น “คนตาบอด” แทนที่จะจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามที่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นการเปิดองค์กรให้รับการโจมตีอย่างไม่คาดคิด

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในทุกภาคส่วน มักจะนำเสนอความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธนาคารและบริการทางการเงิน ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการปฏิวัติทางดิจิทัล การใช้เกตเวย์การชำระเงินออนไลน์และ e-wallets จะดำเนินต่อและขยายตัวมากขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องรับผิดชอบอย่างมากในการรักษาความปลอดภัยระบบเวอร์ชวลของตน แต่ดิฉันมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถนำร่องสู่อนาคตได้ตราบเท่าที่ธนาคารได้สร้างการป้องกันทางไซเบอร์อย่างชาญฉลาดและปกป้องลูกค้าของตน”

นายโยวกล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันอุตสาหกรรมบริการทางการเงินต้องการโซลูชั่นที่ชาญฉลาดที่สุดในการตรวจจับและรับมือกับภัยคุกคามซับซ้อนที่ไม่มีวันหยุด Threat intelligence หรือคลังข้อมูลภัยคุกคามเป็นสิ่งที่ธุรกิจการเงินควรพิจารณาหากต้องการก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่อธุรกิจของตน”

เพื่อรักษาการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเชื่อมต่อ การระบุตัวตน และการชำระเงินแบบดิจิทัล ฟีดข่าวจากคลังข้อมูลภัยคุกคามที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในการติดตามการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นทั้งความถี่และความซับซ้อน

คลังข้อมูลภัยคุกคาม Threat intelligence สามารถระบุและวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรธุรกิจได้ โดยการตรวจสอบข้อมูลจำนวนมากเพื่อระบุปัญหาที่แท้จริงและปรับใช้วิธีแก้เฉพาะสำหรับปัญหาที่ค้นพบ

ทั้งนี้ อย่าสับสนระหว่าง “คลังข้อมูลภัยคุกคาม Threat intelligence” กับข้อมูลภัยคุกคามทั่วไปซึ่งเป็นรายการภัยคุกคามที่อาจเป็นไปได้ คลังข้อมูลภัยคุกคามคือข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีหรือเครื่องมือที่ซับซ้อนใช้ “อ่าน” และวิเคราะห์ภัยคุกคาม และใช้ความรู้เพื่อประมวลว่าเป็นภัยคุกคามจริงหรือไม่ และหากเป็นภัยคุกคามจริงจะต้องทำอย่างไร

ด้วยบริการ Threat Intelligence Services ของแคสเปอร์สกี้ องค์กรต่างๆ จะได้รับฟีดข้อมูลที่ครอบคลุมลิ้งก์ฟิชชิ่ง เว็บไซต์และอ็อบเจ็คที่เป็นอันตรายที่กำหนดเป้าหมายโจมตีไปยังแพลตฟอร์ม Android และ iOS

เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟน ธนาคารจึงสามารถเตือนลูกค้าได้อย่างง่ายดายเมื่อมีแคมเปญการโจมตีทางไซเบอร์ที่มักจะเกี่ยวข้องกับลิ้งก์ฟิชชิ่งในอีเมลที่อ้างตัวว่าเป็นธนาคาร

คลังข้อมูลภัยคุกคาม Threat Intelligence ที่เครื่องอ่านได้ในระบบข้อมูลความปลอดภัยและระบบการจัดการเหตุการณ์นี้ ยังช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถเรียกใช้การตอบสนองต่อเหตุการณ์อัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว และคัดกรองการแจ้งเตือนที่ต้องยกระดับเพื่อการตรวจสอบและแก้ไข

ฟีดข้อมูลนี้เป็นชุดข้อมูลที่มาจากโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ของแคสเปอร์สกี้ที่ชื่อ Kaspersky Security Network เว็บครอว์เลอร์ (web crawlers) แพลตฟอร์มเฉพาะที่ชื่อ Botnet Monitoring การดักจับรวบรวมข้อมูลอีเมล (email honeypots) ทีมวิจัย และพาร์ตเนอร์พันธมิตรทั่วโลกของแคสเปอร์สกี้

สำหรับอุตสาหกรรมอย่างเช่นบริการทางการเงิน คลังข้อมูลภัยคุกคาม Threat Intelligence จะมีประโยชน์พื้นฐานสามสิ่งดังนี้

1. ป้องกันข้อมูลสูญหาย - โปรแกรมคลังข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber threat intelligence - CTI) ที่มีโครงสร้างดี จะช่วยให้บริษัทของคุณสามารถตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจากการเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้

2. กำหนดทิศทางเกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัย – โดยการระบุและวิเคราะห์ภัยคุกคาม CTI จะระบุรูปแบบที่แฮกเกอร์ใช้ และช่วยให้องค์กรธุรกิจวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตีในอนาคตได้

3. แจ้งให้ผู้อื่นทราบ – แฮกเกอร์ฉลาดขึ้นทุกวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงแบ่งปันกลยุทธ์ที่เคยพบเจอแก่ชุมชนไอที เพื่อสร้างฐานความรู้ร่วมกันเรื่องการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์

ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนปี 2020 พบการโจมตีเพื่อเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (brute force attack) เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 24% ในความเป็นจริง แม้แต่องค์กรด้านสาธารณสุขและบริการที่จำเป็นอื่นๆ ก็ถูกกำหนดเป้าหมายโดยกลุ่มภัยคุกคามต่อเนื่องขั้นสูง (APT) ภัยคุกคาม APT บางรายการจะไม่ได้รายงานในทันที และบางส่วนไม่ได้ประกาศต่อสาธารณะ

การจัดการภัยคุกคามต้องใช้มุมมองเนื้อหารอบด้าน 360 องศา ข้อมูลที่ต้องมองหาในโปรแกรม Threat Intelligence มีดังนี้

1. สัญญาณบ่งชี้การบุกรุก (indicator of compromise หรือ IOC) - IOC เป็นพื้นฐานของคลังข้อมูลภัยคุกคาม เป็นข้อมูลที่สามารถวัดและรับรู้ได้เช่นเดียวกับไข้ที่แสดงอาการของโรคในร่างกาย มีบริการ IOC มากมาย แต่ในการเลือก IOC ที่ถูกต้อง คุณจะต้องรู้ว่าภัยคุกคามใดที่คุณน่าจะเผชิญมากที่สุด

2. ฟีดข้อมูลภัยคุกคาม – ฟีดข้อมูลจะให้ข้อมูลอัจฉริยะแบบบูรณาการ โดยการวิเคราะห์แนวการคุกคามที่กว้างขึ้น หากต้องการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรให้ถามตัวเองว่า เราต้องการฟีดข้อมูล APT หรือไม่หากเราไม่ได้เป็นเป้าหมายสำหรับกลุ่ม APT จุดที่ดีที่สุดในโครงสร้างพื้นฐานไอทีในการเพิ่มฟีดอยู่ที่ไหน เราควรปิดกั้นภัยคุกคามหรือเพียงแค่แจ้งเตือนทีมก็เพียงพอ? คำตอบของคุณนั้นจะขึ้นอยู่กับความปลอดภัยขององค์กรและกลยุทธ์ด้านไอที

3. แพลตฟอร์มคลังข้อมูลภัยคุกคาม - แพลตฟอร์มคลังข้อมูลภัยคุกคามจะช่วยให้คุณจัดการซอฟต์แวร์เฉพาะทางที่รองรับคอมโพเน้นต์ต่างๆ สิ่งที่คุณเลือกและวิธีการรวมบริการนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณและความต้องการทางธุรกิจของคุณ แม้ว่าจะมีฟีดข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์สอยู่ แต่คุณสามารถซื้อข้อมูลอัจฉริยะเฉพาะส่วนเพิ่มเติมได้ สิ่งสำคัญคือเมื่อคุณซื้อบริการคลังข้อมูลภัยคุกคาม คุณจะต้องเจาะลึกเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการสามารถตอบสนองทั้งในด้านคุณภาพของฟีดข้อมูล และความรวดเร็วเมื่อต้องตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตี

ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบนี้ การเลือกผู้ให้บริการและกลยุทธ์ที่มีการไตร่ตรองไว้เป็นอย่างดี SOC ขององค์กรจะได้รับประโยชน์จากการป้องกันเต็มรูปแบบและประสิทธิภาพของคลังข้อมูลภัยคุกคาม

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,791,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1202,Motorbike,34,PR News,345,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: ธุรกรรมการเงินในประเทศเพิ่มขึ้น Kaspersky แนะนำองค์กรปรับปรุงคลังข้อมูลภัยคุกคาม
ธุรกรรมการเงินในประเทศเพิ่มขึ้น Kaspersky แนะนำองค์กรปรับปรุงคลังข้อมูลภัยคุกคาม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivsJ6QH7qhAASMJKO6EeVWcpPIRMOvi7dDika4eovKqreRR20AQTuJYfbC4vZJr3HYOy9qyTNHLkCK3qmioZBgS0E6hfFanM8Svsfr2LjfeJchhHnke-ywn-Dtt5LD6OmOGjCAD6jFNGZx/s16000/185222462_259716932557444_2823997096411378933_n.jpeg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivsJ6QH7qhAASMJKO6EeVWcpPIRMOvi7dDika4eovKqreRR20AQTuJYfbC4vZJr3HYOy9qyTNHLkCK3qmioZBgS0E6hfFanM8Svsfr2LjfeJchhHnke-ywn-Dtt5LD6OmOGjCAD6jFNGZx/s72-c/185222462_259716932557444_2823997096411378933_n.jpeg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2021/05/kaspersky-threat-intelligence.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2021/05/kaspersky-threat-intelligence.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy