บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
นูทานิคซ์เผยเทรนด์เทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมการทำงาน และการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง
ไฮบริดคลาวด์ - ไฮบริดเวิร์ก คือ ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จทุกแง่มุม
การถูกผูกมัดจากการใช้คลาวด์ใดคลาวด์หนึ่ง (cloud lock-in) จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความกังวลขององค์กร สืบเนื่องมาจากองค์กรต่าง ๆ มีการใช้งานพับลิคคลาวด์มากขึ้น แต่สถานการณ์นี้ก็จะขับเคลื่อนให้เกิดการใช้กลยุทธ์ไฮบริด มัลติ-คลาวด์ต่าง ๆ ตามมา เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัททั้งหลายได้ใช้เลือกใช้คลาวด์แต่ละประเภทที่มีความโดดเด่นได้ตามความเหมาะสม ทั้งยังมีอิสระและทางเลือกว่าจะให้แอปพลิเคชันและข้อมูลของตนทำงานอยู่บนคลาวด์ประเภทใดได้ด้วย
ปีนี้จะเป็นปีที่องค์กรเลือกใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้น เพราะการที่ทีมไอทีใช้เวิร์กโหลดบนคลาวด์หลายประเภท ทำให้ต้องมองหาวิธีที่จะทำให้คลาวด์ทุกประเภทที่ใช้อยู่ทำงานสอดคล้องกัน จึงมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถมัดรวมความต้องการหลากหลายไว้เป็นหนึ่งเดียวให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายต่าง ๆ มาตรการด้านความปลอดภัย และข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLAs)
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน Data Center and Cloud Service in Thailand, Board of Investment คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจะมีสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นของ GDP ของประเทศ ภายในปี 2570 และหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยคือบริการด้าน คลาวด์ต่าง ๆ ซึ่งความต้องการบริการเหล่านี้เกิดจากบริการดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว เช่น อี-คอมเมิร์ซ, การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และการสตรีมเนื้อหาดิจิทัล รวมถึงบริการใหม่ ๆ ที่กำลังจะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ ผู้บริโภคไทยกำลังผลักดันให้เกิดบริการดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นดิจิทัล และนั่นทำให้ความต้องการบริการดิจิทัลที่ทำงานบนคลาวด์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
เทคโนโลยีขับเคลื่อนแรงงานยุคใหม่
เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักให้กับทุกมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับบุคลากรรุ่นใหม่ เช่น การผลักดันให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, การทำงานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญคือช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัทใดก็ตามที่เรียนรู้วิธีการปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กล่าวมา จะมีความได้เปรียบเมื่อถึงเวลาที่ต้องการรักษาและโน้มน้าวพนักงานที่มีความสามารถสูงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
การระบาดของโควิด-19 กำลังลดระดับลง และพนักงานเริ่มกลับมาทำงาน ทำให้ทีมไอทีของบริษัทต่าง ต้องปรับตัวอีกครั้ง ซึ่งการปรับตัวครั้งนี้คือการจัดหาเครื่องมือใหม่ ๆ ให้กับทีมงานที่มีการทำงานแบบ ไฮบริดได้ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานที่พบเจอตัวกัน และการมีส่วนร่วมกับพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล
ปีแห่งการสร้างระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ
ทีมไอทีจะยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในระดับสูง โดยมีความปลอดภัยของข้อมูลเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ เนื่องจากมีการใช้ข้อมูลแบบไฮบริดแพร่หลายมากขึ้น ทีมไอทีจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ติดตามตรวจสอบและกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่าง ๆ
ปี 2565 จะเป็นปีแห่งการสร้างระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 และภัยคุกคามที่พุ่งเป้าไปยังระบบซัพพลายเชน ประสบการณ์ที่องค์กรได้รับจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วและมากมาย (hyper-digital) จะยังไม่จบ แต่จะเร่งความเร็ว และต้องการโซลูชันที่มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยเร็วขึ้น เพื่อให้บริการทีมงานที่ทำงานจากระยะไกล รวมถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลที่พนักงานเหล่านี้ใช้ เรื่องนี้เริ่มและจบลงได้ด้วยวิธีการแบบองค์รวม เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากซัพพลายเชนทางเทคโนโลยีโดยรวมขององค์กร การเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่ามัลแวร์/ ฟิชชิ่ง จะกระทบต่อความสามารถในการตอบสนองขององค์กรอย่างไร และจะสร้าง 'war-games' เช่น การรับรู้และทำความเข้าใจ การค้นหาและการไล่ล่าภัยคุกคามที่เฉพาะเจาะจงพุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือรูปแบบทางธุรกิจแบบใดแบบหนึ่ง ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะถูกปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ตามแอปพลิเคชันและตามข้อมูล และโดยปกติเป็นการใช้งานแบบ zero-trust ซึ่งผู้ใช้ คนหนึ่งสามารถติดตามตรวจสอบได้ตลอดไลฟ์ไซเคิลของคำร้องขอและการเข้าใช้งานของตนได้
การเจาะระบบทางไซเบอร์จะซับซ้อนและเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ เทรนด์การทำงานจากบ้านจะทำให้สถานการณ์นี้แย่ลง คาดการณ์ได้ว่าปี 2565 จะเป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นการเจาะระบบทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ เช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และเราอาจได้เห็นช่องโหว่สำคัญจากเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้เพื่อการเลียนแบบหรือปลอมแปลง (deep fake) หรือเราอาจได้เห็นบริษัทสักแห่งถูกแทรกซึมผ่าน 5G ซึ่งแม้ว่า 5G จะปลอดภัยกว่าเทคโนโลยีไร้สายแบบเดิม แต่มีพื้นที่ให้โจมตีมากกว่ามาก และการทำงานจากบ้านหรือการทำงานจากระยะไกลก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูลที่แชร์ผ่าน 5G
ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการ ด้วย AI
ปี 2565 จะเป็นปีของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความท้าทายที่เกิดระหว่างความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี กับการขาดแรงงานที่มีทักษะในหลาย ๆ ด้าน ทำให้เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าองค์กรจำนวนมากจะพิจารณาใช้ AI จัดการความท้าทายเหล่านี้ โดย AI จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพให้กับการทำงานด้าน ไอทีและระบบอัตโนมัติ เทคนิคต่าง ๆ เช่น โมเดลการเรียนรู้สั้น ๆ จากตัวอย่างจำนวนจำกัด และโมเดลประสิทธิภาพสูงต่าง ๆ จะช่วยให้นำ AI มาใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องรับการอบรมด้วยข้อมูลจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ AI ก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ดังนั้นนอกจากการคาดการณ์ว่าจะมีการนำ AI มาใช้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังคาดการณ์ได้ว่าบริษัทหลาย ๆ แห่ง จะยังไม่ประสบความสำเร็จจากการใช้ AI ในระยะสั้น ๆ เป็นครั้งแรก หากพิจารณาอีกด้านหนึ่ง ดูเหมือนองค์กรต่าง ๆ ที่ทำตามขั้นตอนในการใช้ AI ทีละขั้นตอน จะประสบความสำเร็จมากกว่า ด้วยการเริ่มต้นที่การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน และมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่งเป็นจุดเริ่มต้น แทนที่จะพยายามแก้ปัญหาจำนวนมากพร้อมกันในทันที อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัทที่ทำตามขั้นตอนของตนในการใช้ AI และบริษัทที่จะใช้ประโยชน์จากโมเดลที่พัฒนาโดยองค์กรวิจัยระดับ แนวหน้าหรือโปรเจกต์ของบริษัทต่าง ๆ ก็จะขึ้นเป็นผู้นำในวงการเช่นกัน
COMMENTS