--> Kaspersky ชี้ตัวเลขการบล็อกภัยคุกคามธุรกิจ SMB ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky ชี้ตัวเลขการบล็อกภัยคุกคามธุรกิจ SMB ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกได้บล็อกมัลแวร์หรือซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์จำนวน 2,375 รายการที่มีเป้าหมายโจมตีธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 257.68%

แคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานสถิติภัยคุกคาม SMB ล่าสุดสำหรับประเทศไทยช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 รายงานฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 พนักงานของ SMB จำนวน 251 รายประสบกับปัญหามัลแวร์หรือซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ซึ่งปลอมตัวเป็นแอปพลิเคชันทางธุรกิจ โดยเป็นไฟล์ที่ไม่ซ้ำกัน 270 ไฟล์ที่แพร่กระจายด้วยวิธีนี้ และจำนวนการตรวจพบไฟล์ทั้งหมดคือ 2,375 ไฟล์

“มัลแวร์” เป็นคำทั่วไปที่หมายถึง “ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย” ได้รับการออกแบบโดยอาชญากรไซเบอร์และใช้งานโดยอาชญากรไซเบอร์มืออาชีพเพื่อทำอันตรายต่ออุปกรณ์หรือเครือข่ายของผู้ใช้ ครอบคลุมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่หลากหลาย เช่น โทรจันและไวรัส แรนซัมแวร์ก็เป็นมัลแวร์รูปแบบหนึ่ง การโจมตีด้วยมัลแวร์เป็นอันตรายต่อธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากมัลแวร์สามารถทำลายอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องจ่ายซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในราคาแพง มัลแวร์ยังช่วยให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงและขโมยข้อมูลได้ ทำให้ทั้งลูกค้าและพนักงานตกอยู่ในความเสี่ยง

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตัวเลขปี 2566 ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 แคสเปอร์สกี้พบพนักงานของ SMB ที่ประสบภัยมัลแวร์เพียง 68 คน และพบไฟล์ที่เป็นอันตราย 81 ไฟล์

จำนวนการตรวจจับทั้งหมดในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สูงกว่าช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ถึง 257.68% ซึ่งแคสเปอร์บันทึกไฟล์ได้เพียง 664 ไฟล์เท่านั้น

สถิติภัยคุกคาม SMB ในประเทศไทย

  • ช่วงเวลา Unique Files                 Unique Users Unique hits
  • มกราคม - มิถุนายน 2565 81         68                         664
  • มกราคม - มิถุนายน 2566 270 251                 2375

ตามรายงานนี้ ผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกัน (Unique Users) แสดงถึงจำนวนพนักงาน SMB ที่ใช้ผลิตภัณฑ์แคสเปอร์สกี้ในขณะที่ถูกโจมตี การโจมตีที่ไม่ซ้ำกัน (Unique hits) แสดงจำนวนครั้งที่อาชญากรไซเบอร์พยายามโจมตีผู้ใช้ ไฟล์ที่ไม่ซ้ำ (Unique Files) คือมัลแวร์เฉพาะที่ตรวจพบและบล็อกโดยแคสเปอร์สกี้

สถิติที่ใช้ในรายงานนี้รวบรวมตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 โดย Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งเป็นระบบสำหรับการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แชร์โดยผู้ใช้โดยสมัครใจและไม่ระบุชื่อผู้ใช้

เพื่อประเมินภาพรวมภัยคุกคามสำหรับภาคธุรกิจ SMB ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้รวบรวมชื่อผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ยอดนิยมที่ใช้โดยลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางทั่วโลก รายชื่อซอฟต์แวร์สุดท้าย ได้แก่ MS Office, MS Teams, Skype และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้โดยภาคธุรกิจ SMB จากนั้นแคสเปอร์สกี้จะรันชื่อซอฟต์แวร์เหล่านี้กับ Kaspersky Security Network (KSN) เพื่อดูว่ามัลแวร์และซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ได้ถูกเผยแพร่ภายใต้แอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้จำนวนเท่าใด

จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประเทศไทย พบว่ามีธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB จำนวน 3.178 ล้านราย คิดเป็น 99.57% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศ มีการจ้างงานมากกว่า 12.6 ล้านคน คิดเป็น 71.86% ของการจ้างงานทั้งหมด ไม่ต้องสงสัยเลยว่า SMB เป็นกระดูกสันหลังสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “การรับรู้ของคนส่วนมากก็คือองค์กรขนาดใหญ่นั้นดึงดูดความสนใจของอาชญากรไซเบอร์ได้มากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชญากรไซเบอร์สามารถกำหนดเป้าหมายโจมตีใครก็ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยมีการปกป้องทางไซเบอร์ ธุรกิจ SMB มักจะมีทรัพยากรที่จำกัดและอาจไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ซับซ้อนในระดับเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ได้ง่าย”

อาชญากรไซเบอร์พยายามส่งมัลแวร์และซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ไปยังอุปกรณ์ของพนักงานโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่ทำได้ เช่น การแสวงหาประโยชน์จากช่องโหว่ อีเมลฟิชชิง และข้อความปลอม แม้แต่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อย่างเช่น ลิงก์ YouTube ก็อาจถูกใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายโจมตี SMB เนื่องจากพนักงานมักใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียวกันในการทำงานและใช้ในเรื่องส่วนตัว

“สมิชชิ่ง” (smishing) เป็นหนึ่งในวิธีที่มักใช้ในการแฮ็กเข้าสู่สมาร์ตโฟนของพนักงาน เป็นการผสมผสานระหว่าง SMS และฟิชชิง เหยื่อได้รับลิงก์ทาง SMS, WhatsApp, Facebook Messenger, WeChat หรือแอปส่งข้อความอื่น ๆ หากผู้ใช้คลิกลิงก์ โค้ดที่เป็นอันตรายจะถูกอัปโหลดไปยังระบบ

มิจฉาชีพมักเข้าถึงพนักงานทางอีเมล โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพื่อพยายามหลอกพนักงานให้ติดตามลิงก์ฟิชชิง เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทหรือโอนเงิน

“ผลกระทบของการโจมตีทางไซเบอร์ต่อธุรกิจ SMB สามารถสร้างความเสียหาย ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และในบางกรณีอาจถึงขั้นปิดธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับธุรกิจ SMB เพื่อปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัล รักษาความไว้วางใจของลูกค้า รับประกันการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความสำเร็จของธุรกิจที่สร้างการเติบโตสูงให้ประเทศ” นายโยวกล่าวเสริม

เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์กำหนดเป้าหมายโจมตีธุรกิจ SMB ด้วยภัยคุกคามทุกประเภท ตั้งแต่มัลแวร์ที่ปลอมแปลงเป็นซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ ไปจนถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิงและอีเมล ธุรกิจต่างๆ จึงต้องตื่นตัวอยู่เสมอ นี่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์เพียงครั้งเดียวสามารถทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินและชื่อเสียงของบริษัทได้ เพื่อปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เราขอแนะนำให้ธุรกิจดำเนินการดังต่อไปนี้

จัดให้มีการฝึกอบรมด้านสุขอนามัยขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่พนักงาน จำลองการโจมตีแบบฟิชชิงเพื่อให้พนักงานรู้วิธีจดจำอีเมลฟิชชิง

หากใช้ Microsoft 365 ควรปกป้องด้วย Kaspersky Security for Microsoft Office 365 ซึ่งประกอบด้วยแอปเฉพาะที่ป้องกันสแปมและฟิชชิ่ง และปกป้อง SharePoint, Teams และ OneDrive เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ปลอดภัย

กำหนดนโยบายควบคุมการเข้าถึงทรัพย์สินของบริษัท เช่น กล่องอีเมล โฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกัน และเอกสารออนไลน์ รักษาข้อมูลให้ทันสมัย และลบการเข้าถึงเครือข่ายเมื่อพนักงานลาออกจากบริษัท หรือไม่ต้องใช้ข้อมูลอีกต่อไป ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบคลาวด์ ที่สามารถช่วยจัดการและตรวจสอบกิจกรรมบนคลาวด์ของพนักงานและบังคับการใช้นโยบายความปลอดภัย

สำรองข้อมูลสำคัญเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรในกรณีฉุกเฉิน

จัดทำแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้บริการและทรัพยากรภายนอกองค์กร พนักงานควรรู้ว่าเครื่องมือใดที่ควรใช้หรือไม่ควรใช้ และเพราะเหตุใด ซอฟต์แวร์การทำงานใหม่ใดๆ ควรผ่านกระบวนการอนุมัติที่ร่างไว้อย่างชัดเจนโดยฝ่ายไอทีและบทบาทที่รับผิดชอบอื่นๆ

ส่งเสริมให้พนักงานสร้างรหัสผ่านที่รัดกุมสำหรับบริการดิจิทัลทั้งหมดที่ใช้ และเพื่อปกป้องบัญชีด้วยการตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัย (multi-factor authentication)

ใช้บริการระดับมืออาชีพเพื่อช่วยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรความปลอดภัยทางไซเบอร์ Kaspersky Professional Services Packages for SMB เป็นบริการเข้าถึงความเชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ด้านการประเมิน การปรับใช้ และการกำหนดค่าต่างๆ สิ่งที่องค์กรต้องทำคือเพิ่มแพ็คเกจลงในสัญญา และผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้จะดำเนินการจัดการส่วนที่เหลือให้

ใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เอ็นด์พอยต์ เช่น Kaspersky Endpoint Security for Business และ Cloud-Based Endpoint Security เพื่อลดโอกาสการติดมัลแวร์

สร้างแนวคิดการป้องกันที่ครอบคลุม ซึ่งจะจัดเตรียม แจ้งเตือน และแนะนำทีมในการต่อสู้รับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและกำหนดเป้าหมายโจมตี เช่น แพลตฟอร์ม Kaspersky Extended Detection and Response (XDR)

สำหรับธุรกิจ SMB ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ได้เปิดตัวโปรโมชันซื้อ 1 ฟรี 1 ซึ่งช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ได้ใช้งานการปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พอยต์ระดับองค์กรเป็นเวลา 2 ปีในราคา 1 ปี ด้วยโซลูชัน Kaspersky Endpoint Security for Business หรือ Cloud หรือ Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum พร้อมการสนับสนุนทางโทรศัพท์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ sea.sales@kaspersky.com

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานภัยคุกคาม SMB ล่าสุดของแคสเปอร์สกี้โปรดไปที่ https://securelist.com/smb-threat-report-2023/110097

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,284,Audio Visual,193,automotive,299,beauty,3,Business,237,CSR,27,Economic,8,Electronics,85,Entertainment,145,EV,110,FinTech,125,Food,103,Gallery,2,Health & Beauty,90,Home Appliance,130,InsurTech,12,Interview,4,IT & DeepTech,769,Lifestyle,267,Marketing,163,Mobile Device,1174,Motorbike,33,PR News,321,PropTech,53,Real Estate,292,Review,109,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky ชี้ตัวเลขการบล็อกภัยคุกคามธุรกิจ SMB ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น
Kaspersky ชี้ตัวเลขการบล็อกภัยคุกคามธุรกิจ SMB ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhaQaWC7TIYCmllNwTigIQwNDD2o-wIWT5c1HrcDNT-oam04PnCAuF12eNOn1eBAIv1PlLG3YtocPmFHYjVhT_zlAC8ibcIgtfJhUCmYJJj2FpPyaOa7ZPTtGt7auVVIFQJpaeoAD_lAbQaQqH-IGMpWd6T7ZaYPyL9RdmlrXsGMBdZEMpj-wxaFjj1bRs/s16000/smb.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhaQaWC7TIYCmllNwTigIQwNDD2o-wIWT5c1HrcDNT-oam04PnCAuF12eNOn1eBAIv1PlLG3YtocPmFHYjVhT_zlAC8ibcIgtfJhUCmYJJj2FpPyaOa7ZPTtGt7auVVIFQJpaeoAD_lAbQaQqH-IGMpWd6T7ZaYPyL9RdmlrXsGMBdZEMpj-wxaFjj1bRs/s72-c/smb.png
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2023/09/kaspersky-smb.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2023/09/kaspersky-smb.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy