--> Check Point เผยองค์กรของไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 70% | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

Check Point เผยองค์กรของไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 70%

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นจากการโจมตีในรูปแบบฟิชชิ่ง และการหลอกลวงทางธนาคารที่ทวีจำนวนมากกว่าเดิม

บริษัท เช็ค พอยท์® ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชันชั้นนำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก เผยภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตอย่างเห็นได้ชัด โดยองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์โดยเฉลี่ย 3,180 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อองค์กรในช่วงหกเดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 - มกราคม 2568  ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1,843 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อองค์กร สถิติที่น่าตกใจนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับการเดินหน้าสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ของประเทศ

มัลแวร์ธนาคารและฟิชชิ่งกำลังเพิ่มมากขึ้น

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เร่งด่วนที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ การหลอกลวงทางฟิชชิ่งและมัลแวร์ทางธนาคาร ซึ่งภัยคุกคามทั้งสองรูปแบบนี้มีอัตราการแพร่ระบาดสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ จากรายงานของเช็ค พอยท์ อินเทลลิเจ้นซ์ (Check Point Intelligence) พบว่าเหตุการณ์แรนซัมแวร์ในประเทศไทยคิดเป็น 6% ของการโจมตีทางไซเบอร์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 4% ขณะที่มัลแวร์ทางธนาคารคิดเป็น 9.5% เมื่อเทียบกับ 2.8% ทั่วโลก แนวโน้มที่น่ากังวลดังกล่าวสอดคล้องกับผลการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เผยให้เห็นว่า ลูกค้าของธนาคารไทยสูญเสียเงินมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท จากการฉ้อโกงทางการเงินออนไลน์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ผู้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ยังใช้ประโยชน์จากโมเดล AI เช่น DeepSeek มากขึ้น โดยมีการนำไปใช้เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินการอันทุจริต เช่น การปลอมแปลงตัวตน การโจรกรรมทางการเงิน และการหลบเลี่ยงการรักษาความปลอดภัยของธนาคาร การหลอกลวงในรูปแบบฟิชชิ่งโดยใช้เทคโนโลยี AI การใช้เสียงปลอมเพื่อหลอกลวง และการสร้างเนื้อหาลวงด้วย AI กำลังแพร่หลายอย่างมาก การโจมตีเหล่านี้มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การขโมยข้อมูลสามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ ตลอดจนสามารถหลบเลี่ยงการตรวจจับการฉ้อโกง และสามารถสร้างแคมเปญสแปมจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพจนน่าตกใจ

การผลักดันคลาวด์ เฟิร์ส (Cloud-First) ของรัฐบาลไทยและความจำเป็นในการรับมือภัยไซเบอร์

การตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยเดินหน้าอย่างแข็งขันในการส่งเสริมนโยบาย คลาวด์ เฟิร์ส เพื่อยกระดับแนวปราการป้องกันทางดิจิทัล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หน่วยงานภาครัฐของไทยทั้งหมดกำลัง เตรียมเปลี่ยนระบบของตนไปเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบภายในปีนี้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการเสริมสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมให้ภาครัฐมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้นและยกระดับขีดความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ในประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 25% และคาดว่าจะเติบโตถึง 17.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2572 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่องค์กรต่างๆ กำลังเดินหน้าเร่งนำระบบคลาวด์มาใช้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยเพื่อให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น โดยจะต้องมั่นใจให้ได้ด้วยว่ากลยุทธ์ดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดและมีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งานจริง 

นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ เปิดเผยว่า "นโยบายคลาวด์ เฟิร์ส  (Cloud First Policy) ของรัฐบาลถือเป็นก้าวสำคัญสู่ระบบดิจิทัลให้ทันสมัย แต่หน่วยงานต่างๆ จะต้องตระหนักว่าการนำระบบคลาวด์มาใช้ไม่ได้ปลอดภัยเต็มร้อย ดังนั้นจึงต้องอาศัยแนวทางเชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ และด้วยจำนวนภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามขั้นสูงและการตรวจสอบความปลอดภัยอัตโนมัติเพื่อให้ก้าวล้ำแซงหน้าการโจมตีที่มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ออกมาตลอดเวลา ทั้งนี้ อนาคตของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจต่างๆ จะสามารถบูรณาการมาตรการเหล่านี้เข้ากับกลยุทธ์ด้านคลาวด์ได้ดีเพียงใด สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่ามีการรักษาความปลอดภัยในทุกระดับชั้นของเส้นทางการก้าวสู่ยุคดิจิทัล"

เสริมแนวป้องกันให้แข็งแกร่งด้วยบริการจากเช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์

องค์กรธุรกิจอาจไม่สามารถจัดให้มีแนวทางรับมือเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยได้อย่างครอบคลุม สำหรับองค์กรธุรกิจไทย ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และค่าปรับอันเนื่องมาจากกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการก้าวเดินที่ผิดพลาดเพียงก้าวเดียว เมื่อภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ยกระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น องค์กรต่าง ๆ จะต้องเสริมสร้างแนวป้องกันของตนให้มีความปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม การลงทุนเชิงรุกในด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ การตระหนักรู้ของพนักงาน และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามขั้นสูง ถือเป็นสิ่งสำคัญในการก้าวแซงหน้าอาชญากรทางไซเบอร์อย่างชัดเจน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ได้รับการยกย่องว่ามีอัตราการป้องกันภัยคุกคามระดับสูงสุดของอุตสาหกรรมจากรายงาน Enterprise and Hybrid Mesh Firewall Security Report ประจำปี 2025 ของ Miercom เป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยแพลตฟอร์มอินฟินีตี้  (Infinity) ของเช็ค พอยท์มีอัตราการบล็อคมัลแวร์ Zero+1 day ที่โดดเด่นถึง 99.9% มีอัตราการป้องกันการฟิชชิ่ง 99.7% รวมทั้งมีประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยสูงสุดสำหรับกรณีการใช้งาน Security Services Edge และมีอัตราการบล็อคภัยคุกคามได้อย่างน่าประทับใจที่ 98% สำหรับช่องโหว่การบุกรุกเครือข่ายที่สำคัญและมีความร้ายแรงสูง 

นอกจากนี้ บริษัท เช็ค พอยท์ยังเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI จำนวน 6 รายการ ซึ่งได้เปิดตัวในงานซีพีเอ็กซ์ เวียนนา (CPX Vienna) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้ สำหรับนวัตกรรมใหม่ดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยภายใต้แนวทาง Zero Trust รวมทั้งยกระดับการป้องกันภัยคุกคาม ลดความซับซ้อน และทำให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยง่ายขึ้นกว่าเดิม 

ขีดความสามารถใหม่ของแพลตฟอร์ม Infinity ประกอบด้วย: 

Quantum Policy Insights: ปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยด้วยการแนะนำการปรับปรุงและการบังคับใช้ Zero Trust ซึ่งเป็นแนวคิดในการออกแบบระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีหลักการ "ไม่เชื่อใครทั้งสิ้น"

Quantum Policy Auditor: ตรวจสอบความสอดคล้องตามกฎระเบียบด้วยการวิเคราะห์กฎความปลอดภัยนับพันรายการภายในไม่กี่วินาที

Infinity Identity: รวมศูนย์การจัดการข้อมูลประจำตัวบนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้ผสานรวมเข้ากับ Microsoft Defender, Microsoft Intune และ Harmony Endpoint เพื่อให้เกิดการครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น

Infinity Playblocks: เสริมสร้างให้เกิดการตอบสนองด้านความปลอดภัยโดยอัตโนมัติด้วยคู่มือใช้งานเบื้องต้นมากกว่า 100 รายการ ซึ่งรวมถึงการป้องกันภัยคุกคาม การแก้ปัญหาอัตโนมัติ การรายงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

Infinity AIOps: ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อตรวจสอบเกตเวย์ คาดการณ์ความล้มเหลว และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐาน

Infinity AI Copilot: ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย GenAI ผ่านการแชท โดยเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกด้านความปลอดภัยตามบริบทแบบเรียลไทม์

"การนำแนวคิดที่เน้นความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI มาใช้ ทำให้องค์กรต่างๆ ของไทยสามารถปกป้องตนเองและยกระดับขีดความสามารถในการรับมือทางไซเบอร์โดยรวมของประเทศในโลกดิจิทัลได้เพิ่มมากขึ้น" นายชาญวิทย์กล่าว

นายชาญวิทย์ยังได้กล่าวถึงงาน ซีพีเอ็กซ์ เอแพค 2025 (CPX APAC 2025) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2568 ว่า  ซีพีเอ็กซ์ เอแพค 2025 (CPX APAC  2025) เป็นงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำระดับโลก ที่ออกแบบมาเพื่อให้เรียนรู้กลยุทธ์ล่าสุดในการจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจ และเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับอนาคตของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลเชิงลึกพิเศษจากผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลก ค้นพบความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมที่ล้ำหน้า และสัมผัสกับการจัดแสดงล่าสุด ตั้งแต่ AI และความปลอดภัยของคลาวด์ไปจนถึงการปกป้องระดับเอ็นด์พอยต์

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,3,Audio Video,300,Audio Visual,193,automotive,327,beauty,3,Business,247,CSR,30,Economic,8,Electronics,90,Entertainment,157,EV,124,FinTech,137,Food,112,Gallery,2,Health & Beauty,92,Home Appliance,140,InsurTech,15,Interview,4,IT & DeepTech,841,Lifestyle,277,Marketing,186,Mobile Device,1301,Motorbike,35,PR News,390,PropTech,54,Real Estate,321,Review,110,Sports,3,Telecom,215,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: Check Point เผยองค์กรของไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 70%
Check Point เผยองค์กรของไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 70%
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiZZ6GjITWzxH6PP7yOQlMMnIhms9t9wyOerV6Z-q38qNnc7TCxI5wCMqaYSxUF3mrHqQDEItmYsQidLcMct8xlHIsIqDO_xsdWdjtyKAhvnCUw4x0-lgpDHdyjEbqQ5IWXEJ1dmuWc0CSadE8kr8EY2CklZU-ui50mmo29TffZ0EGq7-t5wzC7g4ZsOaQ/s16000/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C_2_re.JPG
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiZZ6GjITWzxH6PP7yOQlMMnIhms9t9wyOerV6Z-q38qNnc7TCxI5wCMqaYSxUF3mrHqQDEItmYsQidLcMct8xlHIsIqDO_xsdWdjtyKAhvnCUw4x0-lgpDHdyjEbqQ5IWXEJ1dmuWc0CSadE8kr8EY2CklZU-ui50mmo29TffZ0EGq7-t5wzC7g4ZsOaQ/s72-c/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C_2_re.JPG
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2025/02/cpx2025.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2025/02/cpx2025.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy