--> Singha Estate โชว์ Master Plan “เอส อ่างทอง” นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมโซนพิเศษ World Food Valley | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Singha Estate โชว์ Master Plan “เอส อ่างทอง” นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมโซนพิเศษ World Food Valley

บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) “เปิดตัวโครงการ เอส อ่างทอง” นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับอาหาร และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ตั้งเป้าเป็น World Food Valley ชูแนวคิด Enriching Tomorrow ในการสร้างคุณค่าและความยั่งยืนให้ทุกชีวิต ด้วยธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม ส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดรับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสิงห์ เอสเตท พร้อมเริ่มรับรู้รายได้ปีนี้ ตั้งเป้าขายโครงการหมดภายใน 6 ปี สร้างรายได้รวมกว่า 4,000 ล้านบาท และยังสร้าง Recurring income อีกอย่างน้อยปีละ 150 ล้านบาทในระยะยาว



นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าว ว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่ปี 2014 และเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กลยุทธ์กระจายการลงทุนเพื่อสร้างความหลากหลายใน 4 กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงสร้างธุรกิจแบ่งเป็น 4 กลุ่มธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ประกอบด้วย ธุรกิจพักอาศัย ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีก และล่าสุดธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน

โดยกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานของสิงห์ เอสเตท แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 

1) ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน: ครอบคลุมธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจบริการด้านวิศวกรรม และธุรกิจบริการ รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ 

2)  ธุรกิจโรงไฟฟ้า: ร่วมทุนเพื่อดำเนินงานโรงไฟฟ้า จำนวน 3 โรง ขนาดกำลังการผลิตรวมกว่า 400 เมกะวัตต์ ซึ่งมีสัญญาซื้อขายกับกฟผ. แล้วราว 70% เป็นเวลา 25 ปี โดยบริษัทจะมีการรับรู้ผลการดำเนินงานของธุรกิจผ่านส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจร่วมค้า 

3) นิคมอุตสาหกรรม: สร้างนิคมอุตสาหกรรมที่สร้างคุณที่ยั่งยืนให้กับลูกค้า ชุมชน สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจ

นางฐิติมา ยังกล่าวถึงที่มาของนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแห่งนี้ด้วยว่า ตอนนี้ประเทศไทย กำลังอยู่ในช่วงการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก ตามแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 ของกระทรวงอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันประเทศไทยเรายังมีความต้องการนิคมอุตสาหกรรมที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนธุรกิจอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่องโดยเฉพาะ สิงห์ เอสเตท จึงเห็นถึงโอกาสในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โดยเลือกพื้นที่อ่างทองซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงเพราะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อวัตถุดิบอาหารที่สำคัญของไทยและยังสะดวกในการขนส่งวัตถุดิบจากภาคเหนือและภาคกลางตอนบนสู่ศูนย์กระจายสินค้าหลักของประเทศอีกด้วย นอกจากนั้นอ่างทองยังพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงเรียน แหล่งช้อปปิ้ง มีแรงงานจำนวนมากรองรับการความต้องการของผู้ประกอบการ

สำหรับแนวทางในการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง นั้น นายกำจร ลีประพันธ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส. ไอเอฟ. จำกัด กล่าวเสริมว่า โครงการนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่องบนพื้นที่โครงการ 1,776 ไร่ ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเชีย กม.63 ต. ไชยภูมิ อ. ไชโย จ. อ่างทอง ห่างจากสนามบินและท่าเรือขนส่งเพียงแค่ 1ชั่วโมงครึ่ง พร้อมไปด้วยโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพียงพอ มั่นคง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 3 โรง ขนาดกำลังการผลิตรวมกว่า 400 เมกะวัตต์ พร้อมระบบจ่ายไฟฟ้า 22 KV และ 115 KV รองรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการไฟฟ้าในปริมาณมากและมีเสถียรภาพสูง รวมถึงสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น น้ำประปา ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทางเลือก พร้อมทั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบ 5G และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ครอบคลุมทุกพื้นที่โครงการ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาพื้นที่ค้าปลีก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน และประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ของเราอีกด้วย โดยแบ่งเป็นพื้นที่โครงการทั้งหมด: 1,776 ไร่ เป็นพื้นที่ขาย: 993 ไร่ พื้นที่พาณิชยกรรมพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน: 34 ไร่ พื้นที่สีเขียว: 148 ไร่ ระบบสาธารณูปโภค: 214 ไร่ อ่างเก็บน้ำ: 384 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำปริมาณ 6.12 ล้าน ลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่อุตสาหกรรมเบา 393 ไร่ถูกจัดโซนอยู่บริเวณรอบโครงการ เพื่อความคล่องตัวของแต่ละประเภทธุรกิจ พื้นที่อุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 600 ไร่ ถูกจัดโซนพื้นที่เพื่อให้ใกล้กับแหล่งพลังงานไอน้ำเพื่อประหยัดต้นทุนในการใช้พลังงาน

ที่สำคัญ นิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทองนี้ ยังมุ่งสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยนำแนวคิด “Enriching Tomorrow” มาพัฒนาโครงการ ผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานคาร์บอนต่ำที่เหมาะสมกับธุรกิจอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ครอบคลุมทั้ง:

แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำตอบโจทย์อนาคต (Climate change mitigation) 

ระบบไฟฟ้าที่เพียงพอและมีความเสถียรสูงจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 3 โรง ขนาดกำลังการผลิตรวมกว่า 400 เมกะวัตต์โดยไฟฟ้ามีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในสัดส่วน 70% และสัดส่วน 30% รองรับให้กับลูกค้าในนิคมอย่างเพียงพอและที่สำคัญเป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่เป็นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาด

น้ำดิบคุณภาพดีปริมาณมากกว่า 6.12 ล้านลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ 384 ไร่ เพียงพอในการรองรับการผลิตของลูกค้าทั้งนิคม และยังใช้ระบบผลิตน้ำประปาด้วยระบบอัลตร้าฟิลเทรชั่น ที่สามารถกรองสิ่งสกปรกได้ละเอียดมากกว่า 0.1 ไมครอน ทำให้น้ำประปาที่ผลิตได้ มีคุณภาพสูง สะอาด เหมาะสมกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารได้เป็นอย่างดี

พลังงานไอน้ำที่มีเสถียรภาพและคาร์บอนต่ำ ที่นอกจากจะได้พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแล้วยังได้พลังงานไอน้ำที่สามารถจ่ายให้กับผู้ประกอบการในนิคมได้อีกด้วย มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและมีเสถียรภาพ

พลังงานสะอาดผลิตจาก Solar cell นิคมฯ มีพื้นที่พร้อมที่จะทำ Floating  solar  ภายในอ่างเก็บน้ำหรือพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ NET ZERO เพื่อโอกาสในอนาคตทั้งเรื่องการส่งออกต่างประเทศ ช่วยลดภาษีคาร์บอน (CBAM) และการเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน Green Finance

ระบบการบริหารจัดการของเสียและนำกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า (Responsible consumption)

เทคโนโลยี Co-Generation Power Plant ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ลดการปล่อยคาร์บอนแต่ยังได้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง

ระบบน้ำที่สามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่าและไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ สามารถผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรมได้เองและมีการรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมระบบบริหารจัดการกาก ตะกอนที่เหมาะสม

พื้นที่สีเขียวกว่า 148 ไร่ ที่จะช่วยลดภาวะจากฝุ่นและดูดซับคาร์บอนได้กว่า 148 ตันต่อปี

ระบบป้องกันน้ำท่วมและแนวป้องกันที่สูงถึง 10.5 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางพร้อมระบบการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพและที่สำคัญไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน (Sustainable community)

ส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้ชุมชน เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเกิดการจ้างงานในนิคมมากกว่า  5,000 คนและส่งเสริมให้เกิดรายได้กับพื้นที่ชุมชนรอบข้าง

สร้างพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย และสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยร้านค้าและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์บนพื้นที่พาณิชยกรรม 34 ไร่ 

สร้างศูนย์การเรียนรู้ เรื่องข้าว และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงแบ่งปันพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขายสินค้าท้องถิ่น 

นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ครบครัน เหมาะกับนิคมอุตสาหกรรมอาหารที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การเดินทางในโครงการ ยังสะดวกสบาย ด้วยถนนสายหลักที่มีถึง 4 เลน เขตทางกว้าง 35 เมตร ออกแบบอย่างใส่ใจเพื่อความปลอดภัย และยังมีเทคโนโลยีโครงข่าย Internet ความเร็วสูง (FTTx) และ IOT และเครือข่าย โทรคมนาคมที่ครอบคลุม พร้อมระบบ CCTV เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งพื้นที่สีเขียวกว่า 148 ไร่ ยังเป็นพื้นที่พักผ่อนให้กับผู้คนในโครงการเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย

สำหรับแผนธุรกิจของโครงการนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง นั้น นางฐิติมาเผยว่า บริษัทฯ วางแผนการขายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดภายใน 6 ปี มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท พร้อมเตรียมรับ Recurring income อีกปีละกว่า 150 ล้านบาท และในปี 2022 นี้ ตั้งเป้าขายที่ 15% ของพื้นที่ทั้งหมด คิดเป็นพื้นที่ 149 ไร่ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมพร้อมรับรู้รายได้จากการขายให้โรงไฟฟ้า บี.กริม เพาเวอร์ อ่างทอง 2 และ 3 จำนวน 78 ไร่ ภายในไตรมาส 3 ปี 2022 นี้ 

ภาพรวมของเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาดีขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าจะส่งผลให้ยอดขายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นอีก และจากผลสำรวจพบว่าราคาที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดในภาคกลาง จึงมั่นใจว่านิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เอส อ่างทอง จะสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,789,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1201,Motorbike,34,PR News,342,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Singha Estate โชว์ Master Plan “เอส อ่างทอง” นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมโซนพิเศษ World Food Valley
Singha Estate โชว์ Master Plan “เอส อ่างทอง” นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมโซนพิเศษ World Food Valley
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvNIFfA0bQkr6D2QO_dPEma136sdpT3EygG--CTKtQLtPiL7ntM_Yc_iheG40ijn-Gp7GpIBnmjEbp5TL9eudviTVz_ODX50SglSK8yIrK1n3dw9GZFg7tGA83nSZXKPp9PjaL9i9XEpAjNR68WgSGK3ryQf4Z4hr--I4FXHbFFFML7LB2fkIt_q6rmg/s16000/S%20Angthong_3D-Retail.jpeg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvNIFfA0bQkr6D2QO_dPEma136sdpT3EygG--CTKtQLtPiL7ntM_Yc_iheG40ijn-Gp7GpIBnmjEbp5TL9eudviTVz_ODX50SglSK8yIrK1n3dw9GZFg7tGA83nSZXKPp9PjaL9i9XEpAjNR68WgSGK3ryQf4Z4hr--I4FXHbFFFML7LB2fkIt_q6rmg/s72-c/S%20Angthong_3D-Retail.jpeg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/Singha-Estate-unveils-eco-industrial-estate-masterplan-S-Angthong-World-Food-Valley.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/Singha-Estate-unveils-eco-industrial-estate-masterplan-S-Angthong-World-Food-Valley.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy