--> Kaspersky เผยธุรกิจในอาเซียนเจอภัยคุกคาม on-device มากกว่า 24 ล้านรายการ - ไทยโดน 2.6 ล้าน | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Kaspersky เผยธุรกิจในอาเซียนเจอภัยคุกคาม on-device มากกว่า 24 ล้านรายการ - ไทยโดน 2.6 ล้าน


ภัยคุกคามบนอุปกรณ์ หรือภัยคุกคามเฉพาะที่ (on-device, local threat) เกิดจากมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ยูเอสบีแบบถอดได้ ซีดีและดีวีดี หรือจากไฟล์ที่เข้าสู่คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ยังไม่เปิดในตอนแรก (เช่น โปรแกรมในอินสตอลเลอร์ที่ซับซ้อน ไฟล์ที่เข้ารหัส) บริษัทและธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามบนอุปกรณ์ 24,289,901 รายการในช่วงหกเดือนแรกของปี 2024 ซึ่งโซลูชันทางธุรกิจของแคสเปอร์สกี้สามารถตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามประเภทนี้ได้



 

โดยรวมแล้ว องค์กรธุรกิจในเวียดนามและอินโดนีเซียพบภัยคุกคามบนอุปกรณ์มากที่สุด ตรวจจับได้ 10,531,086 และ 7,954,823 รายการตามลำดับ ตามมาด้วยไทย 2,650,007 รายการ มาเลเซีย 1,965,270 รายการ ฟิลิปปินส์ 687,567 รายการ สิงคโปร์มีจำนวนภัยคุกคามบนอุปกรณ์น้อยที่สุด คือ 501,148 รายการ

 

สถิตินี้มาจากโซลูชันความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ที่สแกนฮาร์ดไดรฟ์เพื่อตรวจสอบไฟล์ที่ถูกสร้างหรือเข้าถึงดังกล่าว รวมถึงผลลัพธ์ของการสแกนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถอดได้

 

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ “ระบบการเงิน อีคอมเมิร์ซ และอุตสาหกรรมอื่นๆ มีการเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และขณะเดียวกันก็เป็นการขยายพื้นที่โจมตีของอาชญากรทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การขาดการตระหนักรู้ถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และระดับการป้องกันความปลอดภัยที่แตกต่างกัน ยังส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามและการโจมตีจำนวนมากอีกด้วย”

 

“การป้องกันการโจมตีอุปกรณ์แบบถอดได้หรือไฟล์ในรูปแบบไม่เปิด (non-open form) ต้องใช้โซลูชันความปลอดภัยที่แข็งแกร่งที่สามารถจัดการเรื่องการติดมัลแวร์ และได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมด้วยไฟร์วอลล์ ฟังก์ชันแอนตี้รูทคิท (anti-rootkit) และการควบคุมอุปกรณ์แบบถอดได้ และทำการสแกนคอมพิวเตอร์เป็นประจำเพื่อค้นหาไวรัสและมัลแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย” นายโยวกล่าวเสริม

 

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำการป้องกันโดยรวม ดังนี้

 

1.     อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่เสมอเพื่อป้องกันจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร

 

2.     สำรองข้อมูลเป็นประจำและตรวจสอบว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็นหรือในกรณีฉุกเฉิน

 

3.     หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก

 

4.     ประเมินและตรวจสอบการเข้าถึงซัพพลายเชนและบริการที่จัดการในสภาพแวดล้อม โดยแคสเปอร์สกี้มีบริการประเมินการบุกรุก

 

5.     ตรวจสอบการเข้าถึงและกิจกรรมต่างๆ โดยค้นหากิจกรรมที่ผิดปกติในเครือข่าย และควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้ตามความจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตและการรั่วไหลของข้อมูล

 

6.     จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (security operation centre - SOC) โดยใช้เครื่องมือ SIEM (การจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย) อย่างเช่น Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform ซึ่งเป็นคอนโซลรวมสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูล และ Kaspersky Next XDR Expert ซึ่งเป็นโซลูชันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งสามารถป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้

 

7.     ให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน InfoSec ใช้ข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึก Threat Intelligence เพื่อจับตาดูภัยคุกคามไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่องค์กร และแสดงข้อมูลที่ครอบคลุมและอัปเดตเป็นปัจจุบันที่สุดเกี่ยวกับผู้ประสงค์ร้ายและ TTP

 

8.     ให้ความรู้แก่พนักงานและปรับปรุงความรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือต่างๆ อย่าง Kaspersky Automated Security Awareness Platform เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ และวิธีการป้องกันตนเองและองค์กร

 

9.     หากบริษัทไม่มีฟังก์ชันความปลอดภัยไอทีโดยเฉพาะ และมีเฉพาะผู้ดูแลระบบไอทีทั่วไปที่อาจขาดทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นในการตรวจจับและการตอบสนองระดับผู้เชี่ยวชาญ ให้พิจารณาใช้บริการที่มีผู้เชียวชาญจัดการให้ เช่น Kaspersky MDR ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัยได้ทันทีในระดับที่สูงขึ้น และช่วยให้องค์กรธุรกิจมุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญภายในองค์กรได้

 

10.   สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก แนะนำให้ใช้โซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการความปลอดภัยไซเบอร์แม้ว่าจะไม่มีผู้ดูแลระบบไอทีก็ตาม Kaspersky Small Office Security ช่วยรักษาความปลอดภัยได้โดยไม่ต้องลงมือทำใดๆ เนื่องจากมีระบบป้องกันแบบ 'ติดตั้งแล้วลืม' (install and forget) อีกทั้งยังช่วยองค์กรธุรกิจประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาธุรกิจ

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,2,Audio Video,298,Audio Visual,193,automotive,316,beauty,3,Business,246,CSR,30,Economic,8,Electronics,88,Entertainment,156,EV,119,FinTech,134,Food,110,Gallery,2,Health & Beauty,92,Home Appliance,135,InsurTech,14,Interview,4,IT & DeepTech,824,Lifestyle,273,Marketing,184,Mobile Device,1277,Motorbike,35,PR News,370,PropTech,54,Real Estate,311,Review,110,Sports,3,Telecom,213,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Kaspersky เผยธุรกิจในอาเซียนเจอภัยคุกคาม on-device มากกว่า 24 ล้านรายการ - ไทยโดน 2.6 ล้าน
Kaspersky เผยธุรกิจในอาเซียนเจอภัยคุกคาม on-device มากกว่า 24 ล้านรายการ - ไทยโดน 2.6 ล้าน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjYbMIRGePwkOqRuiMLdo6_q-8c9tHr1gMC0ZFdeIL8s4lXE-RjzxY_XlFpg4NlCZmp-G81fLxXd8tL0q9MLstrd2MgenM3VCp-4LFBPciVrYgQ7eYynM4LRULZH0HfALC-3LtTiPy2eK9ZigKNuuvWnqzmaWO3r-GEaOKAKKPpFmVIMwCwJRdARb5jO5U/s16000/USB.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjYbMIRGePwkOqRuiMLdo6_q-8c9tHr1gMC0ZFdeIL8s4lXE-RjzxY_XlFpg4NlCZmp-G81fLxXd8tL0q9MLstrd2MgenM3VCp-4LFBPciVrYgQ7eYynM4LRULZH0HfALC-3LtTiPy2eK9ZigKNuuvWnqzmaWO3r-GEaOKAKKPpFmVIMwCwJRdARb5jO5U/s72-c/USB.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2024/12/SEA-businesses-continue-battle-local-threats.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2024/12/SEA-businesses-continue-battle-local-threats.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy