--> Group-IB เปิดตัวรายงาน Hi-Tech Crime Trends 23/24: ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware มากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Group-IB เปิดตัวรายงาน Hi-Tech Crime Trends 23/24: ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware มากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Group-IB ผู้นำในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อการสืบสวน, ป้องกัน และต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ ได้เปิดเผยข้อมูลภาพรวมภูมิทัศน์ภัยคุกคามไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) สำหรับปี 2023/2024 ผ่านการเผยแพร่รายงาน Hi-Tech Crime Trends ประจำปี โดยภายในรายงานดังกล่าวจะนำเสนอถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกว่าความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2023 นักวิจัยจาก Group-IB ได้ค้นพบการเพิ่มขึ้นของจำนวนกรณีการโจมตีขโมยข้อมูลบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 64% ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าออสเตรเลียนั้นเป็นอันดับหนึ่งในรายการดังกล่าวที่มีบัตรเครดิตถูกขโมยข้อมูลบัตรเครดิตมากถึง 255,910 ใบ ในขณะที่เหตุการณ์การโจมตีด้วย Ransomware ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นก็มากขึ้นถึง 39% ในปี 2023 โดยมีธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นเหยื่อสูงที่สุด นอกจากนี้ ออสเตรเลียและอินเดียก็ยังคงรักษาตำแหน่งของการเป็นประเทศที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีจาก Ransomware-as-a-Service (RaaS) สูงที่สุดอยู่เช่นเคย ส่วนผู้ขโมยข้อมูลนั้นก็ได้สร้างความน่ากังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีอุปกรณ์ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากถึง 399,682 ชุดที่ตกเป็นเหยื่อ และถูกนำข้อมูล Log ภายในอุปกรณ์ออกไปเผยแพร่บน Underground Clouds of Logs (UCL) รวมถึงยังมีอุปกรณ์อีก 1,530,978 ชุดที่ถูกนำข้อมูล Log ไปเผยแพร่ในตลาดใต้ดิน 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตกเป็นเป้าการโจมตี 

นักวิจัยจาก Group-IB พบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเคยเป็นสนามรบใหญ่ระดับโลกสำหรับ Advanced Persistent Threat (APT) ในปีที่แล้ว ในภาพรวมนั้น สำหรับปี 2023 ที่ผ่านมา Group-IB สามารถจำแนกการโจมตีทั่วโลกได้ถึง 523 ครั้งที่มีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ซึ่งการโจมตีที่มุ่งเป้าต่อองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีสัดส่วนมากถึง 34% เทียบกับทั่วโลก โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Group-IB ได้เสริมว่าเหตุนี้อาจเกิดขึ้นเพราะมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเป็นปริมาณมากในภูมิภาคนี้ที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก รวมถึงยังมีปัจจัยจากความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์การเมืองมาเกี่ยวข้องอีกด้วย 

ปี 2023 เป็นปีขาขึ้นของเหล่าภัยคุกคามที่ต่อเนื่องและซับซ้อนเป็นอย่างมาก โดยทีม Threat Intelligence ของ Group-IB ได้ตรวจพบ APT ที่ยังไม่เคยมีใครพบมาก่อนถึงสองรายการ ได้แก่ Dark Pink (ซึ่งมุ่งเป้าการโจมตีไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและยุโรป) และ Lotus Bane (ซึ่งมุ่งเป้าการโจมตีไปยังเวียดนาม) โดยในช่วงปลายปี นักวิจัยจาก Group-IB ก็ได้เปิดเผยถึงการค้นพบ iOS Trojan แรกที่ทำการรวบรวมข้อมูลชีวภาพภายใต้ชื่อ GoldPickaxe.iOS ที่มุ่งเป้าโจมตีไปยังผู้ใช้งานในประเทศไทยและเวียดนามเหมือน Trojan วงศ์เดียวกันบนระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งเชื่อว่า Trojan เหล่านี้คงไม่หยุดการโจมตีเพียงแค่สองประเทศนี้เท่านั้น ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการของ Apple ก็ได้ตกเป็นเป้าหมายของผู้โจมตีมากขึ้น ซึ่งมีหลักฐานคือการค้นพบ iOS Trojan จำนวนมากขึ้น และมีผู้ขโมยข้อมูลที่มุ่งพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการโจมตี macOS มาแลกเปลี่ยนกันในตลาดใต้ดิน  

พงศาวดาร Ransomware: พายุยังคงโหมกระหน่ำอย่างต่อเนื่องในปี 2023

การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของการโจมตีด้วย Ransomware ก็ยังคงเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนของบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีระบบสำคัญและการเผยแพร่ข้อมูลความลับของธุรกิจเพิ่มขึ้น ในปีที่แล้ว Group-IB ตรวจพบว่ามีบริษัท 463 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ถูกเผยแพร่ข้อมูลบน Data Leak Site (DLS) ของ Ransomware ซึ่งสามารถตีความได้ว่ามีการโจมตีลักษณะนี้จนสำเร็จเพิ่มขึ้นประมาณ 39% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งมีข้อมูลของบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อ 334 แห่งถูกเผยแพร่บน DLS

ในปี 2023 อุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตได้ตกเป็นเป้าหมายบ่อยครั้งที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยนับเป็นสัดส่วน 16% ของบริษัทซึ่งตกเป็นเหยื่อและถูกเผยแพร่ข้อมูลบน DLS ในขณะที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นเหยื่อมากเป็นอันดับที่สอง โดยนับเป็นสัดส่วน 9% ของการโจมตีทั้งหมดที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ส่วนทางด้านอุตสาหกรรมการเงินนั้นตามมาเป็นอันดับที่สามจากการตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี 8%

เมื่อพิจารณาในแง่มุมของผู้โจมตีด้วย Ransomware ที่มีการปฏิบัติการมากที่สุดในภูมิภาค LockBit ถูกนับเป็นอันดับหนึ่งด้วยการมีเหยื่อมากถึง 34% จากเหยื่อทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ถูกเผยแพร่ข้อมูลบน DLS ตามมาด้วย BlackCat (ALPHV) ที่เป็นอันดับสองด้วยสัดส่วน 12% ของการโจมตี และ Cl0p ที่เป็นอันดับสามด้วยสัดส่วน 6% จากเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในปี 2023 ออสเตรเลีย (ซึ่งเป็นอับดับหนึ่งในการตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีที่บ่อยที่สุด) ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ramsomware และถูกเผยแพร่ข้อมูลบน DLS เพิ่มขึ้นถึง 80% โดยมีเหยื่อเพิ่มจาก 56 รายในปี 2022 เป็น 101 รายในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับอินเดียที่ตกเป็นเหยื่อเพิ่มขึ้นถึง 110% โดยมีเหยื่อเพิ่มจาก 40 รายเป็น 84 ราย ภูมิทัศน์ของภัยคุกคามจาก Ransomware ในประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ด้วยอัตราการเติบโต 28% จากเหยื่อที่ถูกเผยแพร่ข้อมูลบน DLS 29 รายเป็น 37 ราย ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ จำนวนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware ที่แท้จริงนั้นน่าจะมีปริมาณที่สูงกว่านี้เป็นอย่างมาก จากการที่มีเหยื่อหลายรายเลือกที่จะจ่ายค่าไถ่ และกลุ่มผู้โจมตีด้วย Ransomware บางกลุ่มก็ไม่ได้มีการใช้งาน DLS แต่อย่างใด 

ตลาดเริ่มชะลอตัว: การดำเนินการของ Broker เชื่องช้าลง

ผู้ให้บริการ Ransomware ซึ่งเป็นผู้ขายช่องทางการเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กรบน Dark Web ที่เป็นที่รู้จักในนามของ Initial Access Broker (IAB) มีการปรับตัวตามความต้องการของผู้โจมตีรายอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ก็เริ่มมีการชะลอการดำเนินงานลงเล็กน้อย โดยในปี 2023 ช่องทางการเข้าถึงระบบเครือข่ายของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นถูกวางจำหน่ายด้วยกัน 439 ครั้ง ลดลง 3% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่มีการวางขายอยู่ 453 ครั้ง การชะลอตัวนี้อาจเป็นเพราะ Broker ที่ดำเนินการโจมตีด้วย RaaS เองมีจำนวนมากขึ้น

อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขายช่องทางการเข้าถึงระบบเครือข่ายของภูมิภาคนี้ในปี 2023 คือกลุ่มพื้นที่อาคารปฏิบัติการทางทหารและองค์กรภาครัฐ (โดยมีสัดส่วนถึง 11% จากการจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายในภูมิภาคนี้) ในขณะที่อุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตตามมาเป็นอันดับสอง (9% จากการจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายในภูมิภาคนี้) ส่วนอุตสาหกรรมการเงินนั้นตามมาเป็นอันดับสาม (7% จากการจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายในภูมิภาคนี้)

หากพิจารณาถึงประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อินเดียนั้นตกเป็นอันดับหนึ่งจากการถูกวางจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายถึง 81 รายการ นับเป็น 19% ของช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายในภูมิภาคนี้ที่ถูกตรวจพบโดยนักวิเคราะห์จาก Group-IB ส่วนตัวเลขช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรในประเทศจีนนั้นเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 66% ในขณะที่สิงคโปร์ก็มีอัตราที่สูงขึ้นถึง 67% จากการถูกวางจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่าย 12 รายการที่เพิ่มขึ้นเป็น 20 รายการจากการตรวจสอบของ Group-IB โดยผู้วางจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายที่มีการปฏิบัติการมากที่สุดในภูมิภาคนั้นคือ sganarelle โดยตลอดทั้งปี 2023 ที่ผ่านมา sganarelle ได้วางจำหน่ายช่องทางการเข้าถึงเครือข่ายมากถึง 140 รายการ โดยมี 24% ที่มุ่งเป้าไปยังเหยื่อในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

แรคคูนและผองเพื่อนทำการขโมยข้อมูล

ข้อมูล Log จากผู้ขโมยข้อมูลนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในช่องทางหลักสำหรับเหล่าอาชญากรไซเบอร์ที่จะใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายขององค์กร เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายและได้ผล โดยผู้ขโมยข้อมูลนี้จะใช้ Malware กลุ่มที่ทำการารวบรวมข้อมูลยืนยันตัวตนซึ่งถูกบันทึกอยู่ในเบราว์เซอร์, ข้อมูลบัตรเครดิตจากธนาคาร, ข้อมูลกระเป๋าเงินคริปโต, คุกกี้, ประวัติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ และข้อมูลอื่นๆ จากเบราว์เซอร์ที่ถูกติดตั้งบนเครื่องของเหยื่อที่มี Malware นั้นๆ อยู่

Underground Clouds of Logs (UCL) ที่ใช้งานได้ฟรีนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ติด Malware โดยในปีที่ผ่านมา มีจำนวนอุปกรณ์ที่ตกเป็นเหยื่อโดยไม่ซ้ำกันเพิ่มขึ้น 23% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ถูกเผยแพร่ข้อมูล Log บน UCL จนมีจำนวนเกือบ 400,000 ราย ซึ่งอินเดียและเวียดนามนั้นก็ยังคงตกเป็นเหยื่อที่ถูกโจมตีมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ตลาดใต้ดินเองก็มีการเติบโตเช่นกัน โดยแม้ว่าจะมีความแตกต่างจาก UCL ซึ่งข้อมูล Log จำนวนมากนั้นถูกเผยแพร่ให้เข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลาดใต้ดินนั้นจะมุ่งเน้นการขายข้อมูล Log จากอุปกรณ์ที่ตกเป็นเหยื่อโดยเหล่าผู้ขโมยข้อมูลเท่านั้น ซึ่งในปี 2023 ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับปี 2022 และจำนวนของอุปกรณ์ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ถูกวางขายนั้นก็มีจำนวนมากถึง 1,530,978 รายการ อินเดียยังคงตกเป็นเป้าหมายหลักอยู่ จากข้อมูล Log ที่ถูกตรวจพบในตลาดใต้ดินในปี 2023 มากถึง 461,893 รายการ โดย RedLine Stealer, Raccoon, META และ LummaC2 คือผู้ขโมยข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์ที่มุ่งเป้าโจมตีมายังภูมิภาคนี้

การขโมยข้อมูลบัตรกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

หลังจากที่มีการชะลอตัวลงไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดของการขายข้อมูลบัตรอย่างผิดกฎหมายก็กลับมาอีกครั้ง โดยมีการพบแนวโน้มของการใช้ JavaScript sniffers (JS-sniffers) ที่เติบโตมากขึ้น และการเติบโตของเหล่านักขโมยข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งปี 2023 ที่ผ่านมา ทางนักวิจัยจาก Group-IB ได้ตรวจพบการเติบโตของจำนวนบัตรที่ถูกขโมยข้อมูลซึ่งออกโดยธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้นถึง 64%

ออสเตรเลียนั้นถูกขโมยข้อมูลบัตรเครดิตมากขึ้นถึง 27% เพิ่มจาก 177,625 ใบในปี 2022 เป็น 225,910 ใบในปี 2023 ส่วนอินเดียและจีนนั้นมีการตรวจพบว่ามีบัตรที่ถูกขโมยข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 83% และ 183% ตามลำดับ ทำให้มีจำนวนบัตรที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 100,884 ใบและ 89,798 ใบตามลำดับในปี 2023 ทางด้านญี่ปุ่นและสิงคโปร์เองก็มีการโจมตีลักษณะนี้เพิ่มขึ้นไม่น้อยเช่นกัน โดยมีบัตรที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 85,920 ใบและ 64,545 ใบ นับเป็นการเติบโต 116% และ 170% ตามลำดับ 

กรณีข้อมูลรั่วไหลเพิ่มขึ้นอย่างถาโถม

ในปี 2023 มีการตรวจพบข้อมูลรั่วไหลสู่สาธารณะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 338 รายการ แต่มีเพียงฐานข้อมูลแค่ 5% เท่านั้นมีมีข้อมูลรหัสผ่านอยู่ด้วย โดยในกรณีข้อมูลรั่วไหลเหล่านี้ มีข้อความมากกว่า 412 ล้านรายการที่มีข้อมูลของผู้ใช้งานอยู่ถูกเข้าถึง ซึ่งอินเดีย, อินโดนีเซีย และประเทศไทยนั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีลักษณะนี้มากที่สุด โดยมีข้อมูลที่รั่วไหล 121 รายการ, 58 รายการ และ 30 รายการตามลำดับ

รายงาน Hi-Tech Crime Trends 23/24 โดย Group-IB ได้ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้โจมตีที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเกิดขึ้นของ TTP ใหม่ และแนวโน้มอื่น ๆ ที่ครอบคลุมถึงทุกประเด็นซึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่นิยามวิวัฒนาการของภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ คุณสามารถดาวน์โหลดรายงานดังกล่าวได้ที่ https://www.group-ib.com/resources/research-hub/hi-tech-crime-trends-2023-apac

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,288,Audio Visual,193,automotive,307,beauty,3,Business,237,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,150,EV,113,FinTech,126,Food,105,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,782,Lifestyle,268,Marketing,166,Mobile Device,1189,Motorbike,34,PR News,333,PropTech,53,Real Estate,298,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Group-IB เปิดตัวรายงาน Hi-Tech Crime Trends 23/24: ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware มากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Group-IB เปิดตัวรายงาน Hi-Tech Crime Trends 23/24: ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Ransomware มากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg-njgh6AQdBqFsF5UE1HMFA0Scn29ZjAeg2OhCH2lWazIqwRMvv9SBZg3ULB2UCrWxLJwn09AOBBbqb1jn7sUjOPJlAG5HAcquV55K1GHfTstvBLAfo5XAU2yyRw-c9gRaqa6ORdb6GnZquS0EhFhWSEAfmIH_b2_XPlBkrFs0cAPemKHLFSPr1_3UJIY/s16000/Screenshot%202567-02-28%20at%2020.23.41.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg-njgh6AQdBqFsF5UE1HMFA0Scn29ZjAeg2OhCH2lWazIqwRMvv9SBZg3ULB2UCrWxLJwn09AOBBbqb1jn7sUjOPJlAG5HAcquV55K1GHfTstvBLAfo5XAU2yyRw-c9gRaqa6ORdb6GnZquS0EhFhWSEAfmIH_b2_XPlBkrFs0cAPemKHLFSPr1_3UJIY/s72-c/Screenshot%202567-02-28%20at%2020.23.41.png
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2024/02/group-ib-hitech-crime-trends-2023-2024.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2024/02/group-ib-hitech-crime-trends-2023-2024.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy