--> กระแสรูปภาพสร้างโดย AI: แคสเปอร์สกี้ชี้เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน เสนอตระหนักรู้คู่ความปลอดภัย | NextTopBrand

Value Content$type=grid$count=9$meta=0$sn=0$rm=0$hide=post

กระแสรูปภาพสร้างโดย AI: แคสเปอร์สกี้ชี้เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน เสนอตระหนักรู้คู่ความปลอดภัย


นายวลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ ผู้จัดการกลุ่ม Kaspersky AI Technology Research Center กล่าวถึงกระแสไวรัลกรณีรูปภาพที่สร้างโดย AI ว่า การถ่ายโอนสไตล์ (Style transfer) หรือการใช้ฟิลเตอร์สไตล์กับรูปภาพนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีอายุหลายสิบปี แต่ด้วยโมเดลภาษาภาพแบบมัลติโหมด เช่น gpt-4o ของ OpenAI ทำให้เทคโนโลยีนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และนับตั้งแต่แอปการถ่ายโอนสไตล์ เช่น Prisma หรือ Vinci ได้รับความนิยมจากการเป็นแอปมือถือที่มีการประมวลผลบนคลาวด์โดยใช้นิวรัลเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากโปรแกรมตัวช่วยในการสนทนาอย่าง ChatGPT มีรูปแบบเป็นการสนทนา (แชท) จึงอาจมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลความลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดว่าจะได้รับจากการติดต่อสื่อสารแบบส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การใช้ตัวช่วยเหล่านี้เพื่อการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การสร้างภาพเหมือนที่มีสไตล์ ก็ไม่ต่างจากการใช้บริการออนไลน์อื่นๆ วิธีการประมวลผลข้อมูลและสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำได้ด้วยข้อมูลที่ผู้ใช้ให้มา มักจะระบุไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม


บริษัทต่าง ๆ ที่ก่อตั้งมายาวนานส่วนใหญ่จะรับประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่บริษัทรวบรวมและจัดเก็บไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการป้องกันนั้นจะแน่นหนา เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคหรือการกระทำที่เป็นอันตราย ข้อมูลอาจรั่วไหลและกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือนำไปขายในเว็บไซต์ใต้ดิน นอกจากนี้ บัญชีที่ใช้ในการเข้าถึงบริการอาจถูกละเมิดได้หากข้อมูลประจำตัวหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ถูกบุกรุก ผู้เชี่ยวชาญของ Kaspersky Digital Footprint Intelligence ระบุว่า มีโพสต์บนเว็บมืดและฟอรัมแฮกเกอร์จำนวนมากที่เสนอขายบัญชีผู้ใช้ที่ถูกขโมยเพื่อขายบริการ AI ซึ่งอาจมีประวัติการสนทนาส่วนตัวกับแชทบ็อตอยู่ด้วย

รูปถ่ายโดยเฉพาะภาพบุคคลเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากรูปถ่ายสามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้ใช้ที่อาชญากรไซเบอร์อาจนำไปใช้ได้ เช่น ใช้ปลอมตัวเป็นผู้ใช้บนโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำไปใช้ในการฉ้อโกงได้ จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว เอกสารต่างๆ ฯลฯ การใช้แชทบอทเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น การเงินหรือสุขภาพ อาจทำให้อาชญากรไซเบอร์มีอำนาจต่อรองในแผนการฉ้อโกง เช่น การหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ตที่มีเป้าหมายโจมตีชัดเจน หรือ spearphishing

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำวิธีการสำหรับผู้ใช้งานแชทบอทเพื่อปกป้องตนเองดังนี้
  • ผู้ใช้ควรผสมผสานแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยระดับมาตรฐานกับสามัญสำนึกเล็กน้อย
  • บัญชีบริการ AI ควรได้รับการปกป้องด้วยรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและไม่ซ้ำใคร
  • ควรใช้การตรวจสอบสิทธิ์สองขั้นตอน
  • ใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ครอบคลุม รวมถึงโปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เพื่อปกป้องอุปกรณ์และบัญชีของผู้ใช้
  • เลือกใช้บริการแชทบอทที่ได้รับการยอมรับมากกว่าข้อเสนอพร็อกซีต่างๆ เพื่อลดจำนวนฝ่ายที่ประมวลผลข้อมูลของคุณ
  • ปฏิบัติต่อแชทบอทเสมือนคนแปลกหน้าบนอินเทอร์เน็ตเสมอ อย่าพูดคุยเรื่องส่วนตัวหรือแบ่งปันรายละเอียดที่เป็นความลับ ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง เพื่อนหรือญาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าว
  • ระวังเว็บไซต์ฟิชชิงที่อาจรวบรวมข้อมูลประจำตัวและแพร่กระจายมัลแวร์
ทั้งนี้ ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ยังแสดงให้เห็นว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้กระแสฮือฮาเกี่ยวกับ AI เพื่อหาประโยชน์ ผู้ใช้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสามารถเลือกใช้โมเดลภาษาและมัลติโหมดขนาดใหญ่ในเครื่องเพื่อการประมวลผลข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

Kaspersky Digital Footprint Intelligence https://dfi.kaspersky.com/blog/ai-in-darknet

Trojans disguised as AI https://securelist.com/backdoors-and-stealers-prey-on-deepseek-and-grok/115801

COMMENTS

ชื่อ

$type=slider,3,Audio Video,301,Audio Visual,193,automotive,330,beauty,3,Business,252,CSR,31,Economic,8,Electronics,94,Entertainment,158,EV,128,FinTech,138,Food,113,Gallery,2,Health & Beauty,92,Home Appliance,140,InsurTech,15,Interview,4,IT & DeepTech,852,Lifestyle,278,Marketing,190,Mobile Device,1326,Motorbike,35,PR News,403,PropTech,54,Real Estate,324,Review,110,Sports,3,Telecom,216,Travel,6,
ltr
item
NextTopBrand: กระแสรูปภาพสร้างโดย AI: แคสเปอร์สกี้ชี้เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน เสนอตระหนักรู้คู่ความปลอดภัย
กระแสรูปภาพสร้างโดย AI: แคสเปอร์สกี้ชี้เป็นข้อมูลละเอียดอ่อน เสนอตระหนักรู้คู่ความปลอดภัย
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEie3GLnzlfcVI96VZ7Ah4wNPeP8fg3B9847uGdV5GGGUNjFPWWMQD_TATqLX7zphyJr1_8IW_rEgzwZLssYFFv80lRX32td94ho1Zs59ec_xbbwnYfa1Zw_e0n0X-UrtZBTaxd7KUlS3a6UwQXiuF1HuvZwkfIS8VT5baPBFINJLkFIC8MG8YBY-BkS1hU/s16000/ai%20technology%20research.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEie3GLnzlfcVI96VZ7Ah4wNPeP8fg3B9847uGdV5GGGUNjFPWWMQD_TATqLX7zphyJr1_8IW_rEgzwZLssYFFv80lRX32td94ho1Zs59ec_xbbwnYfa1Zw_e0n0X-UrtZBTaxd7KUlS3a6UwQXiuF1HuvZwkfIS8VT5baPBFINJLkFIC8MG8YBY-BkS1hU/s72-c/ai%20technology%20research.jpg
NextTopBrand
https://www.nexttopbrand.com/2025/04/kaspersky-ai-tech-research.html
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/
https://www.nexttopbrand.com/2025/04/kaspersky-ai-tech-research.html
true
673143005888157321
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share. STEP 2: Click the link you shared to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy