--> Sound Engineer ชี้ระดับความดังเสียงที่ปลอดภัย-อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมแนะวิธีจัดการปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Sound Engineer ชี้ระดับความดังเสียงที่ปลอดภัย-อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมแนะวิธีจัดการปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน

มลพิษทางเสียง หรือ Noise Pollution เป็นปัญหาที่แฝงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงในสังคมเมือง ทั้งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเสียงที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียงได้ ซึ่งเสียงนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นถ้าเรามีมีความรู้เกี่ยวกับเสียงรบกวนที่ถูกต้อง และตระหนักถึงความสำคัญของเสียง พร้อมที่จะป้องกัน และแก้ไขมลพิษทางเสียงร่วมกัน เสียงก็จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น

ผศ.ดร.ณัชนันท์ ชิตานนท์ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่าตามคำแนะนำของกรมควบคุมมลพิษ ระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อหูในการรับเสียงต่อเนื่องไม่เกิน 24 ชั่วโมงนั้นไม่ควรเกิน 70 เดซิเบลเอ (dBA)และองค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำว่าเสียงที่ได้ยินต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง ไม่ควรเกินที่ระดับ 85 เดซิเบล เอ (dBA) และระดับเสียงที่ต้องหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งคือระดับความดังของเสียงตั้งแต่ 120 เดซิเบล เอ (dBA) เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อหูโดยตรง ทำให้สูญเสียการฟังอย่างถาวรได้ โดยความดังของเสียงในแต่ละระดับจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป อาทิ เสียงพูดโดยปกติทั่วไปของคนเราจะอยู่ที่ 50 – 60 เดซิเบล เอ (dBA) ซึ่งเป็นเสียงที่ฟังได้เป็นปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อหู สำหรับเสียงในระดับความดังที่ 70 เดซิเบล เอ (dBA) คือ เสียงการพูดคุยในระดับที่ดังกว่าปกติ เช่น การตะโกน  และเสียงในระดับ 85 – 90 เดซิเบล เอ (dBA) เช่น เสียงรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถแทร็กเตอร์ และเสียงในระดับความดังที่มากกว่า 100 เดซิเบล เอ (dBA) คือ เสียงที่อยู่ในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้เราจะสังเกตได้ว่าเสียงดังระดับไหนที่เริ่มเป็นอันตราย โดยสามารถสังเกตได้จากการพูดในระดับเสียงปกติทั่วไปควรคุยกันแล้วได้ยินในระยะ 1 เมตร หากพูดคุยด้วยเสียงระดับปกติและไม่ได้ยินในระยะ 1 เมตร อาจเป็นสัญญาณเตือนของการสูญเสียการได้ยินได้ ทั้งนี้การป้องกันเสียงรบกวนเป็นสิ่งที่ยังต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อร่างกายให้ได้มากที่สุด 

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ณัชนันท์ ยังมีคำแนะนำในการออกแบบที่อยู่อาศัย และการลดเสียงรบกวน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบหากได้รับเสียงรบกวนมากเกินไป และแนวทางในการจัดการควบคุมเสียงรบกวนรอบตัว เพื่อทำให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนี้

• สถาปัตยกรรมอะคูสติก (Architectural Acoustics) สร้างที่อยู่อาศัยอย่างไรไม่ให้มีเสียงรบกวน

สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย เรื่องเสียงรบกวนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก เพื่อให้         การพักผ่อนของผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด การนำนวัตกรรมด้าน สถาปัตยกรรมอะคูสติก (Architectural Acoustics) มาประยุกต์ใช้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ และควรตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวมากขึ้น สำหรับ สถาปัตยกรรม อะคูสติก คือ ศาสตร์ทางด้านเสียงที่เกี่ยวข้องกับด้านสถาปัตยกรรม เป็นแนวคิดเรื่องการป้องกันเสียงรบกวนทั้งจากภายนอกอาคาร และภายในอาคาร เช่น การสร้างกำแพงที่ป้องกันเสียงระหว่างห้องหนึ่งสู่ห้องหนึ่ง การป้องกันเสียงจากภายนอกอาคาร หรือการใช้วัสดุเพื่อซับเสียง เป็นต้น

• ผลกระทบจากเสียงรบกวน เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรละเลย

ผลกระทบด้านร่างกายจะเห็นได้ชัดมาก ระดับเสียงที่ดังเกินไปส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งชนิดชั่วคราวและถาวรได้ นอกจากนี้เสียงรบกวนยังส่งผลทันทีต่อ ประสิทธิภาพการเรียน การทำงาน และการนอนได้เป็นพิเศษ กล่าวคือเสียงรบกวนส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลง ร่างกายจึงไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตในระยะยาวได้

สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียงอยู่เป็นประจำ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง สจล. จึงมีแนวทางในการจัดการปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนไว้ 3 ส่วน 

ทั้งนี้ ผศ. ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ได้กล่าวว่า เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ณ สภาพแวดล้อมใดก็ตามสามารถเลือกจัดการได้ 3 ส่วน ดังนี้ 

1.จัดการ “แหล่งกำเนิดเสียง” เราสามารถจัดการได้เป็นอย่างแรกเพื่อลดการเกิดเสียงรบกวนที่ต้นกำเนิดเสียงโดยตรง เช่น การลดระดับความดังของเครื่องขยายเสียง หรือยานพาหนะ ซึ่งการลดระดับความดังสามารถทำได้ในหลายกรณี อาทิ การลดระดับความทั้งทุกย่านความถี่ หรืออย่างน้อยควรลดความดังในย่านความถี่ที่ไวต่อการรับรู้เสียงของมนุษย์มากที่สุด (ย่านความถี่ 1k – 5kHz โดยประมาณ) 

2.จัดการ “ตัวกลาง” ที่เสียงเดินทางผ่านจากแหล่งกำเนิดเสียงมาถึงหูของมนุษย์ โดยเราสามารถลดความดังและความถี่ของเสียงรบกวนได้  ด้วยการทำผนังกันเสียง (Noise Barrier) หรือการใช้อุปกรณ์ซับเสียง หรือแม้แต่การทำแนวต้นไม้กันเสียง (Noise Barrier Trees) ตัวอย่างที่สังเกตเห็นได้ในชีวิตประจำวัน คือ ผนังกันเสียงระหว่างเขตที่พักอาศัยและพื้นที่ทางด่วนหรือแนวรถไฟฟ้า ที่ช่วยลดเสียงรบกวนจากการสัญจรของยานพาหนะไปสู่ชุมชนได้ 

3.จัดการ “ผู้รับเสียง”หรือจัดการที่ตัวเราเอง เช่น ใช้ Earplugs หรือ ที่อุดหูเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด และมักจะเป็นวิธีที่ถูกเลือกใช้ในกรณีที่เราไม่สามารถจัดการแหล่งกำเนิดเสียงและตัวกลางที่เสียงเดินทางผ่านได้ นอกจากการใช้อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินแล้ว ในปัจจุบัน หูฟังที่มีระบบตัดเสียงรบกวน (Active Noise Cancellation) ก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่ง คือการปรับระดับความดังของหูฟังหรือโทรศัพท์ เพื่อให้กลบเสียงรบกวน ณ สภาพแวดล้อมเสียงขณะนั้น การทำเช่นนี้เป็นการปรับระดับความดังของหูฟังเพื่อกลบ (Mask) เสียงที่เราไม่ต้องการ ในระดับที่ดังเกินไปโดยไม่รู้ตัว สิ่งนี้นอกจากจะไม่ช่วยลดระดับความดังของเสียงรบกวนแล้วยังเป็นการเพิ่มระดับความดังที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อหู ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอีกด้วย

ผศ.ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนมากปัญหาเรื่องเสียงรบกวนมักพบเจอได้ตามที่พักอาศัย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการร้องเรียนประเด็นดังกล่าวอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากภายในอาคารเดียวกัน หรือจากภายนอกอาคารก็ตาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมให้ประชาชนได้เข้าใจในเรื่อง ‘เสียง’ มากขึ้น โดยปัจจุบันผู้ที่มีความรู้ด้านเสียงอย่างลึกซึ้งยังมีไม่มากนัก

ซึ่งวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. มีความเชี่ยวชาญด้านเสียง รวมทั้งในการบูรณาการเอาองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางด้านศิลป์ แห่งแรกในประเทศและภูมิภาคอาเซียน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น จึงมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเสียง ที่มีทักษะทางด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบ รวมถึงทักษะทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งปั้นบุคลากรด้านการผลิตเสียงในอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรี และอุตสาหกรรมทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยทางเสียงและโสตทัศนะอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม และความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีมากยิ่งขึ้น 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/imsekmitl เว็บไซต์ http://imse.kmitl.ac.th หรือติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกิจกรรมภายในสถาบันได้ที่เว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th เพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/kmitlofficial

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,788,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1199,Motorbike,34,PR News,342,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Sound Engineer ชี้ระดับความดังเสียงที่ปลอดภัย-อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมแนะวิธีจัดการปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน
Sound Engineer ชี้ระดับความดังเสียงที่ปลอดภัย-อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมแนะวิธีจัดการปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgEIkTrvJOKVmxEHy5qOqfUPLoaFM_o-_dG8IuFo-f9mC3saNdzHTXY_ODKI_Lb0qdQ_nppVwxQoWA76ckR5yUki2_8GJwKyLEh2SfCbpqFfOExGFo73rsztYKBnE3Hes_um1BPYopCtOrmMH0g50TtYVK1F-gHcPdaYvvyMLycy-255cZPWAx5TZ2VzA/s16000/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgEIkTrvJOKVmxEHy5qOqfUPLoaFM_o-_dG8IuFo-f9mC3saNdzHTXY_ODKI_Lb0qdQ_nppVwxQoWA76ckR5yUki2_8GJwKyLEh2SfCbpqFfOExGFo73rsztYKBnE3Hes_um1BPYopCtOrmMH0g50TtYVK1F-gHcPdaYvvyMLycy-255cZPWAx5TZ2VzA/s72-c/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2022/08/sound-engineer-kmitl-loud-danger.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2022/08/sound-engineer-kmitl-loud-danger.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy