จากการศึกษาข้อมูลล่าสุดที่จัดทำโดย OMRON Healthcare Singapore เปิดเผยว่า การหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำจะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยพบว่าผู้ที่หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตของตนที่บ้านมีแนวโน้มที่จะตรวจพบและจัดการดูแลอาการความดันโลหิตสูงของตน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษานี้อ้างอิงจากฐานผู้ใช้งานเครื่องวัดความดันที่บ้านที่ใช้งานอยู่ประจำราว 340 คน และการอ่านค่าความดันโลหิตมากกว่า 43,000 รายการในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 ถึงตุลาคม พ.ศ.2565 ฐานข้อมูลนี้ประกอบด้วยผู้ใช้ที่ใช้งานเครื่องวัดความดันของ OMRON ที่มีความสามารถเชื่อมต่อแบบดิจิทัลด้วยบลูทูธ และติดตามความดันโลหิตด้วยแอพ OMRON connect รวมถึงโปรแกรม Health Gift ของ OMRON ที่ติดตั้งอยู่ภายในแอพนี้
จากการติดตามตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าที่อ่านได้ในช่วงก่อนและหลังการลงทะเบียน (3 เดือนก่อนลงทะเบียน,หลังการลงทะเบียนในเดือนที่ 1, 3, 6 และ 12) เผยให้เห็นว่าค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure – SBP) โดยเฉลี่ยลดลง 10 มิลลิเมตรปรอทในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตซิสโตลิกพื้นฐานตั้งแต่ 135 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ภายใน 12 เดือน การศึกษายังแสดงให้เห็นว่า 80% ของผู้ใช้กลุ่มนี้มีการปรับปรุงค่าความดันโลหิตที่ดีขึ้น โดยพบว่า 55% มีความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงสู่ระดับปกติภายในเดือนที่ 12 หลังจากการติดตามตรวจวัด
จากรายงานการศึกษาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการลดค่าความดันโลหิตและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองระบุว่าทุก ๆ 5 มิลลิเมตรปรอทที่ลดลงของความดันโลหิตซิสโตลิก (SBP) จะลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจวายและการเสียชีวิตลง 18% (ด้วยช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% [CI] 12 -24%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี, ลดลง 9% (5-12%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 55-74 ปี,ลดลงได้ 9% (4-13%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 75-84 ปี และลดลง 1% (-13 ; +12) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป1
ดังนั้นจากการผลการศึกษาข้อมูลนี้จึงเน้นย้ำให้เห็นว่าการตรวจวัดและติดตามค่าความดันโลหิตที่บ้านด้วยความช่วยเหลือของแอพอยู่เสมอจะทำให้เราสามารถระบุค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปจนผิดปกติได้ หากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับการแก้ไขและจัดการด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงจะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง
“ผมเชื่อว่าการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและการจัดการโรคร่วมอื่นๆ ที่ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อม การตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่แม่นยำช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตัดสินใจอย่างรอบครอบภายใต้คำแนะนำของแพทย์ การมั่นตรวจวัดค่าความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรทำเป็นประจำทุกวันในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว" คุณวาเลอรี ไฟกิน (Valery Feigin) ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและระบาดวิทยาและผู้อำนวยการ NISAN กล่าว
ออมรอน เฮลธ์แคร์ (OMRON Healthcare) หนึ่งในผู้นำด้านการตรวจสุขภาพที่บ้าน เป็นผลิตภัณฑ์แนวหน้าในการส่งเสริมความสำคัญของการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน บริษัทได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัลซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถเชื่อมต่อได้ และมีราคาย่อมเยาสำหรับผู้คนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้เพื่อตรวจสอบความดันโลหิตที่บ้าน ในปีนี้บริษัทได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการเปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิต และจะยังคงทำงานตามวิสัยทัศน์ของบริษัทในการทำให้ "โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจลดลงจนเหลือศูนย์ (จำนวนผู้มีอาการป่วยเป็นศูนย์)" ทั่วโลก
"การตรวจวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัลที่บ้านเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการต่อสู้กับโรคหลอดเลือดสมอง โดยเริ่มจากการจัดการความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมากที่สุดต่อโรคหลอดเลือดสมอง" กล่าวโดย คุณฟรานส์ เวลเกอร์ส (Frans Velkers), กรรมการผู้จัดการของ OMRON Healthcare Singapore และเสริมว่า "อุปกรณ์ของเรามีการเชื่อมต่อ ความแม่นยำ และใช้งานง่าย ทำให้ผู้คนตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำได้ง่าย และยังแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบได้อย่างง่ายดายด้วยความช่วยเหลือของแอพ OMRON Connect ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ทำให้สามารถจัดการสถานการณ์ด้านสุขภาพได้ดีขึ้น นำไปสู่อาการด้านสุขภาพที่เลวร้ายน้อยลง และด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของเราที่มุ่งมั่น “Going for Zero” เพื่อลดอาการที่เลวร้ายทางสุขภาพของผู้คนให้เหลือแป็นศูนย์”
OMRON ยังมีการให้รางวัลแก่ผู้ใช้ผ่านโปรแกรม OMRON Health Gift ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ผู้ใช้สร้างและรักษาอุปนิสัยที่ดีต่อสุขภาพในการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำอีกด้วย
มีผลการศึกษาหลายฉบับเน้นย้ำว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อม การลดความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความดันสูงยังคงเป็นภาระปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย โดยมีรายงานการรับรู้ที่ต่ำและการปฏิบัติที่น้อยเกินไปในหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีการประมาณว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3.7 ล้านคนในแต่ละปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย2 เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่ไม่แสดงอาการของโรคความดันโลหิตสูงและภาระโรคที่ชัดเจน การวัดความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HBPM) ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการตรวจสอบความดันโลหิตและอำนวยความสะดวกในการตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อรวมกับการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมแล้วเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านจะมีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อมได้3
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ OMRON จึงได้เข้าร่วมภารกิจเพื่อส่งเสริมการคัดกรองโรคความดันโลหิตโดยการบริจาคอุปกรณ์ผ่าน May Measurement Month program ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา OMRON ได้บริจาคเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 23,249 เครื่องให้กับสมาคมทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงหลายแห่งทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรค
Website: https://www.omronhealthcare-ap.com/sg
Facebook: https://www.facebook.com/omronhealthcare.sg/
1. Rahimi K, Bidel Z, Nazarzadeh M, Copland E, Canoy D, Wamil M, Majert J, McManus R, Adler A, Agodoa L, et al. Age-stratified and blood-pressure-stratified effects of blood-pressure-lowering pharmacotherapy for the prevention of cardiovascular disease and death: an individual participant-level data meta-analysis. The Lancet. 2021;398:1053-1064. doi: 10.1016/S0140-6736(21)01921-8
2. Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME). GBD Compare Data Visualization. Seattle, WA: IHME, University of Washington, 2023. Available from https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/ Accessed 4 May 2023.
3. Wang J-G, Bunyi ML, Chia YC, Kario K, Ohkubo T, Park S, Sukonthasarn A, Tay JC, Turana Y, Verma N, et al. Insights on home blood pressure monitoring in Asia: Expert perspectives from 10 countries/regions. The Journal of Clinical Hypertension. 2021;23:3-11. doi: https://doi.org/10.1111/jch.14074
COMMENTS