การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทยมีมาและเป็นไปในทางที่รุนแรงขึ้นมาตลอด การ มองในมุมอื่น ๆ แทบจะไม่มีเลย ลักษณะที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นแนวทางแรกคือ อัตราส่วนหนี้ครัวเรือน ต่อจีดีพีสูงขึ้นมาตลอด แต่ว่าไม่อาจบอกได้มันถึงจุดที่อันตรายจริงหรือไม่ การพิจารณาด้วยสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอาจดูได้จากประเทศอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ก็ต้องให้สังเกตุด้วยว่า สัดส่วนตัวนี้ในระดับต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างแรกดูได้จาก Figure 1 ของสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนสูงสุดที่ประมาณ 100 % ในช่วง วิกฤติการเงินสหรัฐอเมริกาและค่อย ๆ ลดลงมาสู่ภาวะเสถียรภาพที่ 75-80 % โดยมีสินเชื่อผ่อนบ้าน เป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดราว 70% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดดังแสดงใน Figure 2 มาเลเซียมีสัดส่วนหนี้ ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ 84.7% ณ สิ้นปี 2023 (Arfa 2024) โดยเป็นสินเชื่อผ่อนบ้านราว 60% และสินเชื่อ ผ่อนรถยนต์ราว 13% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด สินเชื่อผ่อนรถยนต์ของมาเลเซียเป็นการสนับสนุนกิจ การ ProtonSaga แห่งชาติ โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวถึง 9 ปี สิงคโปร์มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ จีดีพีที่ราว 53% ณ เดือนมีนาคม 2024 โดยมีสัดส่วนสินเชื่อผ่อนบ้านราว 75% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด แต่หนี้สินประเภทอื่น ๆ มีสัดส่วนน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากชาวสิงคโปร์เดินทางด้วยรถยนต์เพียงส่วนน้อย แต่สิงคโปร์ก็เคยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงถึง 96% ในช่วงปี 2003-2007 อันเป็นช่วงที่ชาวสิงค โปร์แห่กันซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่เศรษฐกิจดี เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สัดส่วนนี้ก็ลดลงตาม ลำดับ ออสเตรเลียมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงสุดที่ราว 120% ในช่วงปี 2017-2020 ด้วยสาเหตุ ของ housing boom ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสัดส่วนสืนเชื่อที่อยู่อาศัยสูงถึงราว 60% ของ สินเชื่อรวมและเพียงแค่สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวก็คิดเป็นสัดส่วนถึงราว 100% ของจีดีพีแล้ว ดังแสดงใน Graph 1 แต่สินเชื่ออื่น ๆ มีสัดส่วนน้อยมาก
ดังนั้น สิ่งที่บรรยายข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า ประเทศที่มีการขยายตัวของจีดีพีสูง สัดส่วนหนี้ครัว เรือนต่อจีดีพีจะไม่สูงมาก ถัดจากนั้นต้องดูว่าประเทศนั้น ๆ มีสินเชื่อประเภทอื่น ๆ ที่ให้แก่ครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เช่น มาเลเซีย เป็นต้น
ในส่วนของไทยนั้น Thansin (2024) ได้รวบรวมไว้ละเอียดค่อนข้างทุกแง่ทุกมุม สัดส่วนหนี้ ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขุดสูงสุดที่ราว 97% ในปี 2020 หลังจากนั้นก็เริ่มลดลง มาเหลือราว 91 %
Figure 10 แสดงสัดส่วนขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมเป็นหนี้ครัวเรือนทั้งหมด หนี้ครัวเรือนที่ เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีราว 36 % ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเดียวที่ตัวเลขในรูปตรงกับ ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนข้อมูลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของธนาคาร แห่งประเทศไทยอยู่ที่ 11.5% ซึ่งต่ำกว่าในรูปและข้อมูลสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารแห่ง ประเทศไทยอยู่ที่ราว 29% ซึ่งสูงกว่าข้อมูลในรูปเป็นอย่างมาก
สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คิดเป็น 36% ของหนี้ครัวเรือนโดยรวม ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตาม ตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.5 % ก็ยังไม่ถือว่าสูง แต่ว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ Thansin (2024) เป็นตัวเลขที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ มากและ อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจุดสนใจจึงน่าจะอยู่ที่สินเชื่ออุปโภคบริโภค
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพียงอย่างเดียวคงใช้เป็นตัวบอกอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจไม่ได้ แต่จะต้องดูลึกลงไปถึงองค์ประกอบของหนี้ครัวเรือนว่ามีสินเชื่อประเภทใดที่คุกคามต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและดูลงไปว่า สินเชื่อแต่ละประเภทมี NPL หรือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้ที่ค้าง ชำระเกิน 90 วันหรือเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด
Figure 4 แสดงสัดส่วนหนี้ NPL ของสินเชื่อครัวเรือนแต่ละประเภทในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน นี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบุคคล และ สินเชื่อการศึกษามีระดับต่ำเพียง 1-2 % สินเชื่อที่อยู่อาศัยเคย สูงมากถึงราว 9 % ในช่วงวิกฤติซับไพรม์ในช่วงปี 2010 ที่มาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยแล้วค่อย ๆ เข้าสู่ เสถียรภาพในราวปี 2016 ในช่วง 5 ปี หลัง หรือ ช่วงปี 2019-24 อยู่ในราว 4-5 % สินเชื่อบัตรเครดิตมี NPL ราว 10% และสินเชื่อรถยนต์ราว 4% ส่วนหนี้ครัวเรือนในสิงคโปร์สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยมี NPL ราว 0.2% และอื่นๆ ราว 0.6 % ซึ่งถือว่าเกือบจะต่ำสุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากชาวสิงคโปร์มีรายได้ สูงมากแล้วเพียงพอแก่การใช้จ่ายตามที่ต้องการ (Wong, 2023) ส่วนหนี้สินค้างชำระเกิน 90 วันใน ออสเตรเลียนั้น เห็นได้จาก Graph 2.2 โดยที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ สูงขึ้นมา โดยตลอดในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้สูงเกิน 1 % ถ้าใครเคยสัมผัสกับสถาบันการเงินในออส เตรเลียจะทราบว่าเข้มงวดมาก นอกจากนี้ สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังมีการทดสอบความสามารถในการผ่อน ชำระก่อนอนุมัติเงินกู้โดยจะต้องบวกสื่อที่เรียกว่า Buffer ขึ้นไป จากอัตราดอกเบี้ยตลาดอีก 2 หน่วย เปอร์เซนต์ สำหรับสถานะของหนี้ NPL ในมาเลเซียดูได้จาก Graph 7 แม้ว่าข้อมูลอาจจะเก่าสักหน่อย แต่ก็พอจะบอกสถานะได้คร่าว ๆ ว่า หนี้บัตรเครดิตและหนี้ผ่อนรถยนต์ในมาเลเซียมี NPL ราว 2 % ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคลมี NPL ในราว 6 %
Thansin (2024) ได้เปรียบเทียบ % NPL ของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้แก่ครัวเรือนดังแสดง ใน Figure 5 ก่อนที่จะเปรียบเทียบข้อมูลของไทยกับประเทศอื่น ๆ คงต้องระลึกไว้ถึงสภาพตลาดสินค้า ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายกัน สินค้าทางการเงินในไทยค่อนข้างจะเป็นไปโดยเสรีใกล้เคียงกับสหรัฐ อเมริกามากกว่าประเทศอื่น ๆ ที่เน้นการทำตลาดสินค้าทางการเงินกระจุกตัวไปที่ชนิดใดชนิดหนึ่ง อย่าง ออสเตรเลีย หรือ สิงคโปร์
เมื่อเปรียบเทียบ % NPL ของหนี้ครัวเรือนไทยกับสหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ว่า % NPL ของสินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์ต่างก็อยู่ในระดับสูงกว่าของไทย ซึ่งอยู่ที่ราว 3.5% และ 2% ตามลำดับ แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคุณภาพสินเชื่อรถยนต์ในไทยว่าเป็นสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพกว่าสินเชื่อประเภทอื่น ๆ โดยจะมีสัดส่วนสินเชื่อที่จัดขั้นอยู่ในระดับ 2 ราว 15% อยู่ในปัจจุบันโดยไต่ ระดับมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโควิดจาก 9% แต่ก็คงต้องไม่ลืมว่าระดับ % NPL
ของสินเชื่อรถยนต์ยังคงอยู่ในระดับราว 2% มาตลอด ซึ่งแสดงว่าผู้ประกอบการธุรกิจนี้ที่ส่วนใหญ่ เป็นบริษัทจดทะเบียนน่าจะตระหนักและจัดการเรื่องคุณภาพสินเชื่อพอสมควร แต่ทั้งสินเชื่อบัตร เครดิตและสินเชื่อรถยนต์ในไทยมีแนวโน้มที่ควรแก่การติดตามว่าจะมีทิศทางที่สูงขึ้นเป็นการถาวรหรือไม่
ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไทยเป็นสินเชื่อประเภทที่ % NPL สูงกว่าหนี้ครัวเรือนประเภทอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นชัดเจน และยังคงอยู่ภายในช่วง 3-4 % แม้ว่าระดับ % NPL จะสูงกว่า ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ สิงคโปร์ ก็คงต้องยอมรับปัจจัยเรื่องรายได้ที่สูงในประเทศเหล่านี้ ทำให้คุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยในประเทศเหล่านั้นดีกว่าไทย
ประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องพิจารณาอีกอย่างคือ การใช้จ่ายของครัวเรือน Figure 13 ใน Thansin (2024) แสดงว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งมีสัดส่วนถึงราว 80% ของครัวเรือนทั้งหมดมีการใช้จ่ายเกินกว่ารายได้โดยเฉลี่ยราว 20% ซึ่งหมายถึงว่า รายจ่ายส่วนที่เกิน กว่ารายได้จะต้องมาจากสินเชื่อ แต่ปรากฏการณ์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก (ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) ก็ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้หรือขาดดุลด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่เป็นเรื่องที่จะต้องให้ ความสนใจสม่ำเสมอ
สิ่งที่วิเคราะห์มาข้างต้นเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของหนี้ครัวเรือนแสดงให้เห็นว่า สัดส่วนหนี้ครัว เรือนต่อจีดีพีที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และ/หรือ อยู่ในระดับสูงไม่ได้เป็นสิ่งที่นำไปสู่ภาวะที่เป็นอันตรายต่อ ระบบสถาบันการเงินเสมอไป องค์ประกอบของหนี้ครัวเรือนที่สำคัญในบรรดาสินเชื่อทุกประเภทคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ส่วนสินเชื่อประเภทอื่น ๆ จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในหนี้ครัวเรือนโดยรวมหรือไม่ เพียงใด ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน เช่น ชาวสิงคโปร์มีความจำเป็นต้อง ใช้รถยนต์น้อย สินเชื่อรถยนต์จึงมีสัดส่วนน้อยตามไปด้วย สินเชื่อบัตรเครดิตอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น น้อยสำหรับประเทศที่มีรายได้สูงเช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และออสเตรเลีย สำรหับไทยแล้ว กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อครัวเรือน/เดือนที่มีสัดส่วนสูง อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้สินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรวมกันเกินกว่า 20 % อย่างไรก็ตาม ภาพรวม % NPL ของสินเชื่อประเภท ต่าง ๆ รวมกันอยู่ในระดับเฉลี่ยไม่เกิน 3% แม้จะไม่ได้จัดว่าต่ำ แต่ก็ยังไม่เป็นอันตรายโดยรวม แม้ว่าสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะมี % NPL เกินกว่าระดับเฉลี่ยแต่ก็ไม่มาก
การควบคุม % NPL ให้ต่ำเป็นภาระหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรงและเป็นการ ทดสอบความตั้งใจจริงด้วย ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่า หนี้ครัวเรือนสำคัญและเป็นปัญหา ถ้ามองในแง่ สุดขั้ว ถามว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะกล้าและจริงใจหรือไม่ที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดแบบออส เตรเลียหรือไม่ ที่มีการเพิ่ม buffer บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยตลาดเพื่อทดสอบความสามารถในการ ชำระหนี้ของผู้บริโภคหรือไม่ เมื่อนั้น % NPL ของหนี้ครัวเรือนต่ำกว่า 1% แน่
อย่างไรก็ตาม ในทางเศรษฐศาสตร์ การออกกฏระเบียบเพื่อควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ จะต้องทำโดยมี optimization กล่าวคือมีการชั่งผลได้ผลเสียให้มีดุลย์ในจุดที่พอดี อย่าลืมว่าการ ให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคเป็นการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่จีดีพี การควบคุมสินเชื่อที่เข้มงวด เกินไปจึงเป็นการลดจีดีพีที่เกินสมควร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการตั้ง buffer ถึง 2 หน่วยเปอร์ เซนต์และให้คงอยู่แม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาที่สุดของ Australian Prudential Regulation Authority พฤติกรรมเช่นนั้นจะเรียกว่าเสียสติก็ว่าได้
Bibliography
- Afrina Arfa, “Drowning in Debt: Malaysia’s Household Debt Crisis,” Taylor’s University, 06 June 2024.
- Thansin Klinthanom, “Thai Household Debt and Risks to the Economy,” Krungsri Research, 17 May 2024.
- “Household Debt Rose by $184 Billion in Q1 2024; Delinquency Transition Rates Increased Across All Debt Types,” Federal Reserve Bank of New York Center for Microeconomic Data, 2023: Q4 (Released February 2024).
- Lawrence Wong, Deputy Prime Minister and Minister for Finance, “Written Reply to Parliamentary Question on Household and Individual Debt Trends and Management”, Monetary Authority of Singapore, 22 November 2023.
- June 2024. EC_MB_040 “เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์,” ธนาคารแห่งประเทศไทย
- “Household Debt: What the Data Show,” Reserve Bank of Australia Bulletin, March 2003.
COMMENTS