--> สกสว. จับมือ อบก. และ TEATA เปิดตัวแอปฯ “ZERO CARBON” บพข. ยกระดับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

สกสว. จับมือ อบก. และ TEATA เปิดตัวแอปฯ “ZERO CARBON” บพข. ยกระดับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และบริษัท พิมส์ เทคโนโลจิส จำกัด ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” ภายใต้ “โครงการการขับเคลื่อนและผลักดันการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. พัฒนาชุดแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอน จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” สนับสนุนทุนวิจัยโดย บพข. กองทุน ววน. ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพ  

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข.และผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. (ในฐานะผู้แทน ผู้อำนวยการ สกสว. และ ผู้อำนวยการ บพข.)  กล่าวว่า สกสว. ขับเคลื่อนแผนงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ.2566 – 2570 พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีแผนงานที่เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม



“บพข. โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุน ววน. มุ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายความสำเร็จในกรอบ 5 ปี (ปีพ.ศ.2566-2570) มุ่งให้ประเทศไทยเป็น Carbon Neutral Tourism Destination ด้วยการสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแบบปกติให้เป็นการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ เกิดผลกระทบเชิงบวกทางต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เหมาะสมกับบริบทของภาคธุรกิจของไทย ผู้ประกอบการและชุมชนท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พร้อมเร่งดำเนินการขยายเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้ครอบคลุม ชุมชน ธุรกิจขนส่ง/เดินทาง ธุรกิจที่พัก ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจสินค้าที่ระลึก ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการทางทะเล กว่า 500 ราย ในขณะเดียวกันได้วางแผนการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ที่มีเป้าหมายราว 1,500 เส้นทาง ภายในปี 2569 และวางแผน Net Zero Emission Route ในปี 2569 – 2570 ราว 100 เส้นทาง โดยมี Carbon Neutral Tour Operator / Hotel กว่า 200 ราย รวมทั้งจะมีผู้ประกอบการ Tour Operator / Hotel ที่เป็น Net Zero เพิ่มเติม” ผศ.สุภาวดี กล่าวทิ้งท้าย

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยว มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และ Net Zero เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาโลกร้อนเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างกลไกให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมุ่งสู่ความยั่งยืน ทาง TGO จึงได้พัฒนาเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะบริษัทนำเที่ยวนำไปใช้คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทราบแหล่งและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญของกิจกรรมท่องเที่ยวของตน ถือเป็นประโยชน์อย่างมากที่ทาง บพข.ได้นำเครื่องมือและองค์ความรู้ของ TGO พัฒนาสู่รูปแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้งานสามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ เลือกซื้อคาร์บอนเครดิต และได้รับใบประกาศเกียรติคุณเบ็ดเสร็จในแอปเดียว ผู้ใช้งานโดยเฉพาะบริษัทนำเที่ยวสามารถนำไปใช้ให้บริการกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากช่วยในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับสากล อีกด้วย 

ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า นอกเหนือจากภาพจำของคนภายนอกที่มองว่าเราทำงานกับชุมชนอย่างเดียว แต่เรายังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา อพท. มีการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึง Low Carbon tourism มาแล้ว แต่ในปัจจุบันพยายามมุ่งไปสู่ Net Zero Carbon ซึ่ง อพท. มีเครือข่ายชุมชนทั่วประเทศมากมาย มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการจัดชุมชมขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยปีที่แล้วมีชุมชนที่ผ่านการคัดเลือก 2 ชุมชน คือ ชุมชนบางกอบัว จังหวัดสมุทรปราการ และชุมชนบางน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด โดยได้วางแผนที่จะขยายไปยังตลาดท่องเที่ยวคุณภาพสูง เพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่จะเป็นเทรนด์ใหม่ในอนาคต 

คุณภัทร์ ศาสตร์ขำ ผู้จัดการอาวุโส TCEB กล่าวว่า บทบาทของ TCEB ในการนำ App : Zero Carbon ในอุตสาหกรรมไมซ์สามารถดำเนินการพัฒนาต่อยอด App: Zero Carbon ต่อจากเครื่องมือคำนวณที่ได้พัฒนาร่วมกันให้ตอบสนองต่อการจัดงานประชุมสัมมนาและนิทรรศการ ซึ่งมีความแตกต่างจากการท่องเที่ยวอยู่หลายบริบท และจะส่งเสริมผลักดันให้ผู้ประกอบการไมซ์นำเครื่องมือนี้ไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น ในการส่งเสริมการจัดประชุมสัมมนา มักมีการท่องเที่ยวก่อนหรือหลังกิจกรรมประชุมสัมมนา ซึ่งผู้จัดงานมักมองหาสถานที่หรือบริการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อมีแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และผู้ให้บริการท่องเที่ยวสามารถให้บริการแบบคาร์บอนต่ำหรือคาร์บอนเป็นกลางได้ ก็ถือเป็นการอำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสทางธุรกิจการท่องเที่ยวไปด้วย อีกทั้งอุตสาหกรรมไมซ์สามารถนำข้อมูลและการวิจัยด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ บพข.(กองทุน ววน.) มาต่อยอดในบริบทของไมซ์และพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ให้ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้

คุณวสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคม TEATA กล่าวว่า TEATA ในฐานะผู้นำผลลัพธ์จากงานวิจัย บพข.ที่น่าสนใจในหลายพื้นที่มาต่อยอดเพื่อยกระดับให้เป็นกิจกรรม หรือ เส้นทางคาร์บอนต่ำ มุ่งสู่การเป็นท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ App : Zero Carbon จะทำให้การชดเชยคาร์บอนขยายไปสู่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็น App ที่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานรายเล็กสามารถเข้าถึงคาร์บอนเครดิตได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังสามารถจัดหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชยจนเหมือนไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้แก่การเดินทางท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง 

“และจุดเริ่มต้นที่สำคัญเราจะนำไปเชิญชวนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสมาชิกขององค์กรเครือข่ายที่ได้มีการลงนาม MOU ร่วมกับ TEATA จำนวน 31 องค์กร ภายใต้งานวิจัยทุน บพข.ในปีนี้ ให้นำไปใช้ทำกิจกรรมประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์อย่างเร็วและชดเชยคาร์บอนจนได้ใบประกาศเกียรติคุณจาก TGO ซึ่งจะทำให้มีฐานข้อมูลการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์จำนวนมากจากหลากหลายเส้นทางท่องเที่ยวและมากจำนวนครั้ง รวมถึงเรายังจะส่งเสริมพันธมิตร ชุมชน และผู้ประกอบการอื่นๆ ซึ่งเป็น Suppliers ด้านการท่องเที่ยว นอกเหนือจากการส่งเสริมองค์กร 31 องค์กร ให้รู้จักและใช้ App : Zero Carbon มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง” คุณวสุมน กล่าวทิ้งท้าย

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,284,Audio Visual,193,automotive,299,beauty,3,Business,237,CSR,27,Economic,8,Electronics,85,Entertainment,145,EV,110,FinTech,125,Food,103,Gallery,2,Health & Beauty,90,Home Appliance,130,InsurTech,12,Interview,4,IT & DeepTech,769,Lifestyle,267,Marketing,163,Mobile Device,1174,Motorbike,33,PR News,321,PropTech,53,Real Estate,292,Review,109,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: สกสว. จับมือ อบก. และ TEATA เปิดตัวแอปฯ “ZERO CARBON” บพข. ยกระดับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
สกสว. จับมือ อบก. และ TEATA เปิดตัวแอปฯ “ZERO CARBON” บพข. ยกระดับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdxZUHWzFL79j53MfL7V9XBTnb8vhnugvyVEfQex4vcAERTqxGGNg-2jgcvED0WOxLLmWXeYfbgoy00cvJh_CqBwzn2tYGxNcY9pB3jIce42ld1r8vNQDdQ6U7JEb9xfQlW87Nwzqt-L86xv4XeCu0ohmxVsxkcTTHk06hgI7v68eBsyCw3dPcLK45triF/s16000/173630.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdxZUHWzFL79j53MfL7V9XBTnb8vhnugvyVEfQex4vcAERTqxGGNg-2jgcvED0WOxLLmWXeYfbgoy00cvJh_CqBwzn2tYGxNcY9pB3jIce42ld1r8vNQDdQ6U7JEb9xfQlW87Nwzqt-L86xv4XeCu0ohmxVsxkcTTHk06hgI7v68eBsyCw3dPcLK45triF/s72-c/173630.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2023/07/teata-zero-carbon.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2023/07/teata-zero-carbon.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy