--> ACI Worldwide เผยประเทศไทยเป็นผู้นำกระแสการเติบโตของบริการชำระเงินเรียลไทม์ในอาเซียน | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

ACI Worldwide เผยประเทศไทยเป็นผู้นำกระแสการเติบโตของบริการชำระเงินเรียลไทม์ในอาเซียน


ประเด็นที่น่าสนใจในอาเซียน:

ประเทศไทย:
  • ประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์จำนวน 9.7 พันล้านครั้งในปี 2564 - ครองอันดับที่ 3 ของโลก - รองจากอินเดีย (48.6 พันล้านรายการ) และจีน (18.5 พันล้านรายการ)
  • ในปี 2564 การชำระเงินแบบเรียลไทม์ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็น 2.08% ของ GDP – ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 จาก 30 ของประเทศที่มีการคาดการณ์ว่า GDP จะเพิ่มขึ้น ตามข้อมูลของรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์
ประเทศมาเลเซีย:
  • ตลาดเรียลไทม์ที่เติบโตเร็วที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก โดยมี CAGR อยู่ที่ 26.9%
  • จำนวนธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์อยู่ที่ 1.1 พันล้านรายการในปี 2564 ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับธุรกิจและผู้บริโภค และปลดล็อกผลผลิตทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมขึ้นอีก 364 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.11% ของ GDP
ประเทศสิงคโปร์:
  • ธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์แตะ 256 ล้านรายการในปี 2564 และคาดว่าจะถึง 603 ล้านรายการในปี 2569 คิดเป็น CAGR 5 ปีที่ 18.7%
ประเทศอินโดนีเซีย:
  • เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศอินโดนีเซียเปิดตัว BI-FAST เครือข่ายการชำระเงินแบบเรียลไทม์ทั่วประเทศแห่งแรก พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 ยอดการทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์จะสูงถึง 1.6 พันล้านรายการต่อปี





ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำในอาเซียนด้านชำระเงินเรียลไทม์ที่มูลค่าจำนวนเงินไม่สูง และยังเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลกในด้านสำคัญ เช่น ปริมาณธุรกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Prime-Time for Real Time ฉบับที่สาม ประจำปี 2565 ซึ่งจัดทำโดย เอซีไอ เวิลด์ไวด์ (ACI Worldwide) ภายใต้ความร่วมมือกับโกลบอลดาต้า (GlobalData) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ และศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research - Cebr)

โดยมีการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์จำนวน 9.7 พันล้านรายการในปี 2564 ซึ่งรั้งอันดับ 3 ในตารางผู้นำด้านการชำระเงินแบบเรียลไทม์ของโลก รองจากอินเดีย (48.5 พันล้านรายการ) และจีน (18.5 พันล้านรายการ) โดยข้อมูลจากรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ยังระบุอีกว่า การชำระเงินแบบเรียลไทม์ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็น 2.08% ของ GDP เพิ่มขึ้นในปี 2555 ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 จาก 30 ของประเทศที่มีการคาดการณ์ว่า GDP จะเพิ่มขึ้น

รายงานดังกล่าวตรวจสอบยอดชำระเงินแบบเรียลไทม์และการเติบโตใน 53 ประเทศ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยรายงานนี้ ให้ข้อมูลภาพรวมที่รอบด้านเกี่ยวกับประโยชน์ของบริการชำระเงินแบบเรียลไทม์สำหรับผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และระบบเศรษฐกิจโดยรวมใน 30 ประเทศ รายงานฉบับนี้ครอบคลุมประเทศกลุ่ม G20 ทั้งหมด ยกเว้นรัสเซีย*

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการชำระเงินของประเทศให้ทันสมัย สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศการชำระเงิน กล่าวคือ ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์จากบริการชำระเงินที่รวดเร็ว ราบรื่น และมีการเชื่อมต่อกันอย่างทั่วถึง ขณะที่สถาบันการเงินสามารถพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับอนาคตท่ามกลางสภาพการแข่งขันที่รุนแรง ด้วยการปรับปรุงการดำเนินงานให้ทันสมัยโดยอาศัยข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนและมุ่งเน้นการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก ส่วนภาครัฐก็สามารถกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดขนาดของระบบเศรษฐกิจใต้ดิน และสร้างระบบการเงินที่เป็นธรรมมากขึ้นสำหรับทุกคน

ข้อมูลสำคัญประเทศไทย:
  • ในช่วงปี 2564 ประเทศไทยมีการทำธุรกรรมเรียลไทม์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9.7 พันล้านรายการ โดยครองอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย (48.5 พันล้านรายการ) และจีน (18.5 พันล้านรายการ)
  • ในปี 2564 การชำระเงินแบบเรียลไทม์ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็น 2.08% ของ GDP – ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 จาก 30 ของประเทศที่มีการคาดการณ์ว่า GDP จะเพิ่มขึ้น ครอบคลุมในรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์
  • การปรับใช้บริการชำระเงินแบบเรียลไทม์อย่างแพร่หลายส่งผลให้องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2564 และก่อให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.12% ของจีดีพีของประเทศ
กลยุทธ์การปรับใช้ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ของไทยก่อให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดสำหรับการชำระเงินที่มีมูลค่าไม่สูงในอาเซียน การเติบโตดังกล่าวสืบเนื่องมาจากประชากรเข้าถึงอุปกรณ์มือถือเพิ่มขึ้น รวมทั้งแคมเปญกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น รัฐบาลไทยใช้การชำระเงินแบบเรียลไทม์เพื่อจ่ายเงินอุดหนุนและให้เงินทุนแก่เกษตรกร

ด้าน ITMX, บริการเชื่อมต่อการชำระเงินสากลแบบเรียลไทม์, ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมโดยธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบเดิมบางส่วนให้ทันสมัย

สืบเนื่องจากความสำเร็จดังกล่าว ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะนำเสนอบริการเสริมที่มีความก้าวล้ำมากขึ้น เช่น บริการเรียกเก็บเงิน (Request–to-Pay) และบริการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์ม และได้มาตรฐาน

การโอนย้ายเทคโนโลยีของประเทศไทยยังคงกระจัดกระจายตามนโยบายแต่ละธนาคาร ธนาคารบางแห่งเริ่มตรวจสอบระบบของตนว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งช่วยให้สถาบันการเงินสามารถแบ่งปันและใช้ข้อมูลการชำระเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดียังพบว่ามีธนาคารบางแห่งที่ยังใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย

ความสำคัญของการปรับปรุงระบบการชำระเงินให้ทันสมัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นในตลาดใกล้เคียงมีความชัดเจนขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จของรูปแบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์ของ RPP ของมาเลเซีย ซึ่งใช้โครงสร้างพื้นฐาน ISO 20022 ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้งานรูปแบบใหม่และเพื่อการทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาค เป็นเทมเพลตที่ยอดเยี่ยมที่น่าติดตาม

ชี เฉิง ออง หัวหน้าประจำภูมิภาคอาเซียนของเอซีไอ เวิลด์ไวด์ กล่าวว่า “ประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า ความมุ่งมั่นของรัฐบาล การดำเนินงานที่สอดคล้องและเชื่อมต่อถึงกันของภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน และความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและรองรับการใช้งานร่วมกัน ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ประสบความสำเร็จทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความสำเร็จของประเทศไทยในด้านการชำระเงินแบบเรียลไทม์ที่ได้มาตรฐาน ISO 20022 ขณะที่ไทยดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งก่อให้เกิดผลดีเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจและความสำเร็จโดยรวมของประเทศ”

โอเว่น กู้ด หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า “ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้คนและองค์กรต่างๆ สามารถโอนเงินถึงกันได้อย่างง่ายดายภายในเวลาไม่กี่วินาที แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายวัน จึงช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของตลาดในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การชำระเงินแบบเรียลไทม์ยังช่วยปรับปรุงสภาพคล่องในระบบการเงิน และเป็นปัจจัยเร่งที่กระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy ที่มุ่งเน้นการทำงานผ่านระบบดิจิทัลและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ คนทำงานจะได้รับค่าตอบแทนภายในเวลาอันรวดเร็ว และจะสามารถวางแผนด้านการเงินได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้น การชำระเงินได้อย่างทันทีจะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น และลดภาระในการจัดการเงินสดหมุนเวียน”

เลสลี่ ชู หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเอซีไอ เวิลด์ไวด์ กล่าวว่า “เอเชีย-แปซิฟิกยังคงอยู่ในระดับแถวหน้าในเรื่องนวัตกรรมด้านการชำระเงินแบบเรียลไทม์ โดยมีการทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเสนอบริการที่ก้าวล้ำให้แก่องค์กรธุรกิจและผู้บริโภค และพัฒนาการขั้นต่อไปสำหรับภูมิภาคนี้ก็คือ การพัฒนาความเชื่อมโยงเพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานแบบเรียลไทม์ที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาคอย่างแท้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น และช่วยให้ประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากในภูมิภาคนี้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้อย่างทั่วถึง”

เจเรมี่ วิลมอท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเอซีไอ เวิลด์ไวด์ กล่าวว่า “ธุรกรรมแบบเรียลไทม์ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เป็นตลาดใหม่อย่างเช่น อินเดีย ซึ่งจะกลายเป็นผู้นำและแซงหน้าประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่สนับสนุนการพัฒนาระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์จะสามารถผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ด้วยการนำเสนอวิธีการชำระเงินที่รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจ”

แซม เมอแรนท์ หัวหน้านักวิเคราะห์ของโกลบอลดาต้า กล่าวว่า “ประเทศกำลังพัฒนายังคงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของธุรกรรมแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์น้อยมากและต้องพึ่งพาการใช้เงินสดเป็นหลัก ในเกือบทุกกรณี โครงการริเริ่มของภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบเรียลไทม์ด้วยเหตุผลหลายประการ ระบบชำระเงินแบบดิจิทัลภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดจะช่วยลดขนาดของระบบเศรษฐกิจใต้ดิน และเพิ่มการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยจะช่วยให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงมากขึ้น ขณะที่กลไกแบบเดิมๆ เช่น บัตรชำระเงิน และบัญชีธนาคารแบบเก่า ไม่สามารถแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้”

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,274,Audio Visual,193,automotive,290,beauty,3,Business,233,CSR,26,Economic,7,Electronics,82,Entertainment,144,EV,102,FinTech,122,Food,97,Gallery,2,Health & Beauty,88,Home Appliance,129,InsurTech,10,Interview,4,IT & DeepTech,756,Lifestyle,262,Marketing,152,Mobile Device,1110,Motorbike,33,PR News,295,PropTech,53,Real Estate,282,Review,107,Sports,3,Telecom,206,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: ACI Worldwide เผยประเทศไทยเป็นผู้นำกระแสการเติบโตของบริการชำระเงินเรียลไทม์ในอาเซียน
ACI Worldwide เผยประเทศไทยเป็นผู้นำกระแสการเติบโตของบริการชำระเงินเรียลไทม์ในอาเซียน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8qWGkUGVUIK-y5jEZZdxVAauS3xBGm4h5KNtVjfbT1A4MnR5wRFI4H-q8gDmeLLaeOGO8gWPmDJQs-9beiJxSmuBn0PM0LiqyAE2D5_3jLcXm3QGNGROllwpj3DJO2vz392LAISrOUktp9U-bGh5UvBZgpoUxzJrdyBl9hNtUlf8WWtw_Vak7uYMZbQ/s16000/thumbnail_Global-Prime-Time-2022-Report-Launch-Generic.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8qWGkUGVUIK-y5jEZZdxVAauS3xBGm4h5KNtVjfbT1A4MnR5wRFI4H-q8gDmeLLaeOGO8gWPmDJQs-9beiJxSmuBn0PM0LiqyAE2D5_3jLcXm3QGNGROllwpj3DJO2vz392LAISrOUktp9U-bGh5UvBZgpoUxzJrdyBl9hNtUlf8WWtw_Vak7uYMZbQ/s72-c/thumbnail_Global-Prime-Time-2022-Report-Launch-Generic.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/aci-worldwide-primetime-for-realtime-report.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/06/aci-worldwide-primetime-for-realtime-report.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy