--> Gartner เผยคนไอทีที่ตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างเดิม มีเพียง 29% เท่านั้น | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Gartner เผยคนไอทีที่ตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างเดิม มีเพียง 29% เท่านั้น

 

การ์ทเนอร์ชี้ชัดการรักษาทีมงานไอทีระดับหัวกะทิกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริหารไอที


การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจล่าสุด พบพนักงานสายไอทีมีแนวโน้มลาออกจากงานที่ทำอยู่มากกว่าพนักงานสายอื่น ๆ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานสายอื่น ๆ กลุ่มไอทีมีความตั้งใจอยู่ต่อกับองค์กรเดิมน้อยกว่าถึง 10.2% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดของทุกสายงานทั้งหมดขององค์กร

การ์ทเนอร์ได้สำรวจลูกจ้างจำนวน 18,000 คนทั่วโลก ช่วงไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นพนักงานในสายงานไอทีจำนวน 1,755 คน โดยได้รวบรวมคำตอบเป็นรายเดือนจาก 40 ประเทศ ใน 15 ภาษา

เกรแฮม วอลเลอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยและนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "การรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้ทำงานต่อกับองค์กรเป็นเรื่องน่ากังวลของผู้บริหารระดับสูง และเป็นปัญหามาอย่างยาวนานของผู้บริหารด้านไอที (CIOs) เนื่องจากทีมงานของพวกเขาจำนวนมากสุ่มเสี่ยงที่จะลาออก เรารู้ว่าบริษัทไอทีที่นำนโยบายการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศมาใช้ต้องพบกับปัญหาการลาออกของทีมงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องกลับมาทบทวนถึงการใช้แนวทางดังกล่าว ผู้บริหารไอทีอาจต้องปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าแผนกอื่น ๆ ในองค์กร เนื่องจากแนวโน้มที่พนักงานไอทีจะลาออกนั้นมีสูงกว่า และเชี่ยวชาญการทำงานผ่านระยะไกลมากกว่าพนักงานส่วนใหญ่”

เพียง 29.1% ของพนักงานไอทีทั่วโลกเท่านั้นที่มีความตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างปัจจุบัน ยิ่งในเอเชียมีตัวเลขที่ต่ำมากเพียง (19.6%) ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อยู่ที่ (23.6%) และละตินอเมริกาที่ (26.9%) หรือแม้แต่ในยุโรป ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพการทำงานดีที่สุด กลับพบว่ามีพนักงานไอทีเพียง 4 ใน 10 คน (38.8%) ที่ตั้งใจอยู่กับองค์กรเดิม

ความท้าทายในการรักษาทีมงานไอทีระดับหัวกะทิแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุและภูมิภาค ตัวอย่างเช่น พนักงานไอทีที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ตามรายงานระบุว่ามีโอกาสที่จะทำงานต่อกับที่เดิมมีน้อยกว่ากลุ่มที่อายุมากกว่า 50 ปีถึง 2 เท่าครึ่ง ในขณะที่เพียง 19.9% ของพนักงานกลุ่มอายุ 18-29 ปี เท่านั้น ที่ตั้งใจทำงานต่อในองค์กรเดิมสูง เมื่อเทียบกับ 48.1% ของพนักงานที่มีอายุ 50-70 ปี


 

ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นและยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) สามารถลดปัญหาการลาออกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เมื่อปี พ.ศ. 2564 การ์ทเนอร์ได้สำรวจพนักงาน 3,000 คน ครอบคลุมอุตสาหกรรม สายงาน และภูมิภาคต่าง ๆ พบว่า 65% ของพนักงานไอทีบอกว่าการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่ทำงานต่อกับองค์กร

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้บริหารไอทีควรใช้แนวทาง Data-Driven วิเคราะห์พนักงานที่สุ่มเสี่ยงต่อการลาออกและระบุว่าใครมีคุณค่าต่อองค์กรมากที่สุด พร้อมปรับนโยบายการทำงานให้มีความผสมผสานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเพิ่มประสิทธิภาพในหมู่พนักงานให้สูงขึ้น

รูปแบบการทำงานที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human - Centric) สามารถช่วยพัฒนาต่อยอดความสามารถของทีมงานระดับหัวกะทิรวมถึงสร้างผลตอบแทนให้ธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารไอทีทบทวนถึงประเด็นต่าง ๆ ของรูปแบบการทำงานที่ล้าสมัย และจำกัดความก้าวหน้าขององค์กรโดยไม่มีความจำเป็น ดังต่อไปนี้:
  • ชั่วโมงการทำงาน (Working hours) — องค์กรหัวก้าวหน้าจะสนับสนุนให้พนักงานและทีมงานตัดสินใจเองว่าเวลาใดที่จะทำงานออกมาได้ดีที่สุด รวมทั้งจัดตารางทำงานใหม่ที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง เช่น การทำงานสัปดาห์ละสี่วัน
  • การทำงานที่ออฟฟิศ (Office centricity) — การระบาดใหญ่ได้ทลายความเชื่อการทำงานเดิม ๆ ที่ทุกคนจะทำงานได้จริงและออกมาดีต้องมาออฟฟิศ และมีหัวหน้างานคอยสอดส่องดูแลช่วยเหลือควบคุมความคืบหน้าของงาน ปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่กำลังวางแผนปรับโหมดการทำงานไปสู่ไฮบริดเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต และเข้าใจว่าพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากระยะไกล สำหรับงานที่ต้องใช้ 'สมาธิ' ขณะที่ออฟฟิศยังเป็นสถานที่ที่เหมาะที่สุดสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันบางอย่าง อาทิ สำหรับสร้างความสัมพันธ์และทำงานร่วมกัน
  • การประชุม ประชุม และประชุม (Meetings) — วัฒนธรรมการประชุมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2493 โดยเป็นการนำผู้คนมารวมตัวกันเพื่อตัดสินใจบางเรื่อง แต่ตอนนี้มีเครื่องมือการทำงานร่วมกันทั้งแบบต่างและเหมือนกันที่ช่วยให้ทีมสามารถตัดสินใจ ทำงานร่วมกัน และแชร์ความคิดสร้างสรรค์ในแบบกระจายศูนย์ได้ง่ายยิ่งขึ้น


“ผู้บริหารไอทีที่นำแนวทางการทำงานแบบยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) มาปรับใช้จะสามารถหลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ ทั้งในเรื่องของการจ้างงาน การรักษาบุคลากร และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่หวนกลับไปสู่กระบวนทัศน์ต่าง ๆ ของการทำงานยุคอุตสาหกรรม” วอลเลอร์กล่าวสรุป

ข้อมูลการสำรวจตลาดแรงงานทั่วโลก (Global Labor Market Survey) ของการ์ทเนอร์ รวบรวมและสรุปคำตอบมาจากพนักงานมากกว่า 18,000 คนใน 40 ประเทศ ซึ่งเป็นพนักงานสายไอที จำนวน 1,755 คน ณ ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดแรงงานรายไตรมาส เรียนรู้ด้านการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริหารไอทีในปี 2565 ได้ที่
2022 Leadership Vision for Chief Information Officers

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,275,Audio Visual,193,automotive,292,beauty,3,Business,233,CSR,27,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,104,FinTech,122,Food,98,Gallery,2,Health & Beauty,89,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,264,Marketing,154,Mobile Device,1115,Motorbike,33,PR News,296,PropTech,53,Real Estate,283,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Gartner เผยคนไอทีที่ตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างเดิม มีเพียง 29% เท่านั้น
Gartner เผยคนไอทีที่ตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างเดิม มีเพียง 29% เท่านั้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg8RL_m_lkuD6YJCylkEFdMh4irgIvlIKsJXHMjZYR1dwxAtLY1LjrCodT8gmqyOrQHONNI998c0iL764ZV98oVR4dTqkSheMdZVIsnFYqDNZvtM-VWL0SWOFte9qkyaz-ahPm038dXXtY2H3Bc_CDIUdXmIi3ZGKS8Ct1T2WbCw0eqxhVkUIEOKOsElA/s16000/Gartner%20pic%20(2).jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg8RL_m_lkuD6YJCylkEFdMh4irgIvlIKsJXHMjZYR1dwxAtLY1LjrCodT8gmqyOrQHONNI998c0iL764ZV98oVR4dTqkSheMdZVIsnFYqDNZvtM-VWL0SWOFte9qkyaz-ahPm038dXXtY2H3Bc_CDIUdXmIi3ZGKS8Ct1T2WbCw0eqxhVkUIEOKOsElA/s72-c/Gartner%20pic%20(2).jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/03/TPR-Gartner-Survey.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/03/TPR-Gartner-Survey.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy