--> Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 เหตุการณ์โจมตีเกือบ 200,000 ครั้ง มาจาก Server ในไทย | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 เหตุการณ์โจมตีเกือบ 200,000 ครั้ง มาจาก Server ในไทย


รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เปิดเผยตัวเลขที่น่าตกใจ เมื่อพบว่าเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 (เมษายน - มิถุนายน) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตี 196,078 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 203.48% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว ซึ่งพบเหตุการณ์ 64,609 ครั้ง




และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายไตรมาส ในไตรมาสที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน) ของปี 2024 ตรวจพบเหตุการณ์ทางไซเบอร์ 196,078 ครั้ง ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 1 (มกราคม - มีนาคม) ที่พบเหตุการณ์ 157,935 ครั้งมากถึง 24.15%


ผู้ก่อภัยคุกคามใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตีเพื่อโฮสต์เว็บไซต์ที่ใช้ส่งมัลแวร์ไปยังผู้ใช้ที่ไม่ทันระมัดระวัง และถูกล่อลวงไปยังเว็บไซต์อันตรายผ่านโฆษณาปลอม ลิงก์ฟิชชิงในอีเมล SMS และวิธีอื่นๆ หลังจากนั้นผู้ก่อภัยคุกคามจะสำรวจคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อเพื่อหาช่องโหว่และการรั่วไหล เมื่อผู้ใช้ประสบพบเจอกับภัยคุกคามออนไลน์ดังกล่าว โซลูชันของ แคสเปอร์สกี้จะตรวจจับและบล็อกภัยคุกคามนั้น และยังค้นหาและบันทึกแหล่งที่มาของภัยคุกคามนั้นด้วย

ในปี 2566 ภัยคุกคามไซเบอร์ของไทยเพิ่มขึ้น 114.25% จากปีก่อน โดยกลุ่มที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีมากที่สุดคือหน่วยงานด้านการศึกษา (632 ครั้ง) รองลงมาคือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ (461 ครั้ง) ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และบริษัทเอกชน (148 ครั้ง) และการเงินการธนาคาร (148 ครั้ง) ภัยคุกคามที่พบบ่อยที่สุดในปี 2566 คือ การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ รองลงมาคือการแฮ็กเพื่อเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ (defacement) และการสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อดักขโมยข้อมูล

จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกเพิ่มมากขึ้นเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่

· ความนิยมในการทำงานจากระยะไกลที่เพิ่มมากขึ้น: การทำงานจากบ้านและการใช้ดีไวซ์ส่วนตัวเพื่อทำงาน ทำให้จำนวนอุปกรณ์และเครือข่ายที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ที่ใช้เข้าถึงข้อมูลขององค์กร อุปกรณ์ที่ถูกละเมิดนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ก่อภัยคุกคามเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ในอินทราเน็ตขององค์กรได้

· มาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ขาดประสิทธิภาพ: บางองค์กรอาจมีมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่อ่อนแอ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย ขาดไฟร์วอลล์ หรือมีระบบตรวจจับการบุกรุกไม่เพียงพอ

· ขาดการตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์: องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากไม่ค่อยตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยไซเบอร์ และไม่ได้ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อปกป้องระบบของตน

· การเพิ่มขึ้นของแรนซัมแวร์: แรนซัมแวร์จะเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อและเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับการถอดรหัสไฟล์ ผู้โจมตียังใช้กลวิธีรีดไถเพื่อกดดันให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่ ซึ่งเป็นวิธีการปกติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และทำให้ธุรกิจเสียหายอย่างมาก

· กลโกงฟิชชิง: การหลอกลวงด้วยฟิชชิงเป็นวิธีการทั่วไปในการหลอกล่อเหยื่อเอาข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เพื่อเข้าถึงเครือข่ายของเหยื่อ

· ขาดกฎระเบียบที่ครอบคลุม: กฎระเบียบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมและกลไกการบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ กฎระเบียบนี้ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องรับผิดชอบต่อแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส การเพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นเรื่องน่าตกใจและอาจส่งผลร้ายแรงต่อธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยแนวทางที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึงความคิดริเริ่มของภาครัฐบาล ความร่วมมือในแวดวงความปลอดภัยไซเบอร์ และความรับผิดชอบส่วนบุคคล”

“รัฐบาลของไทยได้ดำเนินการเชิงรุกอย่างชัดเจน โดยจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสืบสวนและดำเนินคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ รวมถึงแคสเปอร์สกี้ เราทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานของรัฐบาล และขยายโครงการริเริ่มต่างๆ ในวงกว้าง เช่น โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพ โครงการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาและนำนโยบายไปปฏิบัติ และแคมเปญสร้างความตระหนักรู้ของภาคสาธารณะ เราตั้งเป้าที่จะทำให้ไซเบอร์สเปซในประเทศไทยมีความปลอดภัยมากขึ้น” นายเซียง เทียง โยว กล่าวเสริม

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ธุรกิจทุกขนาดดำเนินการเพื่อปกป้องระบบจากการถูกบุกรุก ดังต่อไปนี้

· ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการใช้ไฟร์วอลล์ ระบบตรวจจับการบุกรุก และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เช่น Kaspersky Next เพื่อปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์

· สำรองข้อมูลเป็นประจำ ในกรณีเครือข่ายถูกละเมิด การสำรองข้อมูลจะทำให้สามารถกู้คืนไฟล์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่

· อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเครือข่ายได้

· สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ควรพิจารณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้น โดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือ SIEM (การจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย) เช่น Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform (KUMA) ซึ่งแสดงคอนโซลรวมสำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูล และโซลูชัน Kaspersky Next XDR ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง สามารถป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้

· ให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ผ่านเครื่องมืออย่างเช่น Kaspersky Automated Security Awareness Platform เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ และวิธีการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงเหล่านั้น

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,289,Audio Visual,193,automotive,309,beauty,3,Business,241,CSR,28,Economic,8,Electronics,86,Entertainment,152,EV,113,FinTech,129,Food,107,Gallery,2,Health & Beauty,91,Home Appliance,130,InsurTech,13,Interview,4,IT & DeepTech,791,Lifestyle,272,Marketing,172,Mobile Device,1202,Motorbike,34,PR News,345,PropTech,53,Real Estate,302,Review,110,Sports,3,Telecom,211,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 เหตุการณ์โจมตีเกือบ 200,000 ครั้ง มาจาก Server ในไทย
Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 เหตุการณ์โจมตีเกือบ 200,000 ครั้ง มาจาก Server ในไทย
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjRB7UiQjaIQ5z0xOQffNfycNzoNBn7yB6pTlC1Ep3cVP8gkDU7zIQk5JqDuO4ildnGsoD1Dud_z29Knst1LctMwdD-sfQ9b3DMREUiBZH3ds-D62gtIs4xGOwpxZeN6_S9Q5E7Ig4P4kJDd6MMfFjfZqye5pmVCnyh6YNLpMAaWN65KLzo-LXXKvcX8Qk/s16000/analyst.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjRB7UiQjaIQ5z0xOQffNfycNzoNBn7yB6pTlC1Ep3cVP8gkDU7zIQk5JqDuO4ildnGsoD1Dud_z29Knst1LctMwdD-sfQ9b3DMREUiBZH3ds-D62gtIs4xGOwpxZeN6_S9Q5E7Ig4P4kJDd6MMfFjfZqye5pmVCnyh6YNLpMAaWN65KLzo-LXXKvcX8Qk/s72-c/analyst.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2024/09/Kaspersky-Q2-Thailand-Server-Attacker.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2024/09/Kaspersky-Q2-Thailand-Server-Attacker.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy