--> “Work ไร้ Balance” แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ระวังเป็น "ภาวะสมองล้า" ไม่รู้ตัว แนะหยุดโหมงาน-ปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนเสี่ยงโรคอีกเพียบ | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

“Work ไร้ Balance” แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ระวังเป็น "ภาวะสมองล้า" ไม่รู้ตัว แนะหยุดโหมงาน-ปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนเสี่ยงโรคอีกเพียบ

คนไทยทำงานหนักไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะทุกวันนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่คนทำงานวันละเกือบสิบชั่วโมง หลายคนก็ติดนิสัยพกงานไปทำวันหยุดจนแยกชีวิตทำงานกับการพักผ่อนไม่ออก แถมผลสำรวจ Cities with the  Overworked ปี 2564 ของ KSI ยังจัดให้ “กรุงเทพฯ” ติดอันดับที่ 3 ของเมืองที่คนทำงานหนักที่สุดในโลกอีกด้วย นับเป็นสถิติที่น่ากังวลมาก เพราะคนที่ทำงานหนักนานวันเข้าจะเริ่มคิดงานได้ไม่ทันใจหรือไม่มีสมาธิเหมือนเดิม เป็นสัญญาณที่นำไปสู่ "ภาวะสมองล้า" อาการที่สมองทำงานหนักเกินไปจนกระทบการใช้ชีวิต และหากไม่รักษาอาจนำไปสู่โรคอันตรายมากมาย วันนี้ นพ.กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.วิมุต จะมาอธิบายลักษณะของภาวะสมองล้า พร้อมบอกวิธีดูแลรักษา พร้อมแนวทางปรับไลฟ์สไตล์ จะได้ดูแลสมองและโฟกัสกับงานตรงหน้าได้เต็มที่ไปนาน ๆ

"ภาวะสมองล้า" คืออะไร

ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) ไม่ใช่โรค แต่คือภาวะที่สมองทำงานหนักเกินไปจนทำให้สารสื่อประสาทไม่สมดุล ทำให้เซลล์ประสาทเชื่อมต่อกันได้ช้ากว่าปกติ ในบางวิจัยบอกว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้สมองประมวลช้า เปรียบได้เหมือนการมีหมอกมาปกคลุมจนสมองทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ขาดสมาธิ ตัดสินใจได้ช้าลง ความจำระยะสั้นแย่ลง หรือปวดศีรษะ เป็นต้น 

อาการแบบไหน เสี่ยง! “ภาวะสมองล้า”

ภาวะสมองล้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ และสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ส่วนมากเกิดจากการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เครียดสะสม และขาดการออกกำลังกาย จุดสังเกตของผู้ที่มีภาวะสมองล้าคือการจดจ่อกับอะไรนาน ๆ ไม่ได้ หรือทำงานอะไรก็ผิดพลาดเล็กน้อยอยู่บ่อยครั้ง แม้จะเป็นงานที่ทำอยู่ทุกวัน ในบางคนอาจมีปัญหาในเรื่องความจำระยะสั้น ทำให้เกิดอาการหลงลืมชั่วคราว "แม้ว่าอาการของภาวะสมองล้าอาจไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่หากไม่รักษาและปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการหรือโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น อาการปวดศีรษะ การนอนไม่หลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดในสมองแตก เพราะฉะนั้นหากเริ่มมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวการรักษาที่ถูกต้อง" นพ.กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อธิบาย

“ภาวะสมองล้า” รักษาไม่ยากแค่ปรับพฤติกรรม 

การป้องกันและรักษาภาวะสมองล้าส่วนมากจะเป็นการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี 

“อย่างแรกคือการจัดการความเครียด โดยหากิจกรรมผ่อนคลายที่เราชอบ อาจเป็นการทำสมาธิ ดูหนัง เล่นเกม หรืออ่านหนังสือ สองคือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3-5 วัน ต่อสัปดาห์ เพื่อให้การไหลเวียนเลือดในสมองดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองล้า สามคือพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง และไม่เข้านอนดึกเกินไป เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายรวมถึงสมอง นอกจากนี้ควรเสริมด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง เช่น ปลา ธัญพืช ผักหลากสี อาหารที่มีแร่ธาตุ และลดการดื่มสุราและการสูบบุหรี่” 

นพ.กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง เล่าถึงการป้องกันและรักษา

"ภาวะสมองล้าอาจไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยไว้เราก็จะทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ทั้งยังอาจเสี่ยงต่อโรคอีกมากมาย ดังนั้นใครที่มีอาการเข้าข่ายภาวะสมองล้าก็ควรรีบหาวิธีรักษา ด้วยการปรับการใช้ชีวิต กินให้ดี นอนให้พอ หันมาจัดการความเหนื่อยล้าเพื่อไม่ให้เครียดสะสม เหนื่อยก็พัก ไม่ไหวก็พอ และบอกตัวเองเสมอว่าสุขภาพของเราสำคัญที่สุด" นพ.กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลวิมุต สามารถติดต่อได้ที่ ชั้น 6 ศูนย์สมองและระบบประสาท หรือโทรนัดหมาย 02-079-0068 เวลา 09.00-20.00 น. หรือใช้บริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่าน ViMUT App คลิก https://bit.ly/372qexX

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,284,Audio Visual,193,automotive,299,beauty,3,Business,237,CSR,27,Economic,8,Electronics,85,Entertainment,145,EV,110,FinTech,125,Food,103,Gallery,2,Health & Beauty,90,Home Appliance,130,InsurTech,12,Interview,4,IT & DeepTech,769,Lifestyle,267,Marketing,163,Mobile Device,1174,Motorbike,33,PR News,321,PropTech,53,Real Estate,292,Review,109,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: “Work ไร้ Balance” แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ระวังเป็น "ภาวะสมองล้า" ไม่รู้ตัว แนะหยุดโหมงาน-ปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนเสี่ยงโรคอีกเพียบ
“Work ไร้ Balance” แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ ระวังเป็น "ภาวะสมองล้า" ไม่รู้ตัว แนะหยุดโหมงาน-ปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนเสี่ยงโรคอีกเพียบ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhses8bd5NrTxSIn6ELkhQRECEsD7opu4yWMJEhw6eyd74bYlfMEKGslMYVGkyPHYxNjHtQ6AoXXW4qQANtG3cyaw-gqFn8S5-p6yj4sJ2laGzBAuPPrVY4ibLnhdqyWSzK1Mn94Jx97-Dvizv7CEpNjiR1CL_fs9pHSKzqYKpzDV6k9FwJ47Dq_UjowoI/s16000/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2_.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhses8bd5NrTxSIn6ELkhQRECEsD7opu4yWMJEhw6eyd74bYlfMEKGslMYVGkyPHYxNjHtQ6AoXXW4qQANtG3cyaw-gqFn8S5-p6yj4sJ2laGzBAuPPrVY4ibLnhdqyWSzK1Mn94Jx97-Dvizv7CEpNjiR1CL_fs9pHSKzqYKpzDV6k9FwJ47Dq_UjowoI/s72-c/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2_.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2024/04/vimut.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2024/04/vimut.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy