--> Qualtrics เผย Employee รู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงในปี 2566 รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี และการยอมรับในองค์กร | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Qualtrics เผย Employee รู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงในปี 2566 รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี และการยอมรับในองค์กร

ผลการศึกษาวิจัยใหม่ของ Qualtrics เผยถึงแนวโน้มของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน ในประเทศไทย ปี 2567 ในขณะที่พนักงานยังคงประสบกับการพัฒนารูปแบบการทำงานแบบผสมผสานท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ รายงานแนวโน้มการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน ประจำปี 2567 ของ Qualtrics ได้เผยให้เห็นว่าตัวชี้วัดการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ได้ลดลงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 

โดยอ้างอิงจากคำตอบของพนักงานเกือบ 37,000 คนทั่วโลก รวมถึงคำตอบมากกว่า 1,000 คนจากประเทศไทย พบว่าตัวชี้วัดด้านการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในลำดับต้น ๆ ทั้งหมดได้ลดลง นับตั้งแต่จุดสูงสุดในปี 2566 เช่น การมีส่วนร่วม, สิ่งที่บริษัททำได้ดีเกินความคาดหวังของพนักงาน, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อ, การยอมรับในองค์กร รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • การมีส่วนร่วม ปี 2567 สัดส่วน 76% (ทั่วโลก 68%), ปี 2566 สัดส่วน 82%, ปี 2565 สัดส่วน 77% และปี 2564 สัดส่วน 78%
  • สิ่งที่บริษัททำได้ดีเกินความคาดหวังของพนักงาน ปี 2567 สัดส่วน 47% (ทั่วโลก 38%), ปี 2566 สัดส่วน 58%, ปี 2565 สัดส่วน 47% และปี 2564 สัดส่วน 33%
  • ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป ปี 2567 สัดส่วน 76% (ทั่วโลก 65%), ปี 2566 สัดส่วน 82%, ปี 2565 สัดส่วน 76% และปี 2564 สัดส่วน 82%
  • การยอมรับในองค์กร ปี 2567 สัดส่วน 82% (ทั่วโลก 73%), ปี 2566 สัดส่วน 87%, ปี 2565 สัดส่วน 82% และปี 2564 สัดส่วน 84%
  • ความเป็นอยู่ที่ดี ปี 2567 สัดส่วน 75% (ทั่วโลก 72%), ปี 2566 สัดส่วน 84%, ปี 2565 สัดส่วน 80% และปี 2564 สัดส่วน 80% 

แนวโน้มของตัวบ่งชี้การสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานนี้ สะท้อนให้เห็นว่าทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคะแนนลดลงในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ และหยุดชะงักในสิงคโปร์ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องกลับมามุ่งเน้นกับการยึดคนเป็นศูนย์กลางอีกครั้ง

ดร. เซซิเลีย เฮอร์เบิร์ต ประธาน XM Catalyst จากสถาบัน Qualtrics XM กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนา การสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน จึงเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุดในการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานและผลการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่นวัตกรรมและความสามารถในการทำกำไร ไปจนถึงการบริการลูกค้าที่ดีขึ้นและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของพนักงาน ซึ่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นศูนย์กลาง และสามารถทำให้ทีมของตนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นองค์กรที่โดดเด่นในปีต่อๆ ไป 

แนวโน้มการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ปี 2567

นอกเหนือจากการเน้นย้ำถึงสถานะของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ปี 2567 แล้วทีมผู้เชี่ยวชาญของ Qualtrics ยังได้วิเคราะห์สิ่งที่ค้นพบในการศึกษานี้ โดยเผยแนวโน้มที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ดังนี้

  • พนักงานชอบการเข้าออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว มากกว่าทำงานที่บ้านตลอดเวลา แต่ไม่ใช่การเข้าออฟฟิศทั้ง 5 วัน 
  • พนักงานอยากให้ AI เข้ามาช่วยเหลือพวกเขามากกว่าประเมินพวกเขา
  • พนักงานระดับแนวหน้าไม่มีความสุข ไม่ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจน้อยที่สุด
  • ช่วงเริ่มงานใหม่ที่ควรจะรู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นได้หายไป
  • พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนและพูดคุยเรื่องการทำงานผ่านทางอีเมลได้อย่างสบายใจ แต่มีความลังเลที่จะโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

พนักงานชอบการเข้าออฟฟิศเป็นครั้งคราว มากกว่าทำงานที่บ้านตลอดเวลา แต่ไม่ใช่การเข้าออฟฟิศทั้ง 5 วัน 

ผลการวิจัยของ Qualtrics เกี่ยวกับจำนวนวันที่พนักงานควรทำงานในออฟฟิศ ได้แสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดที่สำคัญของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานเชิงบวกนั้นสูงที่สุดสำหรับพนักงานที่มีตารางการทำงานแบบผสมผสาน โดยมีระดับการมีส่วนร่วมและความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อมีระดับสูงสุด เช่นเดียวกับความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีและการยอมรับในองค์กร เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาในออฟฟิศ หรือไม่ได้เข้าทำงานในออฟฟิศเลย

  • ไม่ได้เข้าทำงานในออฟฟิศเลย พบว่า การมีส่วนร่วม มีสัดส่วน 74%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน 47%, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 63%, การยอมรับในองค์กร สัดส่วน 79% และความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วน 71%
  • เข้าทำงานในออฟฟิศ 2-4 วัน (เฉลี่ย) การมีส่วนร่วม สัดส่วนเฉลี่ย 86%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน 55, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 79%, การมีส่วนร่วม สัดส่วน 87% และคุณภาพชีวิตที่ดี สัดส่วน 83%
  • เข้าทำงานในออฟฟิศ 5 วัน การมีส่วนร่วม สัดส่วน 69%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน  41%, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 75%, การมีส่วนร่วมสัดส่วน 78% และความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วน 71%

พนักงานอยากให้ AI เข้ามาช่วยเหลือพวกเขามากกว่าประเมินพวกเขา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งที่เปิดรับ AI ในที่ทำงาน โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขายินดีให้ AI เข้ามาช่วยในการทำงาน (เทียบกับทั่วโลก 42%)

โดยพนักงานจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น เมื่อพวกเขารู้สึกว่าสามารถควบคุม AI ได้ เช่น การเขียนงานโดย AI มีจำนวน 74% ของพนักงานจะใช้ AI ในเรื่องนี้, ในฐานะผู้ช่วยส่วนตัวของพนักงาน 74% และการติดต่อฝ่ายสนับสนุนในหน้าที่ต่างๆ 71% – มากกว่าในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การศึกษา 58% หรือการตัดสินใจจ้างงาน 44% โดยการเปรียบเทียบระหว่าง ความพอใจในการใช้ AI กับความไม่พอใจ มีสัดส่วนดังนี้ 

  • น่าจะมี AI ช่วยงานเขียน พอใจ 74%, ไม่พอใจ 8%
  • น่าจะมี AI เป็นผู้ช่วยส่วนตัว พอใจ 74%, ไม่พอใจ 8%
  • จะขอการสนับสนุนจากบอท AI เมื่อติดต่อกับฝ่ายสนับสนุนภายใน พอใจ 71%, ไม่พอใจ 9%
  • อยากจะได้รับการฝึกสอน หรือคำแนะนำเกี่ยวกับบอท AI เพื่อการเติบโตส่วนบุคคล พอใจ 63%, ไม่พอใจ 11%
  • ต้องการการศึกษาอย่างเป็นทางการที่สอนโดยบอท AI พอใจ 58%, ไม่พอใจ 15%
  • น่าจะได้รับการประเมินประสิทธิภาพของบอท AI พอใจ 62%, ไม่พอใจ 15%
  • อยากจะถูกสัมภาษณ์สำหรับงานใหม่ หรือเลื่อนตำแหน่งโดยบอท AI พอใจ 44%, ไม่พอใจ 29%

พนักงานระดับแนวหน้าไม่มีความสุข ไม่ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจน้อยที่สุด

พนักงานระดับแนวหน้า เช่น พนักงานแคชเชียร์ พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร และพนักงานค้าปลีก มีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ และมักเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด แต่เมื่อเทียบกับพนักงานทั้งหมดแล้ว ขวัญและกำลังใจของพนักงานเหล่านี้ยังอยู่ในระดับต่ำที่สุด พวกเขาไม่รู้สึกว่าความต้องการในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนอง ขาดการสนับสนุนในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้สึกว่าไม่สามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ได้

เปรียบเทียบระหว่างพนักงานระดับแนวหน้ากับพนักงานไม่ใช่ระดับแนวหน้า ในเรื่องความสุขกับเงินเดือนและสวัสดิการ มีสัดส่วน 67% : 77%, ความรู้สึกพร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงาน มีสัดส่วน 78% : 82%, ความรู้สึกท้าทายต่อการทำงานแบบเดิมๆ มีสัดส่วน 70% : 79% และไว้วางใจผู้นำ มีสัดส่วน 73% : 82%

ช่วงเริ่มงานใหม่ที่ควรจะรู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นได้หายไป

ในอดีต ปีแรกของการทำงานพวกเขาจะรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างมาก แต่ในปัจจุบัน พนักงานใหม่มีส่วนร่วมและความตั้งใจที่จะอยู่กับบริษัท รวมถึงการยอมรับน้อยลง เมื่อเทียบกับพนักงานเก่า

จากข้อมูลเผยให้เห็นความสำคัญของช่วงหลายเดือนแรกของงานใหม่ต่อการสร้างพนักงานที่มีความมุ่งมั่นและภักดีแต่มีผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพียง 41% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการรับสมัครพนักงานใหม่ เพื่อบูรณาการพวกเขาให้เข้ากับองค์กรโดยสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพนักงานใหม่จำนวนมากเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในการสำรวจการมีส่วนร่วมประจำปี องค์กรต่างๆ อาจขาดข้อมูลที่สำคัญสำหรับการรักษาพนักงานใหม่ล่าสุดไว้ โดยผลการศึกษาพบว่ามีสัดส่วน ดังนี้

  • พนักงานใหม่ (อายุงาน < 6 เดือน) การมีส่วนร่วม 65%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 33%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 43%, ทำงานร่วมกัน 62%, ความเป็นอยู่ที่ดี 67%
  • อายุงาน 6 เดือน – 1 ปี การมีส่วนร่วม 60%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 40%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 40%, ทำงานร่วมกัน 76%, ความเป็นอยู่ที่ดี 60%
  • อายุงาน 1-2 ปี การมีส่วนร่วม 65%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 47%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 58%, ทำงานร่วมกัน 79%, ความเป็นอยู่ที่ดี 70%
  • อายุงาน 2-3 ปี การมีส่วนร่วม 75%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 39%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 71%, ทำงานร่วมกัน 80%, ความเป็นอยู่ที่ดี 74%
  • อายุงาน 3-5 ปี การมีส่วนร่วม 77%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 50%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 85%, ทำงานร่วมกัน 82%, ความเป็นอยู่ที่ดี 77%
  • อายุงาน 5 ปีขึ้นไป การมีส่วนร่วม 82%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 50%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 85%, ทำงานร่วมกัน 87%, ความเป็นอยู่ที่ดี 79%

พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนและพูดคุยเรื่องการทำงานผ่านทางอีเมลได้อย่างสบายใจ

ปัจจุบันพนักงานรู้สึกสบายใจที่นายจ้างตั้งใจรับฟังกระบวนการทำงานผ่านทางอีเมล เช่น บันทึกการสัมภาษณ์ สำเนาการประชุมเสมือนจริง และข้อความแชท เพื่อปรับปรุงการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งในความเป็นจริงมีพนักงาน 83% รู้สึกสบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลอีเมลเพื่อทำความเข้าใจและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่พวกเขาไม่ค่อยสบายใจที่บริษัทจะใช้การโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะแบบไม่เปิดเผยตัวตนหรือไม่ -พนักงานจำนวน 50% รู้สึกสบายใจกับการใช้โซเชียลมีเดีย 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้องค์กรมีวิธีใหม่ๆ ในการค้นหาว่าพนักงานทำงานอย่างไร นอกเหนือจากแบบสำรวจการมีส่วนร่วม และต่างจากข้อเสนอแนะที่เรียกร้องโดยตรง แต่ยังคงให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้ ดังนี้

  • สบายใจที่องค์กรที่ใช้ข้อมูลจากอีเมล  พอใจ 83% : ไม่พอใจ 4%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากคำตอบแบบสำรวจ พอใจ 75% : ไม่พอใจ 6%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากระบบงานและกระบวนการต่างๆ พอใจ 80% : ไม่พอใจ 4%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากบันทึกการประชุม พอใจ 77% : ไม่พอใจ 4%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากข้อความโดยตรง พอใจ 72% : ไม่พอใจ 6%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากข้อความกลุ่ม พอใจ 64% : ไม่พอใจ 10%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่ไม่ระบุชื่อ พอใจ 58% : ไม่พอใจ 13%
  • สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่ไม่เปิดเผยตัวตน พอใจ 50% : ไม่พอใจ 22% 

อ่านรายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานปี 2024 ฉบับเต็มได้ที่นี่:  https://www.qualtrics.com/au/ebooks-guides/2024-ex-trends-report

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,288,Audio Visual,193,automotive,307,beauty,3,Business,237,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,150,EV,113,FinTech,126,Food,105,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,782,Lifestyle,268,Marketing,166,Mobile Device,1189,Motorbike,34,PR News,333,PropTech,53,Real Estate,298,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Qualtrics เผย Employee รู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงในปี 2566 รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี และการยอมรับในองค์กร
Qualtrics เผย Employee รู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงในปี 2566 รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี และการยอมรับในองค์กร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEioCn7FAoA84IoxpXU7how9Y2Eqhut8__-4wUx-wlskbJt0LtzM7xYZSLShkTO11ixESJBjAtb6D4-trgHSAEeHrt_FvDcxqQxbMrVDj10q3OaDIlfLSLBH-m7gGAX83Ao5CEUOl8IndxbHmLv4XwDuUWNpUvqdUryTs-zboK56j5qPKDmdXUbKWnVJ8RU/s16000/3(1).jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEioCn7FAoA84IoxpXU7how9Y2Eqhut8__-4wUx-wlskbJt0LtzM7xYZSLShkTO11ixESJBjAtb6D4-trgHSAEeHrt_FvDcxqQxbMrVDj10q3OaDIlfLSLBH-m7gGAX83Ao5CEUOl8IndxbHmLv4XwDuUWNpUvqdUryTs-zboK56j5qPKDmdXUbKWnVJ8RU/s72-c/3(1).jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2023/11/qualtrics-employee-2024-trends-report.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2023/11/qualtrics-employee-2024-trends-report.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy