--> Ipsos เผยผลสำรวจ 80% ของคนไทยใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เผย 5 สิ่งคาดหวังจากภาคธุรกิจ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Ipsos เผยผลสำรวจ 80% ของคนไทยใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เผย 5 สิ่งคาดหวังจากภาคธุรกิจ


อิปซอสส์ เผยผลสำรวจ วิกฤตโควิด 4 ระลอก ส่งผลประชาชนทั้งภูมิภาคขาดความมั่นใจในอนาคตด้านการเงิน ชี้ 80% ของคนไทยระมัดระวังกับจำนวนเงินที่ใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น กระทบต่อกลุ่มสินค้าและธุรกิจ พร้อม 5 สิ่งที่คาดหวังจากภาคธุรกิจ ได้แก่

  • มาตรการความปลอดภัยและพ้นภัยโควิด 
  • ควบคุมราคาสินค้าและบริการตลอดจนภาวะเงินเฟ้อ 
  • มาตรการสนับสนุนเงินส่วนบุคคลและครัวเรือน  
  • สร้างงานและคุ้มครองการจ้างงาน  
  • ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน  

บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Ipsos (Thailand) Co.,Ltd.)  ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยรูปแบบ สร้างสรรค์ชิ้นงานที่ทำการออกแบบเฉพาะรายแบบครบวงจร Customized One Stop Research Solution Service ที่ได้พัฒนาโมเดลโซลูชั่นการวิจัยพร้อมใช้มากที่สุดถึง 75 โซลูชั่นสำหรับตลาดโลกและ 9 โมเดลโซลูชั่นสำหรับตลาดวิจัยไทย 

โดย นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ (Usana Chantarklum)  กรรมการผู้จัดการ  ได้เปิดเผย - ข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ “วิกฤตการณ์โควิด 4 ระลอก กับ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และทัศนคติ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมปัจจัยเพื่อการปรับตัวและวางแนวทางให้กับภาคธุรกิจและภาครัฐ” โดย อิปซอสส์ ได้ทำการศึกษาสถานการณ์นี้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2563 เพื่อให้รับรู้ถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคและพฤติกรรมต่างๆ ที่ต้องเผชิญท่ามกลางการแพร่ระบาดในตลาดสำคัญ 6 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย   ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ เวียดนาม และประเทศไทย รวม 6 ประเทศ

นางสาวอุษณา เปิดเผยว่า “ผลการศึกษานี้  จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบด้านทัศนคติ  อารมณ์ และพฤติกรรมการบริโภค ที่อยู่ท่ามกลางแพร่ระบาดของโควิดทั้ง  4 ระลอก พร้อมแนวโน้มอนาคต ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญช่วยให้ภาคตลาด ธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ  สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนล่วงหน้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น  โดยใช้วิธีการทำวิจัยที่ผสมผสานกับรูปแบบ Desk Research หรือ การวิจัยบนโต๊ะจากหลายแหล่ง โดยเน้นการใช้การการวิจัยของตลาดประเทศไทยโดยเฉพาะ  เพื่อให้ได้ภาพรวมของสถานการณ์ตลาดประเทศไทยที่สมบูรณ์ตามความเป็นจริงที่สุด  เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง ตลอดจนสภาพแวดล้อมครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้

  • ทางรอดของธุรกิจ และ ความคาดหวังของประชาชนจากภาครัฐ
  • แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ และ สถานการณ์การเงินส่วนบุคคล  
  • การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ
  • การระบาดที่กระทบต่อทางสุขภาพจิตและร่างกาย 
  • วัคซีนที่ล่าช้า และความไม่ชัดเจนของข่าวสาร 

จากสรุปผลรายงาน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกลงอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด19 ในระลอกที่ 1 ในเดือนมีนาคม 2563 และตกต่ำสุดในระลอก 3 ในปี 2564 ต่อเนื่องกับระลอก 4  โดยความปลอดภัยจากโควิด และความมั่นคงด้านการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกของคนไทย พร้อมการลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมด้านฐานะ เป็นสัญญาณที่ละเอียดอ่อนที่ภาครัฐต้องคำนึง 

1/3 ของคนไทย มองว่าสถานะด้านการเงินของตนเข้าขั้น “แย่” ชะลอซื้อของชิ้นใหญ่

นางสาวอุษณา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในส่วนแรกของสรุปผลการศึกษา จะชี้ให้เห็นถึง 5 ความคาดหวังของประชาชนในด้านต่าง ๆ ที่ต้องการจากภาครัฐ แล 5 สิ่งที่อยากได้จากภาคธุรกิจ อาทิ ความต้องการด้านความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ โควิด 19 และความมั่นคงด้านการเงิน  ความคาดหวังให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่มีบทบาทร่วมรับผิดชอบต่อสังคม พฤติกรรมการใช้จ่าย และการใช้ชีวิตที่มีการเปลี่ยนอย่างมากและรวดเร็ว ที่ส่งผลต่อกลุ่มสินค้าและภาคธุรกิจ  

สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเงินส่วนบุคคล นางสาวอุษณา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “คนไทยยังมีความกังวลและมีภาพที่ไม่ดีตอสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม และมีอัตราสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของภูมิภาค ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม มีอัตราความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศตนสูงสุด  ส่วนประเทศอื่น ๆ เฝ้าระวังและคาดหวังภาพที่ดี และประมาณ 1/3 ของคนไทย มองว่าสถานะด้านการเงินของตนเข้าขั้น “แย่” ซึ่งไทยถือเป็นสัดส่วนที่ตกต่ำสูงสุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  

ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ พบว่า การใช้จ่ายของคนไทยในปัจจุบัน จะจ่ายเงินเฉพาะกลุ่มสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น โดยตัดการใช้จ่ายกับสินค้าที่มีมูลค่า เพื่อความสะดวกสบาย เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ มีอัตราลดลงตั้งแต่การแพร่ระบาด โควิดระลอกที่ 3  

ทั้งนี้ สัดส่วนพฤติกรรมการจับจ่ายแสดงให้เห็นแตกต่างกันใน 4 ระดับ คือ ซื้อมากขึ้น / ไม่เปลี่ยนแปลง / ซื้อน้อยลง / และไม่ซื้อเลย โดยกลุ่มที่มีการซื้อมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ กลุ่มสินค้าเพื่อนำไปประกอบอาหารที่บ้าน กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล เป็น 3 กลุ่มสินค้าที่มีการซื้อสูงสุด

  • กลุ่มวัตถุดิบเพื่อทำอาหารที่บ้าน 52  : 37 : 10  : 1         
  • กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล      27 : 55 : 17 : 1          
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด  41 : 47 :11 : 1
  • เครื่องแต่งกายและรองเท้า    14 : 45 : 39  : 3
  • กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์      14 : 45 : 36  : 5
  • ภัตตาคาร-ร้านอาหาร-คาเฟ่  12 : 33 : 43 : 12
  • ท่องเที่ยว                    13 : 29 : 55 : 3
  • หนังสือ                      16 : 43 : 30 : 11 
  • กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม            9 : 41 : 43 : 8     
  • ของเล่น                    9 : 29 : 48 : 14
  • วีดีโอ เกม                16 : 31 : 37 : 16
  • แอลกอฮอล์             20 : 25 : 35 : 20

ส่วนความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การรวมญาติ ออกไปทานอาหารนอกบ้าน และท่องเที่ยวในประเทศ  โดยสัดส่วนของกิจกรรมที่ทำการสำรวจ คือ ไปเยี่ยมญาติและเพื่อนถึงบ้าน 41% ท่องเที่ยวภายในประเทศ 32% ไปภัตตาคาร-ร้านอาหาร 28% ใช้บริการขนส่งมวลชน 26% ไปโรงยิมหรือสถานออกกำลังกาย 24% ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 22% ท่องเที่ยวต่างประเทศ 20% ตามลำดับ

ช็อปปิ้งออนไลน์เฟื่อง ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยนิยมใช้จ่ายแบบไร้เงินสด กระแสใหม่ซื้อของผ่ารูปแบบไลฟ์สตรีมมิ้ง 82% เคยได้ยินแนวไลฟ์สตรีมมิ่ง 56% เคยร่วม และ 36% ตัดสินใจซื้อ

สำหรับพฤติกรรมการใช้จ่าย การแพร่ระบาดโควิดยาวนานกว่า 18 เดือน ได้เปลี่ยนพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคไปอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มคุ้นเคยกับการช็อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ และ จับจ่ายแบบไร้เงินสด  ตลอดจน มีการใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึน ทั้งนี้ กิจกรรมที่มีการขยายตัวอย่างมาก  คือ การซื้อสินค้าออนไลน์ การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดยังร้านค้าต่าง ๆ มองหางานอดิเรกใหม่ ๆ ใช้เวลากับครอบครัว ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียและการเข้าถึงสตรีมมิ่งคอนเท้นต์ (Netflix etc.) ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า จากการที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตกับครอบครัว และ การใช้เวลาบนโซเชียล มีเดีย ทำให้กิจกรรม 2 ส่วนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่สูงขึ้น

การวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในกิจกรรมเหล่านี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งระดับเป็น  -  เพิ่มมากขึ้น / ไม่มีการเปลี่ยนแปลง / น้อยกว่าหรือเท่าเดิม / ไม่เคยทำกิจกรรมนี้

  • ซื้อสินค้าออนไลน์                                      49 – 28 – 21 – 3
  • การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดยังร้านค้าต่าง ๆ  38 – 40 – 18 - 4 
  • มองหางานอดิเรกใหม่ ๆ                  37 – 35 – 20 - 8
  • ใช้เวลากับครอบครัว                        56 – 30 – 12 - 1
  • สังสรรค์กลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน    9 – 22 – 55 - 15
  • ใช้เวลาบนโซเชียลมีเดีย                          63 – 28 – 9 - 1
  • การเข้าถึงสตรีมมิ่งคอนเท้นต์ (Netflix etc.) 42 – 31 – 14 – 14
  • อ่านหนังสือและแมกกาซีน              24 – 39 – 25 - 12
  • ทำงาน / ศึกษา      18 – 54 – 23 - 5

สินค้าขายดี ช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง เครื่องแต่งกายและรองเท้า ทิ้งห่างอันดับรอง คือ อาหาร ตามมาด้วย สินค้าในครัวเรือน เครื่องดื่มมีเพียง 4% ที่นิยมซื้อผ่านช่องทางในรูปแบบนี้

สำหรับรูปแบบการช็อปปิ้งแนวไลฟ์สตรีมมิ่ง เป็นตัวที่มาอุดช่องว่างพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการจับจ่าย จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า 82% ของประชากรในกลุ่ม SEA เคยได้ยินเกี่ยวกับการช็อปปิ้งในรูปแบบนี้ และ 56% ของคนกลุ่มนี้ เคยเข้าร่วม โดยที่ 14% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนี้ มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้า  และ 36% ตัดสินใจซื้อสินค้า ทั้งนี้ กลุ่มสินค้ายอดฮิตที่มีการจับจ่ายผ่านรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่มีการซื้อขายสูงสุด ดังนี้

เครื่องแต่งกายและรองเท้า 51% อาหาร 15% ของใช้ส่วนบุคคลและความงาม 14% สินค้าในครัวเรือน 10% เครื่องดื่ม 4% ของเล่นและเกม 3% อื่น ๆ 2%

ภาพรวมความคาดหวังของประชากรใน SEA จากภาครัฐและภาคธุรกิจ

ภาพรวมความคาดหวังจากภาครัฐและภาคธุรกิจของประชากรใน SEA ผลสรุปรายงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนระดับภูมิภาคและความคาดหวังในประเทศไทย ทั้งนี้ ภาพรวมความคิดเห็นของประชากรใน SEA  เกี่ยวกับความมั่นใจในสถานการณ์ด้านการเงินส่วนบุคคล นับเป็นสถิติเฉลี่ย 76% โดย สิงค์โปร์ มีความมั่นใจสูงสุด ในอัตรา 83% ตามมาด้วย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ มั่นใจในอัตราเท่ากัน คือ 79%  มาเลเซีย 76%  อินโดนีเซีย 75% และประเทศไทย ความมั่นใจในเรื่องการเงินต่ำสุด ในอัตรา 64% (โดยที่คาดการณ์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ชาวฟิลิปปินส์จะมีความมั่นใจสูงสุด ขณะที่มาเลเซียอยู่ในอัตราต่ำสุด 

5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาครัฐ และ 5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาคธุรกิจ

เมื่อถามถึงเรื่องเร่งด่วนในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า ประเด็นที่ประชาชนคาดหวังสูงสุดจากภาครัฐ 5 อันดับแรก คือ มาตรการป้องกันพนักงานให้ปลอดภัยและพ้นภัยโควิด ควบคุมราคาสินค้าและบริการตลอดจนภาวะเงินเฟ้อ มาตรการเงินช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินให้ครัวเรือน สร้างงานและคุ้มครองการจ้างงาน เพิ่มและพัฒนาระบบสวัสดิการด้านสุขภาพในอัตรา 56% 36% 34% 26% 24% ตามลำดับ  

ส่วน 5 สิ่ง ความคาดหวังจากภาคธุรกิจ หลักๆ คือ ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจจะต้องนำมาพิจารณา เพื่อเตรียมแผนการรองรับใน 6 เดือนต่อไป โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ป้องกันพนักงานให้ปลอดภัยและพ้นภัยโควิด ควบคุมราคาสินค้าและบริการ จ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมให้พนักงาน มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการสร้างงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ้นด้วยการอุดหนุนสินค้าของพ่อค้าในท้องที่  ในอัตรา 53%, 46%, 41%, 30% และ 29% ตามลำดับ

ความคิดเห็นประชากรในภูมิภาค SEA ต่อบทบาทภาคเอกชนในการร่วมรับผิดชอบสังคม เวียดนามมีอัตราสูงสุด ถึง 96%  ไทย 80% มาเลเซีย รั้งท้าย 77%

สำหรับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ข้อมูลวิจัยเปิดเผยว่า 80% ของคนไทยมีความเห็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเหมาะสมตลอดสถานการณ์การแพร่ระบาด จากผลการสอบถามความคิดเห็น  เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในแต่ละประเทศ ต่างมีความเห็นว่า  เหล่าธุรกิจขนาดใหญ่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมถึงสถานการณ์ช่วงแพร่ระบาดโควิด 19 ดังนี้ เวียดนาม 96% ฟิลิปปินส์ 92% สิงค์โปร์  86% อินโดเนเซีย 86% ไทย  80% มาเลเซีย 77%

โควิด ส่งผลร้ายต่อสุขภาพทางจิต และร่างกาย 

ในแง่ของความเจ็บป่วยทางจิต จากการประชาชนต้องอยู่ท่ามกลางผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดมาเป็นเวลายาวนานต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยมีอัตราเสียสุขภาพจิตอย่างรุนแรงในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ถือเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสังเกตได้จากอัตราการฆ่าตัวตายเทียบเท่ายุควิกฤตการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540  ยิ่งกว่านี้ ความล่าช้าของวัคซีนและข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ตลอดจนข่าวบิดเบือนที่แพร่กระจายขยายวงกว้าง ได้สร้างความเข้าใจผิดในเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน กลายเป็นสาเหตุหลักของการลังเลใจในการรับวัคซีน ขณะที่ประเทศต่าง ๆ พร้อมใจรับการฉีดวัคซีนทันทีที่ให้บริการ แต่ประเทศไทยกลับตรงข้าม เห็นได้จากอัตราความลังเลใจที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบiระหว่างระลอก 3 กับระลอก 4 ที่ 79% และ 69% ติดลบ 10%  นางสาวอุษณา กล่าวปิดท้าย

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,231,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,261,Marketing,151,Mobile Device,1106,Motorbike,33,PR News,292,PropTech,53,Real Estate,281,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Ipsos เผยผลสำรวจ 80% ของคนไทยใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เผย 5 สิ่งคาดหวังจากภาคธุรกิจ
Ipsos เผยผลสำรวจ 80% ของคนไทยใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เผย 5 สิ่งคาดหวังจากภาคธุรกิจ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgmDM_tknRXSA3KVlE_H86qfph6sRCA8cN5VBGjkycK1URcGuznjDZV1sV7UlrWv5JufE4Tl0x954qHpW8aWRZHUl5o1ZmAeWLKA_IH_EpH6tIwYPUgngtuiNuyujxXPeY_sBhGYHYzb7ba/s16000/SEA+WAVE+4_Thailand_F.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgmDM_tknRXSA3KVlE_H86qfph6sRCA8cN5VBGjkycK1URcGuznjDZV1sV7UlrWv5JufE4Tl0x954qHpW8aWRZHUl5o1ZmAeWLKA_IH_EpH6tIwYPUgngtuiNuyujxXPeY_sBhGYHYzb7ba/s72-c/SEA+WAVE+4_Thailand_F.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2021/09/ipsos-thais-behavior-covid19-wave4.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2021/09/ipsos-thais-behavior-covid19-wave4.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy