--> Kaspersky เผยภัยคุกคาม Phishing ทุก 1 ใน 2 ครั้งพยายามโจมตีการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยภัยคุกคาม Phishing ทุก 1 ใน 2 ครั้งพยายามโจมตีการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลจากผู้ใช้ของแคสเปอร์สกี้ที่ให้ไว้โดยสมัครใจแบบไม่ระบุชื่อ แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิ่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่มิจฉาชีพ โดยความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดที่ตรวจพบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2565 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อีเมลอันตรายซึ่งกำหนดเป้าหมายโจมตีไปยังระบบการชำระเงิน (payment system) 32.11% รองลงมาคือร้านค้าออนไลน์ (e-shop) 10.80% และธนาคาร 5.03% กล่าวสรุปได้ว่า ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งทุก 1 ใน 2 ครั้ง หรือคิดเป็น 47.94% เกี่ยวข้องกับการเงิน

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2565 ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากที่สุด (68.95%) อันดับ 2 สิงคโปร์ (55.67%) ตามด้วยไทย (55.63%) มาเลเซีย (50.58%) อินโดนีเซีย (42.81%) และเวียดนาม (36.12%) ขณะที่สัดส่วนการโจมตีด้วยฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 48.22%

ตัวเลขที่น่าสังเกตคือ ขณะที่ฟิชชิ่งโจมตีผ่านระบบการชำระเงินมีสัดส่วนสูงสุดสำหรับทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สำหรับประเทศไทย ความพยายามโจมตีด้านการเงินสูงสุดของประเทศคือการฟิชชิ่งผ่านร้านค้าออนไลน์ (28.16%) รองลงมาคือระบบการชำระเงิน (22.22%) และธนาคาร (5.25 %) กล่าวคือ ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งของไทยนั้นเกี่ยวข้องกับการเงินคิดเป็น 55.63% หรือทุกการโจมตี 1 ใน 2 ครั้ง

ตัวเลขสัดส่วนนี้มาจากข้อมูลที่ไม่เปิดเผยชื่อตามการทริกเกอร์คอมโพเนนต์ที่กำหนดในระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับหน้าเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิ้งก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บ โดยที่ลิ้งก์ไปยังหน้าเพจเหล่านี้มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้

สำหรับประเทศไทย ตัวเลขการตรวจจับความพยายามโจมตีร้านค้าออนไลน์ที่มีสัดส่วนสูงสุดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก โดยมีจำนวนโดดเด่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ (29.37%) จำนวนลดลงเล็กน้อยในเดือนมีนาคม (25.31%) แต่เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดใหม่ในเดือนเมษายน (29.79%)

ระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคาร ล้วนเป็นเป้าหมายหลักที่ชัดเจนสำหรับฟิชเชอร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าฟิชเชอร์สนใจข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้การเข้าถึงเงินมากที่สุด ข้อความฟิชชิ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของการแจ้งเตือนปลอมจากธนาคาร ผู้ให้บริการ ระบบ e-pay และองค์กรต่างๆ ข้อความแจ้งเตือนจะพยายามกระตุ้นให้ผู้รับใส่ข้อมูลหรืออัปเดตข้อมูลส่วนบุคคลของตนอย่างเร่งด่วนด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ที่มักเกี่ยวข้องกับการสูญเสียข้อมูล ความล้มเหลวของระบบ ฯลฯ

ตัวอย่างภาพหน้าจอของหน้าฟิชชิ่ง

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “นอกจากการทำธุรกรรมดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เรายังเห็นการเพิ่มขึ้นของ ‘Super Apps’ ในภูมิภาคอีกด้วย ซูเปอร์แอปส์เป็นแอปพลิเคชันมือถือที่รวมฟังก์ชันการเงินยอดนิยมทั้งหมด รวมทั้ง e-banking, mobile wallets, การซื้อของออนไลน์ ประกันภัย การจองการเดินทาง และการลงทุนต่างๆ การใส่ข้อมูลและเงินดิจิทัลของเราไว้ในที่เดียวสามารถทำให้ผลกระทบของการโจมตีแบบฟิชชิ่งขยายตัวในอัตราที่คาดไม่ถึง”

ซูเปอร์แอปส์ (Super Apps) เป็นวิธีการที่ธนาคารแบบดั้งเดิมและผู้ให้บริการใช้เพื่อสร้างความโดดเด่นในอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานพลุกพล่าน ขณะที่ธนาคารและผู้ให้บริการพยายามทำงานร่วมกับบุคคลที่สาม และรวบรวมบริการทั้งหมดไว้ในแอปมือถือเครื่องเดียว พื้นที่การโจมตีก็ขยายกว้างขึ้น มีช่องทางให้เจาะเป็นช่องโหว่มากขึ้น

ฟิชชิ่งเป็นกลอุบายที่ยังคงมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับอาชญากรไซเบอร์ เป็นวิธีที่รู้จักกันดีในการเจาะเข้าไปในเครือข่ายของผู้ใช้และบริษัท โดยเล่นกับอารมณ์ของผู้ใช้

โดยสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้คือแอปหนึ่งแอปที่มีรายละเอียดทางการเงินทั้งหมดของผู้ใช้ แค่ลิ้งก์ฟิชชิ่งธรรมดาอันเดียวที่ขอข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ อาจทำให้ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในแอปเสียหายได้ ซึ่งความเสียหายจากภัยคุกคามนี้จะขยายผลออกไปได้อีก

นายเซียง เทียง โยว กล่าวเสริมว่า “เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาชญากรไซเบอร์ติดตามเส้นทางการเงิน ดังนั้นธนาคาร นักพัฒนาแอป และผู้ให้บริการจึงควรบูรณาการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งแต่เริ่มต้นการพัฒนาแอปพลิเคชัน เราคาดว่าแฮกเกอร์จะมุ่งเป้าไปที่ซูเปอร์แอปส์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและผู้ใช้ผ่านการโจมตีทางวิศวกรรมสังคม เราขอกระตุ้นให้บริษัทฟินเทคทุกแห่งปรับใช้แนวทางที่ปลอดภัยโดยการออกแบบในระบบของตน และให้การศึกษาเชิงรุกแก่ผู้ใช้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ที่การโจมตีแบบฟิชชิ่งยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่า การป้องกันนั้นย่อมดีกว่าการรักษาแก้ไข แม้ว่าบริษัทการเงินส่วนใหญ่จะมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องลูกค้าจากการตกเป็นเหยื่อของกิจกรรมที่น่าสงสัย แต่ยังมีขั้นตอนอีกมากมายที่สามารถทำได้ในเชิงรุกมากขึ้นทั้งในระดับบุคคลและระดับธนาคาร”

สำหรับองค์กร วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุดคือต้องตระหนักว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ควรเป็นกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น ไม่ใช่แพลตฟอร์มคงที่ ควรจะผสมผสานเทคโนโลยีและความพยายามเข้าด้วยกัน และมีการอัปเกรด อัปเดต และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ธนาคารและผู้ให้บริการจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับทีมรักษาความปลอดภัย (หรือผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย) ที่จะสามารถรับประกันได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานการป้องกันทางไซเบอร์ได้รับการอัปเดต และจะสามารถให้การสนับสนุนในกรณีที่มีการโจมตีทางไซเบอร์

บริษัทต่าง ๆ สามารถลงทุนกับโซลูชันการรักษาความปลอดภัยเอ็นด์พอยต์ได้ แคสเปอร์สกี้ขอเสนอโปรโมชั่นสำหรับ Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum ในราคาลด 35% เพื่อช่วยให้องค์กรได้เริ่มต้นใช้งานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

ขั้นตอนที่สำคัญเพิ่มเติมที่ควรพิจารณา มีดังนี้

พิจารณาแพลตฟอร์มข้อมูลภัยคุกคาม (threat intelligence platform): องค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งเพื่อเข้าถึงแนวโน้มและข้อมูลภัยคุกคามด้านความปลอดภัยด้านไอทีล่าสุด ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า Threat intelligence ข้อมูลภัยคุกคามจะให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อดำเนินการและแสดงภาพสถานะดิจิทัลของธนาคารที่ใหญ่ขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับอาวุโสเกี่ยวกับความเสี่ยงและจุดอ่อนที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาดถึงสิ่งที่ต้องทำเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ปรับปรุงกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รู้จักได้ดียิ่งขึ้น และอุดช่องว่างใดๆ ของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของผู้จำหน่ายบุคคลที่สาม (เธิร์ดปาร์ตี้) ได้รับการอัปเดตด้วย มีรายงานเพิ่มขึ้นว่าการละเมิดระบบรักษาความปลอดภัยของบุคคลที่สามส่งผลต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร รัฐบาล หรือองค์กรเอกชน ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเหล่านี้ได้ และสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่สำคัญว่าผู้ขายบุคคลที่สามจะบอกคุณระบบของตนนั้นปลอดภัยเพียงใด เนื่องจากการโจมตีซัพพลายเชนที่เด่นชัดได้แสดงให้เราเห็นว่าการรับผิดชอบต่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนเองนั้นมีความสำคัญมากกว่าการปล่อยให้อยู่ในมือของคู่ค้า

การดำเนินการตามมาตรการป้องกันจำเป็นต้องล้ำหน้าไปไกลกว่าการปกป้องระบบของตนเอง ธนาคารต้องใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อเตือนลูกค้าไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้แอบอ้าง การหลอกลวงและการโจมตีแบบฟิชชิ่ง แม้ว่าจะเกิดขึ้นนอกระบบก็ตาม

คำแนะนำเพื่อช่วยผู้ใช้ทั่วไปในการป้องกันตนเองจากการโจมตีแบบฟิชชิ่ง มีดังนี้

ไม่โต้ตอบ: แม้แต่การตอบกลับอย่างการส่งข้อความว่า “ยกเลิกการสมัคร” (UNSUBSCRIBE) หรือ “หยุดส่งข้อความ” (STOP) เพราะอาจเป็นวิธีการระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ ผู้โจมตีจะเล่นกับความอยากรู้หรือความวิตกกังวลของผู้ใช้เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ แต่คุณสามารถเลือกที่จะไม่ข้องเกี่ยวได้

หลีกเลี่ยงการใช้ลิ้งก์หรือข้อมูลติดต่อในอีเมลหรือข้อความ: แนะนำให้ติดต่อไปที่ช่องทางการติดต่อโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบประกาศเร่งด่วนได้โดยตรงในบัญชีออนไลน์หรือผ่านทางโทรศัพท์สายด่วนอย่างเป็นทางการของหน่วยงานนั้นๆ ได้

สังเกตุและระวังข้อผิดพลาดต่างๆ การสะกดคำผิด และอักขระแปลกๆ ในข้อความ: ผู้คุกคามบางคนมีปัญหากับภาษาอังกฤษจริงๆ หรือมีข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นโดยเจตนา เมื่อพยายามที่จะหลบเลี่ยงตัวกรองสแปม (เช่น การใช้ตัวเลขเพื่อแทนที่ตัวอักษรบางตัว เช่น “Bank L0an” แทน “Bank Loan”)

ตอบโต้ช้าลงเมื่อได้รับข้อความที่เป็นเรื่องเร่งด่วน: อีเมลและ SMS มักจะถูกอ่านขณะผู้ใช้กำลังเดินทาง หากผู้ใช้ฟุ้งซ่านหรือรีบร้อน ก็จะละเลยความระแวดระวัง จึงควรตั้งสติและดำเนินการอย่างระมัดระวัง

ดาวน์โหลดแอปป้องกันมัลแวร์ซึ่งสามารถป้องกันแอปที่เป็นอันตรายได้ เช่น Kaspersky Total Security เพื่อสร้างความปลอดภัย

อ่านรายงานภูมิทัศน์ภัยคุกคามประจำปี 2564 ของแคสเปอร์สกี้ สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ที่นี่ https://kasperskysea.co/premium_report

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,288,Audio Visual,193,automotive,308,beauty,3,Business,238,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,151,EV,113,FinTech,128,Food,105,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,783,Lifestyle,269,Marketing,168,Mobile Device,1190,Motorbike,34,PR News,336,PropTech,53,Real Estate,299,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยภัยคุกคาม Phishing ทุก 1 ใน 2 ครั้งพยายามโจมตีการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Kaspersky เผยภัยคุกคาม Phishing ทุก 1 ใน 2 ครั้งพยายามโจมตีการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjNUX0yJi7nkqABK0Iq8OeeOZOwL6sABYsHc6fWfpU8UqUMW1KcCA5ACZ6NcSs3Xo3wRmHzsW4nsuDTeUGX9KQKReR1FncnvSkSs8tVMw4SLCNpfgvxn8e40aCP_WIOCpcZ8ZqExpppFaMFGL3_CPqKrpLZ2Yt0FPWWwIn2BWWoQ8sG_qMN_Rk1aD-TbA/s16000/phishing-via-ESP-featured.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjNUX0yJi7nkqABK0Iq8OeeOZOwL6sABYsHc6fWfpU8UqUMW1KcCA5ACZ6NcSs3Xo3wRmHzsW4nsuDTeUGX9KQKReR1FncnvSkSs8tVMw4SLCNpfgvxn8e40aCP_WIOCpcZ8ZqExpppFaMFGL3_CPqKrpLZ2Yt0FPWWwIn2BWWoQ8sG_qMN_Rk1aD-TbA/s72-c/phishing-via-ESP-featured.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/07/kaspersky-sea-phishing-financial.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/07/kaspersky-sea-phishing-financial.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy