--> แพทย์ รพ.วิมุต แนะวิธีอยู่ร่วมกับคนเป็นซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ ชวนเช็กอาการเบื้องต้นและหลากหลายแนวทางการรักษา ย้ำ เป็นได้ ก็หายได้ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

แพทย์ รพ.วิมุต แนะวิธีอยู่ร่วมกับคนเป็นซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ ชวนเช็กอาการเบื้องต้นและหลากหลายแนวทางการรักษา ย้ำ เป็นได้ ก็หายได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หนึ่งในโรคที่คนไทยทุกช่วงวัยเป็นกันเยอะขึ้นเรื่อย ๆ คงจะหนีไม่พ้น “โรคซึมเศร้า” โรคทางสุขภาพใจที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โชคดีที่ในปัจจุบัน สังคมไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางใจ พอ ๆ กับสุขภาพกาย ทำให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องเก็บอาการไว้กับตัวอีกต่อไป เพราะมีคนพร้อมที่จะศึกษาและเข้าใจโรคนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้ พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต จึงชวนคนไทยมาลบความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า รวมถึงแนะแนวทางการรักษา และการอยู่เคียงข้างคนรอบตัวที่เป็นซึมเศร้าด้วยความเข้าอกเข้าใจ

สถิติชี้คนไทย 1 ใน 60 เป็นโรคซึมเศร้า

“จริง ๆ แล้ว โรคซึมเศร้าถือว่าเป็นโรคที่มีสถิติจากการวินิจฉัยหรือการเข้าถึงการรักษาน้อยกว่าโรคอื่น ๆ เพราะหลาย ๆ คนมีอาการเข้าข่าย แต่ไม่ได้เข้ามารักษา แต่เราก็มีข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ที่ล่าสุดระบุว่ามีคนไทยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ประมาณ 1.5 ล้านคน จาก 65 ล้านคนซึ่งถือว่าเยอะ เพราะแสดงว่ามีคนไทยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1 ใน 60 เลยทีเดียว” 

พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ กล่าว

ส่องสัญญาณบ่งชี้โรคซึมเศร้า เมื่อเศร้านาน ๆ อย่ามองข้าม 

“คนรอบตัวต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้คิดไปเองว่าเศร้า เพราะภาวะซึมเศร้า คือภาวะที่สารเคมีในสมองเสียสมดุล เกิดการแปรปรวนไป ผลที่เกิดขึ้นคือ จะเกิดอารมณ์ด้านลบ เช่น เศร้า เบื่อหน่าย ซึ่งอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ด้านการกิน อาจไม่อยากกินเลยหรืออาจรู้สึกเครียดจึงกินเยอะมาก ๆ ก็มี ด้านการนอน จะนอนยาก คิดมากจนนอนไม่หลับ หรือการทำงาน เพราะอารมณ์ทางลบย่อมส่งผลต่อความคิดความอ่าน สมาธิ ความจำ บางคนอาจมีอาการวิตกกังวล หงุดหงิด ความรู้สึกหมดหวัง รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่น ไม่อยากทำอะไรเลย อยากนอนอย่างเดียว ก็เป็นอาการของซึมเศร้าเช่นเดียวกัน” พญ. เพ็ญชาญา อธิบาย พร้อมเล่าว่า “ส่วนสาเหตุที่สารเคมีในสมองแปรปรวนนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ความเครียด หรือเหตุการณ์สะเทือนใจรุนแรง ดังนั้น หากคนในครอบครัวเป็นซึมเศร้าหรือเคยเจอความผิดหวังรุนแรง ก็อาจมีความเสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนที่เจอเรื่องเศร้าต้องเป็นซึมเศร้าเสมอไป เพราะบางคนอาจมีความเสี่ยงต่อโรคอยู่แล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีโรคซึมเศร้ารูปแบบอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งคุณแม่ถึงประมาณ 3 ใน 10 มีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คนในครอบครัวจึงควรสังเกตอาการและดูแลใส่ใจความรู้สึกของคุณแม่ให้มาก ๆ”

ต้องเศร้านานแค่ไหน จึงถือว่าเป็นโรคซึมเศร้า? แล้วแนวทางการรักษาเป็นอย่างไร

แพทย์ระบุว่าหากอาการที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่หายไปโดยเร็ว แต่กลับเกิดอารมณ์ด้านลบเป็นเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือหลายเดือน ก็อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะซึมเศร้า ซึ่งแพทย์จะดำเนินการติดตามอาการและให้การรักษาต่อไปได้ “การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะใช้การรักษาร่วมกันระหว่างยาและการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ตัวยาก็จะช่วยปรับต้นเหตุ คือ สารเคมีในสมองที่เสียสมดุลไป นอกจากยาแล้ว แพทย์จะให้ฝึกทักษะการจัดการความเครียด การรู้เท่าทันอารมณ์และการปล่อยวางความรู้สึก ซึ่งตรงนี้อาจใช้การทำจิตบำบัดร่วมด้วย อาศัยการเปิดใจพูดคุยเพื่อให้คลายปมที่ฝังไว้ในใจ บางคนอาจเคยเกิดเรื่องแย่ ๆ ตั้งแต่วัยเด็กหรือคิดว่าตัวเองไม่เก่งไม่ดีเหมือนคนอื่น การคุยกับนักจิตบำบัดก็จะช่วยได้” แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพใจ รพ. วิมุต กล่าว

พญ. เพ็ญชาญา แนะนำว่าโรคซึมเศร้า เป็นโรคที่หากมาปรึกษาเร็ว รักษาเร็ว ก็หายได้เร็ว ไม่ต้องรอเป็นอาการหนัก เพราะหากเป็นแล้ว ก็ควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะมันเป็นโรคที่หายขาดได้จริง ๆ “ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามสังเกตอาการตัวเอง ถ้ามีคนที่เราไว้ใจ ก็อาจจะปรึกษาหรือระบายให้เขาฟังได้ อย่าเก็บไว้คนเดียว แล้วก็รีบไปปรึกษาแพทย์”

จะทำตัวอย่างไร ในวันที่คนใกล้ชิดเป็นซึมเศร้า?

หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินว่ากำลังใจและแรงซัพพอร์ตจากคนรอบข้างเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้คนเป็นโรคซึมเศร้าหายจากอาการได้โดยเร็ว ซึ่งแพทย์ก็ยืนยันเช่นนั้น โดยคนใกล้ตัว โดยเฉพาะคนในครอบครัว ควรช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วย ช่วยจับมือเขาไว้ให้ผ่านช่วงเวลาที่มืดมนไปให้ได้ และที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย “ต้องยอมรับความเข้าอกเข้าใจจากคนใกล้ชิดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ เช่น เมื่อคนที่เรารักมีอาการเข้าข่าย เราสามารถแสดงความห่วงใยอย่างจริงใจและแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ได้ ซึ่งเราสามารถไปเป็นเพื่อน พร้อมกับศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจ เช่น ผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการหลอนหรือได้ยินเสียงแว่ว นึกว่าคนอื่นพูดไม่ดีเกี่ยวกับเขา ซึ่งเมื่อเราทราบเช่นนี้ เราก็จะไม่ตัดสินว่าคนที่เรารักว่าเขาคิดไปเอง เป็นต้น และอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้เกี่ยวกับโรคนี้ คือ ผลข้างเคียงจากกลุ่มยาของโรคซึมเศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้ามี 30 - 40 ชนิด แต่ละตัวมีผลข้างเคียงมากน้อยต่างกันไป บางตัวอาจทำให้เบื่ออาหาร พะอืดพะอมในช่วงแรก ๆ บางตัวก็อาจทำให้ง่วง โดยผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงเพื่อปรับขนาดยาหรือเปลี่ยนตัวยาไปเลย ซึ่งอาจต้องให้คนใกล้ตัวช่วยสังเกตอาการด้วย” พญ. เพ็ญชาญา แนะนำ

แพทย์แนะสิ่งที่ควรพูดและไม่ควรพูดกับคนเป็นซึมเศร้า

หัวใจของการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าคือ การเปิดใจรับฟัง ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น และไม่ตัดสินคนที่เรารัก หากผู้ป่วยหันหน้ามาปรึกษา เราก็ไม่ควรถามว่า “ร้องไห้ทำไม ทำไมต้องเศร้าด้วย มีอะไรให้เศร้า ทำไมไม่ออกไปทำอะไรสนุก ๆ บ้าง” เพราะตามที่แพทย์ระบุไปข้างต้นว่าผู้ป่วยไม่สามารถหยุดเศร้าได้ในช่วงขณะนั้น สิ่งที่เราทำได้ คือแค่อยู่ข้าง ๆ และเป็นเซฟโซนให้แก่เขา “คำที่ควรและไม่ควรพูดมันขึ้นอยู่กับน้ำเสียง สีหน้าท่าทางในการพูดด้วย ถ้าเราพูดด้วย ความจริงใจ เขาก็รับรู้ได้ แน่นอนว่าถ้าพูดด้วยความรู้สึกรำคาญ เขาก็รับรู้ได้เช่นกัน เหมือนอย่างเราขอบคุณหรือขอโทษส่ง ๆ อย่างนี้ก็อย่าพูดดีกว่า สิ่งที่ควรทำคือ ทำให้เขาสบายใจ เช่น บอกว่าเราอยู่ตรงนี้นะถ้าต้องการอะไร หรืออาจถามเขาว่ามีอะไรให้ช่วยไหมและอยากให้ช่วยยังไงบ้าง ให้เขารู้สึกอุ่นใจว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในช่วงเวลาที่รู้สึกแย่” พญ. กล่าว

ถ้าคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้า เราจะเสี่ยงเป็นด้วยไหม 

แน่นอนว่าเมื่อคนรอบข้างหงุดหงิดและเศร้าหมอง ก็ทำให้บรรยากาศในบ้านอึมครึม ไม่สดใส ก็อาจส่งผลให้อารมณ์เรามันขุ่นมัวตามไปด้วย เรื่องนี้ พญ. เพ็ญชาญา กล่าวว่า “สมมติคนใกล้ชิดเป็นซึมเศร้าแล้วเรารู้สึกว่ามันกระทบอารมณ์เราจนรู้สึกแย่ เราก็อาจต้องดูแลใจตัวเองก่อนและขอความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน อย่าละเลยตนเอง ในวันที่ไม่ไหวก็ถอยออกมา ลองหาคนที่พร้อมช่วยดูแลมากกว่าเรา ถ้ากลับมาไหวค่อยกลับไปช่วย ไม่ต้องกดดันตัวเองมากเกินไป”

สุดท้ายคุณหมอกล่าวทิ้งท้ายว่า “อยากบอกว่า สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า อย่าโทษตัวเองหรือมองว่าตัวเองอ่อนแอ อยากย้ำว่ามันไม่ได้น่าอายหรือเป็นเรื่องผิดที่เราคิดบวกไม่ได้ มันเป็นโรคที่ต้องรักษา เหมือนเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ให้รีบมาพบแพทย์และเดินหน้ารักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มีอะไรให้บอกคนใกล้ชิด เพราะคนที่แคร์เราจริง ๆ เขาก็อยากช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างเราแม้ในวันที่เราป่วย”

ผู้สนใจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต สามารถนัดหมายเพื่อพบแพทย์ได้ที่ชั้น 18 ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต โทร 02-079-0078 

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,791,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1202,Motorbike,34,PR News,345,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: แพทย์ รพ.วิมุต แนะวิธีอยู่ร่วมกับคนเป็นซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ ชวนเช็กอาการเบื้องต้นและหลากหลายแนวทางการรักษา ย้ำ เป็นได้ ก็หายได้
แพทย์ รพ.วิมุต แนะวิธีอยู่ร่วมกับคนเป็นซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ ชวนเช็กอาการเบื้องต้นและหลากหลายแนวทางการรักษา ย้ำ เป็นได้ ก็หายได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjW0WvAxlBq7k8eh3_ODLWvpcPGW0dLSoueRTNfMpUdqfry5C85uf8p88PlXlSIsGlWmRvYUvG7Wu8lIDVQWxrEY2ioGtVfHJ39yJp4MXmKRTMm74lcP_VglJYEDNcr8SSWPuW-TMQ-bUB-151IaoJbsV_-fABEv6GTUtV8rX7HDD3BjT5XKMbbuDX4w/s16000/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%204.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjW0WvAxlBq7k8eh3_ODLWvpcPGW0dLSoueRTNfMpUdqfry5C85uf8p88PlXlSIsGlWmRvYUvG7Wu8lIDVQWxrEY2ioGtVfHJ39yJp4MXmKRTMm74lcP_VglJYEDNcr8SSWPuW-TMQ-bUB-151IaoJbsV_-fABEv6GTUtV8rX7HDD3BjT5XKMbbuDX4w/s72-c/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%204.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2023/02/depress-vimut.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2023/02/depress-vimut.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy