--> Kaspersky เผย Ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรในอาเซียน | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผย Ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรในอาเซียน


แคสเปอร์สกี้สกัดกั้นการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์มากกว่า 300,000 รายการ ที่มีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลธุรกิจในปี 2565

องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังถูกติดตามโดยอาชญากรลักพาตัวดิจิทัล แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก คาดการณ์ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในปีนี้และปีต่อ ๆ ไป และจะใช้วิธีที่ซับซ้อนและตรงเป้าหมายมากขึ้น

แรนซัมแวร์ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่ล็อกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาหรือเข้ารหัสไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับคีย์ "ถอดรหัส" หรือรับข้อมูลคืน เหยื่อจำเป็นจ่ายค่าไถ่แก่อาชญากรไซเบอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี

แรนซัมแวร์มีพัฒนาการมาไกลตั้งแต่การโจมตีแรนซัมแวร์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1989 และตั้งแต่ปี 2016 ผู้ประสงค์ร้ายที่อยู่เบื้องหลังภัยคุกคามนี้ได้เปลี่ยนเป้าหมายจากผู้ใช้ทั่วไปเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบสูงซึ่งเป็นที่รู้จัก คือแรนซัมแวร์ Wannacry ซึ่งมูลค่าของความสูญเสียที่ตามมาประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์

กลุ่มแรนซัมแวร์ยังคงโจมตีองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่สูง


สถิติใหม่จากแคสเปอร์สกี้เปิดเผยว่า ในปีที่แล้วโซลูชันธุรกิจของแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 304,904 ครั้ง ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจต่าง ๆ

โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่โซลูชันธุรกิจของแคสเปอร์สกี้บันทึกการป้องกันเหตุการณ์การโจมตีสูงสุด (131,779 ครั้ง) ตามมาด้วยประเทศไทย (82,438 ครั้ง) เวียดนาม (57,389 ครั้ง) ฟิลิปปินส์ (21,076 ครั้ง) มาเลเซีย (11,750 ครั้ง) และสิงคโปร์ (472 ครั้ง)

ข้อมูลเทเลมิทรีของแคสเปอร์สกี้ยังเปิดเผยประเภทของแรนซัมแวร์ที่พบได้บ่อยที่สุดที่กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรธุรกิจในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2022 ดังนี้

1. Trojan-Ransom.Win32.Wanna
2. Trojan-Ransom.Win32.Gen
3. Trojan-Ransom.Win32.Crypren
4. Trojan-Ransom.Win32.Agent
5. Trojan-Ransom.Win32.Stop
นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “หนึ่งในการศึกษาล่าสุดของเราได้ยืนยันแล้วว่าธุรกิจในภูมิภาคนี้จำนวน 3 ใน 5 เคยตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ บางองค์กรโดนโจมตีครั้งเดียว แต่องค์กรจำนวนครึ่งหนึ่งตกเป็นเหยื่อหลายครั้ง ข้อมูลในปี 2022 ของเราเปิดเผยว่า ภัยคุกคามนี้จะยังคงเป็นอันตรายสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาค ด้วยอาชญากรไซเบอร์สามารถทำเงินได้ดี เนื่องจากผู้บริหารธุรกิจบางรายคิดว่าแรนซัมแวร์ถูกสื่อโฆษณาให้น่ากลัวมากเกินไป และขาดทีมรักษาความปลอดภัยขององค์กรในการตรวจจับและตอบโต้ภัยคุกคาม”
ช่องว่างแรงงานทักษะด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ยังคงตามหลอกหลอนองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้ การศึกษาระบุว่า มีช่องว่างขาดแคลนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างจำเป็นเร่งด่วน สูงถึง 2.1 ล้านคน

นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรเพียง 5% ยืนยันว่าองค์กรมีความสามารถในการตอบสนองเหตุการณ์ภายใน หรือมีทีมไอทีหรือผู้ให้บริการประจำเพื่อระบุการโจมตีแรนซัมแวร์ ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมองค์กรส่วนใหญ่ (94%) จึงต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกในกรณีที่เกิดเหตุการโจมตีทางไซเบอร์
นายโยวกล่าวเสริมว่า “เราส่งสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่กำหนดเป้าหมายองค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ได้รู้ว่าทีมรักษาความปลอดภัยด้านไอทีและผู้บริหารธุรกิจต้องการความช่วยเหลือเพื่อสร้างความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นของแรนซัมแวร์ 3.0 ซึ่งเป็นภัยคุกคามเวอร์ชันที่อันตรายกว่า จึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหนือกว่าโซลูชันเอ็นด์พอยต์ตามปกติขององค์กร หัวใจสำคัญคือการจัดเตรียมทีมรักษาความปลอดภัยพร้อมเครื่องมือตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างเช่น Kaspersky XDR (Extended Detection and Response)”
นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ประเทศไทยมีจำนวนเหตุการณ์แรนซัมแวร์ที่ถูกบล็อกโดยโซลูชันของแคสเปอร์สกี้มากเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จึงควรเพิ่มความระมัดระวังต่อภัยคุกคามนี้ การมีเครื่องมือที่เหมาะสมและความเชี่ยวชาญที่มีความสามารถเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรได้ และแคสเปอร์สกี้กระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือองค์กรด้วยโซลูชันและบริการจากผู้เชี่ยวชาญของเรา”
แพลตฟอร์ม XDR ของแคสเปอร์สกี้เป็นพอร์ตโฟลิโอแบบองค์รวม ที่สร้างขึ้นจากเสาหลักสามประการของกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จเมื่อเจอเหตุการณ์โจมตีซับซ้อน กล่าวคือ ทีมรักษาความปลอดภัยจะต้องมีคุณลักษณะต่อไปนี้
  • พร้อมรับมือ: ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นความเชี่ยวชาญด้านหนึ่ง ที่แม้แต่ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะก็สามารถตำหนิเครื่องมือของตนได้ การป้องกันจากการโจมตีแบบหลายจุดและเหตุการณ์ที่ซับซ้อนอื่นๆ ต้องใช้แพลตฟอร์มที่รวมเป็นหนึ่งเดียวซึ่งให้การมองเห็นโดยรวม กำจัดสิ่งที่กีดขวาง และป้องกันการแจ้งเตือนล่าช้า และงานประจำอื่นๆ ภายในกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์
  • รับทราบข้อมูล: ความเชี่ยวชาญขั้นสูงที่มีอยู่ขององค์กรที่พัฒนาด้านไอทีจะต้องไม่ถูกมองข้าม ขอบเขตอาชญากรรมทางไซเบอร์กำลังเปลี่ยนแปลงและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้ข้อมูลข่าวภัยคุกคามทางไซเบอร์ช่วยให้องค์กรนำหน้าศัตรูทางไซเบอร์ ด้วยการมองเห็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำหนดเป้าหมายองค์กรของคุณในระดับต่างๆในเชิงลึก ด้วยภาพรวมของภัยคุกคามที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไอทีจึงจำเป็นต้องรักษาทักษะการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จำเป็นและให้ทันสมัย เพื่อช่วยป้องกันภัยคุกคามหรือการโจมตีที่ซับซ้อนที่สุด
  • เสริมทัพ: หากพบเหตุการณ์ที่ซับซ้อนหรือ APT แม้แต่นักวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านไอทีขั้นสูงที่สุดก็ควรได้เข้าถึงการสนับสนุนภายนอกเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกจากเธิร์ดปาร์ตี้ รวมถึงการประเมินความปลอดภัย การตามล่าภัยคุกคาม และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แม้ว่าเหตุการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งเป็นผลมาจาก APT มักจะมีการกำหนดเป้าหมายระดับสูง แต่ก็มักไม่กำหนดเป้าหมายไปที่เหยื่อเพียงรายเดียว ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสามารถชี้ให้เห็นเส้นทางที่เป็นไปได้ของ APT จากส่วนอื่นๆ ทั่วโลก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่เด็ดขาดที่สุดในการกำจัดออกจากระบบที่นำไปใช้ได้จริง
แพลตฟอร์ม XDR ของแคสเปอร์สกี้มีการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรม ข้อมูลข่าวภัยคุกคามชั้นยอด ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ การฝึกอบรม และบริการ พร้อมความมุ่งมั่นที่สุดในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนวทางแบบองค์รวมของบริษัทช่วยให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของทีมองค์กรอยู่เหนือการค้นพบภัยคุกคามแบบหลายมิติ การสืบสวนที่มีประสิทธิภาพ การตามล่าภัยคุกคามเชิงรุก การตอบสนองอย่างรวดเร็วแบบรวมศูนย์ต่อภัยคุกคามสมัยใหม่อย่างเช่น แรนซัมแวร์

แพลตฟอร์ม XDR เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยแบบมัลติเลเยอร์ในรูปแบบของโซลูชันและบริการของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ สามารถปรับเปลี่ยนได้สำหรับองค์กรทุกขนาด และใช้วิธีการเชิงรุกในการประสานเครื่องมือความปลอดภัยแบบแยกส่วนเข้ากับแพลตฟอร์มการตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เป็นหนึ่งเดียว

องค์กรธุรกิจที่สนใจแพลตฟอร์ม XDR สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ go.kaspersky.com/expert หรือติดต่อ sea.sales@kaspersky.com

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,153,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,791,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1202,Motorbike,34,PR News,345,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผย Ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรในอาเซียน
Kaspersky เผย Ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรในอาเซียน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEixppsUOx1O6hNpU3eI6US-9LcIv4Ym66AaCB8empWtIE5OMybygHmUhDfKSNt748wHJh9vdqZBZ07vHha5XLX2PTplbmtpr3yBVAIdzlHKJkFXUpxsFK2fudIg5tff_m3088O5AGFxLgSeDE3TIjOsC03_RkvB3zEd2rE1JHprcUOXZ16H22Gl5DhlDA/s16000/Ransomware%20Targeting%20Businesses%20in%20SEA_01.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEixppsUOx1O6hNpU3eI6US-9LcIv4Ym66AaCB8empWtIE5OMybygHmUhDfKSNt748wHJh9vdqZBZ07vHha5XLX2PTplbmtpr3yBVAIdzlHKJkFXUpxsFK2fudIg5tff_m3088O5AGFxLgSeDE3TIjOsC03_RkvB3zEd2rE1JHprcUOXZ16H22Gl5DhlDA/s72-c/Ransomware%20Targeting%20Businesses%20in%20SEA_01.png
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2023/02/ransomware-southeast-asia-kaspersky.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2023/02/ransomware-southeast-asia-kaspersky.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy