--> ปี 2021 Kaspersky บล็อก 11 ล้านอีเมลอันตรายในอาเซียน องค์กรธุรกิจจะรับมืออย่างไร เมื่อโจมตีผ่านอีเมลธุรกิจเพิ่มมากขึ้น | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

ปี 2021 Kaspersky บล็อก 11 ล้านอีเมลอันตรายในอาเซียน องค์กรธุรกิจจะรับมืออย่างไร เมื่อโจมตีผ่านอีเมลธุรกิจเพิ่มมากขึ้น


อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ อาชญากรไซเบอร์มีความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด จึงใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อเริ่มการโจมตีทางวิศวกรรมสังคม (social engineering) เช่น อีเมลฟิชชิ่ง

ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การช้อปปิ้ง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของ COVID-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก


ในปี 2021 ระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์ทั้งหมด 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้ ตัวอย่างการโจมตีด้วยฟิชชิ่งแบบพุ่งเป้าหมายครั้งเดียวที่ประสบความสำเร็จ คือการปล้นธนาคารบังคลาเทศมูลค่า 81 ล้านดอลลาร์ในปี 2016 ดังนั้น องค์กรในภูมิภาคนี้ควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก”


ในปี 2021 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212 รายการถูกตรวจพบและบล็อกโดยโซลูชันของแคสเปอร์สกี้ โดยรวมแล้ว ผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ทั่วโลกจำนวน 8.20% ต้องเผชิญกับการโจมตีแบบฟิชชิงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

การหลอกลวงผ่านอีเมลธุรกิจและการทำงานระยะไกล

การทำงานระยะไกลทำให้เกิดความพยายามโจมตีบริษัทด้วยฟิชชิ่งมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา หนึ่งในกระแสการโจมตีที่เพิ่มขึ้นคือการหลอกลวงผ่านอีเมลธุรกิจ หรือ BEC (Business Email Compromise)

การโจมตีด้วย BEC เป็นการฉ้อโกงประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแอบอ้างเป็นตัวแทนจากองค์กรธุรกิจที่เชื่อถือได้ การโจมตี BEC เป็นแคมเปญอาชญากรรมไซเบอร์ที่กำหนดเป้าหมายซึ่งทำงานโดยวิธีการดังนี้
  • เริ่มต้นโต้ตอบอีเมลกับพนักงานของบริษัท หรือรับช่วงต่อจากการสนทนาที่มีอยู่เดิม
  • ได้รับความไว้วางใจจากพนักงาน
  • ส่งเสริมการกระทำที่เป็นผลเสียต่อผลประโยชน์ของบริษัทหรือลูกค้าของบริษัท
จากข้อมูลของ Verizon พบว่าการโจมตีแบบ BEC เป็นการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในปี 2021และ FBI รายงานว่าการโจมตีแบบ BEC ทำให้ธุรกิจในสหรัฐฯ เสียหายมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2014 ถึง 2019

ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้สังเกตการโจมตี BEC มากขึ้น ในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ป้องกันการโจมตี BEC ได้มากกว่า 8,000 ครั้ง โดยจำนวนมากที่สุดคือ 5,037 ครั้งในเดือนตุลาคม

ตลอดปี 2021 นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์วิธีที่นักต้มตุ๋นสร้างและเผยแพร่อีเมลปลอมอย่างใกล้ชิด และพบว่าการโจมตีนี้มีแนวโน้มที่จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ เหยื่อจำนวนมาก และกำหนดเป้าหมายขั้นสูง

การโจมตีแบบแรกเรียกว่า "BEC-as-a-Service" โดยการโจมตีจะทำให้กลไกที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีง่ายขึ้น เพื่อที่จะเข้าถึงเหยื่อให้ได้มากที่สุด ผู้โจมตีส่งข้อความจำนวนมากจากบัญชีอีเมลฟรี และคาดหวังว่าจะดักจับเหยื่อให้ได้มากที่สุด ข้อความดังกล่าวมักขาดความซับซ้อนในระดับสูง แต่กลับมีประสิทธิภาพมาก



ตัวอย่างการหลอกลวงระดับซีอีโอที่มีจุดประสงค์หลอกคนกลุ่มใหญ่

รูปด้านบนคือตัวอย่างของการหลอกลวงว่าเป็นซีอีโอที่มีจุดประสงค์หลอกคนกลุ่มใหญ่ ในสถานการณ์นี้ พนักงานได้รับอีเมลปลอมจากเพื่อนร่วมงานที่อาวุโสกว่า ข้อความมักคลุมเครือมีใจความว่าขอให้ช่วยจัดการเรื่องต่างๆ เหยื่ออาจถูกขอให้ชำระสัญญาโดยด่วน ยุติข้อขัดแย้งทางการเงิน หรือแบ่งปันข้อมูลที่ละเอียดอ่อนกับบุคคลที่สาม พนักงานคนใดก็อาจตกเป็นเหยื่อได้ แน่นอนว่ามีสัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนหลายประการในข้อความดังกล่าว นั่นคือ ไม่ใช้บัญชีอีเมลของบริษัท และผู้ส่งไม่ใช่เจ้าของภาษา

ในขณะที่อาชญากรไซเบอร์บางรายใช้การส่งจดหมายจำนวนมากอย่างง่ายๆ อาชญากรไซเบอร์รายอื่นก็ใช้วิธีการโจมตี BEC ที่ตรงเป้าหมายและล้ำหน้ากว่า กระบวนการทำงานมีดังนี้ ผู้โจมตีจะโจมตีกล่องจดหมายตัวกลางก่อนเพื่อเข้าถึงอีเมลของบัญชีนั้น จากนั้น เมื่อพบการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมในกล่องจดหมายของบริษัทตัวกลาง (เช่น เรื่องการเงินหรือปัญหาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงาน) ก็จะติดต่อกับบริษัทเป้าหมายต่อไป โดยแอบอ้างเป็นบริษัทตัวกลาง บ่อยครั้งเป้าหมายคือการเกลี้ยกล่อมให้เหยื่อโอนเงินหรือติดตั้งมัลแวร์



ตัวอย่างการโจมตีแบบ BEC ที่กำหนดเป้าหมาย

ในความเป็นจริง เนื่องจากเป้าหมายมีส่วนร่วมในการสนทนาที่ผู้โจมตีกล่าวอ้างถึง เป้าหมายจึงมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงอย่างมาก การโจมตีดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง จึงมีอาชญากรไซเบอร์ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่ต้องการทำรายได้อย่างรวดเร็ว

นายโรมัน เดเดนอก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ตอนนี้เราสังเกตว่าการโจมตี BEC กลายเป็นเทคนิควิศวกรรมสังคมที่แพร่หลายมากที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะนักต้มตุ๋นใช้แผนดังกล่าวแล้วได้ผลดี ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มักจะตกหลุมพรางอีเมลปลอมมีจำนวนน้อยลง แต่ผู้โจมตีก็เริ่มรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่ออย่างรอบคอบ แล้วใช้ข้อมูลนั้นเพื่อสร้างความไว้วางใจ การโจมตีรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์สามารถค้นหาชื่อและตำแหน่งงานของพนักงาน ตลอดจนรายชื่อผู้ติดต่อในการเข้าถึงแบบเปิดได้อย่างง่ายดาย เราจึงขอสนับสนุนให้ผู้ใช้ระมัดระวังในการทำงานอย่างดี”

องค์กรจะรับมือกับการโจมตี BEC ได้อย่างไร

อาชญากรไซเบอร์ใช้กลอุบายทางเทคนิคและวิธีการวิศวกรรมสังคมที่หลากหลายพอสมควร เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจและดำเนินการฉ้อโกงได้ อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพหลายอย่างสามารถลดภัยคุกคามจากการโจมตี BEC ได้ ดังต่อไปนี้

· ตั้งค่า SPF ใช้ลายเซ็น DKIM และใช้นโยบาย DMARC เพื่อป้องกันการติดต่อสื่อสารภายในปลอม ตามทฤษฎีแล้ว มาตรการเหล่านี้ยังอนุญาตให้บริษัทอื่นๆ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของอีเมลที่ส่งในชื่อองค์กรของคุณ (แน่นอนว่าบริษัทต่างๆ มีการกำหนดค่าเทคโนโลยีเหล่านั้นไว้) มาตรการนี้ไม่เพียงพอในบางวิธี (เช่น ไม่สามารถป้องกันการปลอมแปลงหรือโดเมนที่คล้ายคลึงกันไม่ได้) แต่ยิ่งมีบริษัทที่ใช้ SPF, DKIM และ DMARC มากเท่าไร อาชญากรไซเบอร์ก็จะมีพื้นที่น้อยลงเท่านั้น การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแบบกลุ่มต่อการดำเนินการที่เป็นอันตรายหลายประเภทด้วยหัวข้ออีเมล

· ฝึกอบรมพนักงานเพื่อต่อต้านวิธีการทางวิศวกรรมสังคม การผสมผสานเวิร์กช็อปและการจำลองการฝึกพนักงานให้ระมัดระวังและสามารถระบุการโจมตี BEC ที่ผ่านชั้นการป้องกันอื่นๆ ได้

· ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องช่องทางการสื่อสารขององค์กร เช่น Kaspersky Secure Mail Gateway พร้อมชุดเทคโนโลยีป้องกันฟิชชิ่ง (anti-phishing) ต่อต้านสแปม (anti-spam) และตรวจจับมัลแวร์ (malware detection) แม้ว่า BEC จะเป็นหนึ่งในวิธีการหลอกลวงทางอีเมลที่ซับซ้อนที่สุดประเภทหนึ่ง แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีรูปแบบการประมวลผลตัวบ่งชี้ทางอ้อมและตรวจจับแม้กระทั่งอีเมลปลอมที่น่าเชื่อถือที่สุด

· สมัครรับบริการข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึก (threat intelligence services) และอัปเดตเป็นประจำ เพื่อให้มองเห็นในเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่กำหนดเป้าหมายที่องค์กรของคุณ

โซลูชันของแคสเปอร์สกี้พร้อมฟีเจอร์การกรองเนื้อหาสร้างขึ้นเป็นพิเศษในห้องปฏิบัติการของบริษัทสามารถระบุการโจมตี BEC ได้หลายประเภทแล้ว และผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการหลอกลวงขั้นสูงและซับซ้อนที่สุดต่อไป

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,233,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,261,Marketing,152,Mobile Device,1107,Motorbike,33,PR News,293,PropTech,53,Real Estate,282,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: ปี 2021 Kaspersky บล็อก 11 ล้านอีเมลอันตรายในอาเซียน องค์กรธุรกิจจะรับมืออย่างไร เมื่อโจมตีผ่านอีเมลธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
ปี 2021 Kaspersky บล็อก 11 ล้านอีเมลอันตรายในอาเซียน องค์กรธุรกิจจะรับมืออย่างไร เมื่อโจมตีผ่านอีเมลธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8kjuaH5slpqWVRhy_P0jU0NOFmZlrZM95lGFKdVH11IPCVsJgoHjdJi_fLhASCf1AjRZ3Oq4eZYWwMiJZFcex-evmuDvNe1rTLuz2qXsD6cUIGL0-LbHuhXPXBXPXQj6lSx1ZFfo4SiARAJGM1yjAfq7g9dM5YmCMAjMfP2HFRnEYit23QaFoi5K5cw/s16000/fake-emails.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8kjuaH5slpqWVRhy_P0jU0NOFmZlrZM95lGFKdVH11IPCVsJgoHjdJi_fLhASCf1AjRZ3Oq4eZYWwMiJZFcex-evmuDvNe1rTLuz2qXsD6cUIGL0-LbHuhXPXBXPXQj6lSx1ZFfo4SiARAJGM1yjAfq7g9dM5YmCMAjMfP2HFRnEYit23QaFoi5K5cw/s72-c/fake-emails.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/2021-kaspersky-email-phishing-corporate.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/2021-kaspersky-email-phishing-corporate.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy